ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมจิตรกรรมประกอบซุ้มในเจดีย์ปยาตองสู
ซุ้มประตูของเจดีย์ปยาตองสูตกแต่งด้วยจิตรกรรมอย่างน่าสนใจ โดยตามเคล็กมีการถมด้วยลวดลายพันธ์พฤกษาแทนกลายเทวดาตามแบพุกามตอนปลาย ที่ปลายสุดของซุ้มปรากฏรูปกินนร-กินนรีกำลังยกมือไหว้ ซึ่งลวดลายนี้จะเป็นต้นแบบให้ศิลปะสุโขทัยและล้านนาในศิลปะไทย นอกจากนี้ยังประดับพระโพธิสัตว์กำลังกอดนางตาราอันแสดงแนวโน้มความเป็นมหายานของวัดแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์เจดีย์ปยาตองสู
พระโพธิสัตว์ที่เจดีย์ปยาตองสู ทรงเครื่องทรงที่คล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น มงกุฎสามตาบ ผ้านุ่งที่เป็นริ้ว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม พระโพธิสัตว์แสดงอาการจีบนิ้วและถือ “ช่อกนก” อันแตกต่างไปจากพระโพธิสัตว์ในศิลปะพุกามตอนต้นที่ยังคงถือดอกไม้จามแบบศิลปะปาละ
จิตรกรรมพระอดีตพุทธเจ้าที่มากมายนับไม่ถ้วน เจดีย์ปยาตองสู
ผนังของเจดีย์ปยาตองสูมีการประดับด้วยจิตรกรรมพระอดีตพุทธเจ้าจำนวนนับไม่ถ้วน โดยบางครั้งพระอดีตพระพุทธเจ้าเหล่านี้ก็อยู่ในช่องตารางที่เป็นรวงผึ้ง
จิตรกรรมพระพุทธเจ้าขนาดใหญ่
การเขียนพระพุทธรูปขนาดใหญ่เพื่อให้เต็มพื้นที่ผนังที่มีขนาดใหญ่นั้น ดูเหมือนจะเป็นความนิยมในศิลปะสมัยราชวงศ์คองบองสกุลช่างพุกาม อนึ่ง พระกรรณที่บานออก รวมถึงชายจีวรที่พระอังสาซ้ายยาวจนถึงพระนาภีนั้น เป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะในสมัยหลังจากพุกาม
จิตรกรรมพุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน
จิตรกรรมที่นี่ดูเหมือนว่าจะเป็นลายเส้นบนพื้นสีครีม พระพุทธองค์ทรงมีชาวจีวรสองชั้นพาดพระอังสาซ้าย คือ ชายจีวรสั้นกับชายจีวรยาว ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยหลังพุกาม
จิตรกรรมพุทธประวัติตอนสัตตมหาสถาน
จิตรกรรมที่นี่ดูเหมือนว่าจะเป็นลายเส้นบนพื้นสีครีม พระพุทธองค์ทรงมีชาวจีวรสองชั้นพาดพระอังสาซ้าย คือ ชายจีวรสั้นกับชายจีวรยาว ซึ่งถือเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะสมัยหลังพุกาม
ประติมากรรมภาพวาดจำลองเจดีย์จอกตอจี
ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล หรือสมัยคองบองตอนปลาย ปรากฏแนวความคิดเรื่องสัจนิยมมากขึ้นเนื่องด้วยอิทธิพลตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จิตรกรรมการเขียนจำลองภาพเจดีย์จอกตอจีเองจึงถูกเขียนขึ้นเพื่อบ่งบอกว่าเป็นภาพเมืองอมรปุระเอง นอกจากนี้การเขียนแสงเงาอย่างสมจริง รวมถึงทิวทัศน์ด้านหลังที่มีระยะใกล้-ไกลตามหลักทัศนียวิทยา ก็แสดงการเปลี่ยนแปลงในด้านความคิดของจิตรกรในระยะนี้เช่นกัน
จิตรกรรมภาพวาดจำลองเจดีย์
ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล หรือสมัยคองบองตอนปลาย ปรากฏแนวความคิดเรื่องสัจนิยมมากขึ้นเนื่องด้วยอิทธิพลตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จิตรกรรมการเขียนจำลองภาพเจดีย์ซึ่งมีจริงจึงถูกเขียนขึ้นเพื่อบ่งบอกว่าเป็นภาพวาดของเมืองใดเมืองหนึ่ง นอกจากนี้การเขียนแสงเงาอย่างสมจริง รวมถึงทิวทัศน์ด้านหลังที่มีระยะใกล้-ไกลตามหลักทัศนียวิทยา ก็แสดงการเปลี่ยนแปลงในด้านความคิดของจิตรกรในระยะนี้เช่นกัน