ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่เจดีย์ชเวซิกอง
พระพุทธรูปประทับยืนสมัยมัณฑเล มีลักษณะสำคัญคือพระพักตร์มีกระบังหน้า ห่มคลุมเสมอตามแบบพุกาม แต่จีวรเป็นริ้วธรรมชาติทั้งหมดตามอิทธิพลจีน บางครั้งการประดับลวดลายและกระจกลงไปบนจีวรด้วย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานพรและจับชายจีวรลง และบางครั้งมีการถือผลสมอในพระหัตถ์ขวาด้วยซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในศิลปะพุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่เจดีย์เอ็นดอยา
พระพุทธรูปประทับนั่งสมัยมัณฑเล มีลักษณะสำคัญคือพระพักตร์มีกระบังหน้า ห่มเฉียงเสมอตามแบบพระนั่งพุกามซึ่งแตกต่างไปจากพระยืนที่นิยมห่มคลุม จีวรเป็นริ้วธรรมชาติทั้งหมดตามอิทธิพลจีน บางครั้งการประดับลวดลายและกระจกลงไปบนจีวรด้วย ที่พระอังสาซ้ายปรากฏชายจีวรตกลงมายาวจนถึงพระนาภี ที่ปลายจีวรมีการเล่นลวดลายอย่างมาก เช่นการสลักผ้าให้ทบไปมาจนดูผิดธรรมชาติ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัยตามแบบพระนั่งในศิลปะพุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปประธานที่เจดีย์จอกตอจี
พระพุทธรูปประธานของเจดีย์จอดตอจี เป็นพระที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างแบบ “อังวะ” กับแบบ “มัณฑเล” ด้วยการที่ยังคงครองจีวรเรียบอยู่และมีชายจีวรสองชันห้อยลงมาจากพระอังสาซ้ายตามแบบอังวะ อย่างไรก็ตาม จีวรชายล่างกลับหยักทบกันไปมาตามแบบมัณฑเลแล้ว อนึ่ง พระพุทธรูปองค์นี้สร้างด้วยหินอ่อน-อลาบาสเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “จอกตอจี” ซึ่งแปลว่าหินใหญ่
ประติมากรรมพระสาวก 80 องค์ที่เจดีย์จอกตอจี
ที่ระเบียงโดยรอบเจดีย์จอกตอจีเป็นทีประดิษฐานพระสาวกจำนวน 80 องค์ซึ่งเรียกว่าพระอสีติมหาสาวก พระสาวกเหล่านี้สร้างขึ้นจากหินอ่อน-อลาบาสเตอร์เช่นเดียวกับพระประธาน นั่งพับเพียบและประสานมือในท่าเรียบร้อย จีวรของพระเหล่านี้เป็นริ้วแล้วซึ่งแสดงแนวโน้มไปสู่ศิลปะมัณฑเล
ประติมากรรมพระพุทธบาทชเวเสตตอจำลอง
พระพุทธบาทในศิลปะสมัยหลังพุกาม มักประดับด้วยลายมงคลทั้ง 108 ลาย โดยมีทั้งแบบที่บรรจุในตารางกระจายทั้งพระบาท และแบที่วนเป็นวงกลมอยู่ที่กึ่งกลางพระบาทเท่านั้น ส่วนที่ขอบล้อมรอบไปด้วยพญานาคและมักมีขอบพระบาทหนาเพื่อหล่อน้ำไวตลอดเวลา ตามคติเรื่องพระบาทที่ชเวเสตตอซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำ
ประติมากรรมตุ๊กตาไม้รูปเทวทูตสี่
ในศิลปะมัณฑเล วัดแต่ละแห่งมักประดับด้วยตุ๊กตาไม้ซึ่งเล่าเรื่องพุทธประวัติหรือชาดก เช่น พุทธประวัติตอนเทวทูตสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะ โดยประติมากรรมทั้งสี่นี้มักจะสลักเป็นชุด ประติมากรรมมักเน้นความสมจริง เช่น คนมักเน้นความเหี่ยวย่นของร่างกาย ส่วนคนตายก็จำลองภาพของศพนอนอืด การสลักได้เหมือนจริงนี้ถือว่าเป็นพัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของประติมากรรมพม่า และยังอาจแสงอิทธิพลตะวันตกด้วย
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์ จิตรกรรมในเจดีย์อโลปเย
พระโพธิสัตว์เหล่านี้แต่งตัวคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงมงกุฎที่มีกระบังหน้าสามตาบ การทรงยัชโญปวีตตวัดเป็นรูปตัว S และการนุ่งผ้านุ่งเป็นริ้ว รวมถึงการปรากฏดอกไม้สองดอกขนาบทั้งสองข้างอย่างสมมาตรย่อมแสดงให้เห็นอิทธิพลปาละตอนปลายอย่างมาก จิตรกรรมเองก็ใช้สีโทนร้อนตามอย่างปาละ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าจิตรกรรมดังกล่าวคงมีอายุอยู่ในสมัยพุกามตอนต้น
จิตรกรรมจิตรกรรมประกอบซุ้มในเจดีย์ปยาตองสู
ซุ้มประตูของเจดีย์ปยาตองสูตกแต่งด้วยจิตรกรรมอย่างน่าสนใจ โดยตามเคล็กมีการถมด้วยลวดลายพันธ์พฤกษาแทนกลายเทวดาตามแบพุกามตอนปลาย ท่ปลายสุดของซุ้มปรากฏรูปกินนร-กินนรีกำลังยกมือไหว้ ซึ่งลวดลายนี้จะเป็นต้นแบบให้ศิลปะสุโขทัยและล้านนาในศิลปะไทย น่าสังเกตว่ากินนรกินนรีที่นี่สวมมงกุฎที่ประดับด้วยตามสามเหลี่ยมอันแสดงแรงบันดาลใจจากศิลปะปาละอย่างชัดเจน