ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมพระพุทธบาทบนเพดาน
ลักษณะทางศิลปกรรมดูเหมือนว่าจิตรกรที่เจดีย์จอกตอจีมีความคิดที่ก้าวหน้าในการเขียนภาพจักรวาลวิทยาตามแบบสมัยใหม่ โดยการจัดดาวต่างๆเป็นหมู่ดาวตามแบบสมัยใหม่ มีการวาดภาพเพื่อให้สามารถจินตนาการได้ง่ายว่าหมู่ดาวต่างๆคือหมู่ดาวอะไร และมีการเขียนชื่อกำกับไว้ด้วย การวาดหมู่ด้าวไว้ที่เจดีย์จอกตอจี อาจเพื่อให้เจดีย์องค์นี้กลายเป็นศูนย์กลางจักรวาลอย่างแท้จริง
จิตรกรรมพระพุทธบาทบนเพดาน
ดูเหมือนว่าจิตรกรที่เจดีย์จอกตอจีมีความคิดที่ก้าวหน้าในการเขียนภาพจักรวาลวิทยาตามแบบสมัยใหม่ โดยการจัดดาวต่างๆเป็นหมู่ดาวตามแบบสมัยใหม่ มีการวาดภาพเพื่อให้สามารถจินตนาการได้ง่ายว่าหมู่ดาวต่างๆคือหมู่ดาวอะไร และมีการเขียนชื่อกำกับไว้ด้วย การวาดหมู่ด้าวไว้ที่เจดีย์จอกตอจี อาจเพื่อให้เจดีย์องค์นี้กลายเป็นศูนย์กลางจักรวาลอย่างแท้จริง
จิตรกรรมเทวดาด้านบนเพดาน
จิตรกรรมของจอกตอจีมีประเด็นอิทธิพลไทยอย่างชัดเจนในหลายเครื่อง โดยเฉพาะการเขียนภาพเทวดาแบบไทยและหน้ายักษ์ตามแบบไทยซึ่งแสดงการเขียนมงกุฎ กรรเจียกและพรายโอษฐ์ตามแบบหัวโขนไทยอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่จิตรกรรมดังกล่าวอาจวาดขึ้นโดยช่างผู้เป็นลูกหลานของชาวสยามที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
จิตรกรรมหน้ายักษ์ด้านบนเพดาน
จิตรกรรมของจอกตอจีมีประเด็นอิทธิพลไทยอย่างชัดเจนในหลายเครื่อง โดยเฉพาะการเขียนภาพเทวดาแบบไทยและหน้ายักษ์ตามแบบไทยซึ่งแสดงการเขียนพรายโอษฐ์ตามแบบหัวโขนไทยอย่างชัดเจน ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่จิตรกรรมดังกล่าวอาจวาดขึ้นโดยช่างผู้เป็นลูกหลานของชาวสยามที่ถูกกวาดต้อนไปพม่าจากคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
จิตรกรรมภาพบุคคลเหาะ
เนื่องด้วยอิทธิพลตะวันตก จิตรกรรมที่เจดีย์จอกตอจีจึงแสดงภาพเทวดา/ฤๅษีเหาะปะปนกับคิวปิด (cupid) ตามแบบตะวันตก ดอกไม้และลวดลายพันธุ์พฤกษาเองก็ประกอบไปด้วยใบอะแคนธัสตามแบบตะวันตกเช่นกัน รวมถึงทัศนียวิทยาของภูเขาที่เป็นฉากหลังก็แสดงความเกี่ยวข้องกับศิลปะตะวันตกอย่างมาก
ประติมากรรมเจดีย์จุฬามณี ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก
จิตรกรรมเทวดา ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนที่ชเวซิกอง
พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละตอนปลาย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานอภัยในพระหัตถ์ขวาและจับชายจีวรในแนวลงในพระหัตถ์ซ้าย อันเป็นระบบอินเดียเหนือที่พระหัตถ์ทั้งสองมักมีแนวพระหัตถ์ตรงกันข้ามกัน