ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 201 ถึง 208 จาก 212 รายการ, 27 หน้า
ภาพสลักพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2
กัมปง ธม
ประติมากรรมภาพสลักพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2

ภาพสลักที่ผนังระเบียงคดชั้นที่ 2 ที่ปราสาทนครวัด จะมีการสลักภาพนูนต่ำเล่าเรื่องต่างๆ ไล่เรียงกันไป ที่ผนังทุกด้าน โดยทางทิศใต้สลักเป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระเจ้าสูริยวรมันที่ 2ลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก ดูจากบุคคลขนาดใหญ่ที่อยู่กลางภาพ นั่งอยู่บนบัลลังก์ยกสูงในท่านั่งมหาราชลี ด้านหลังมีฉัตร และเครื่องสูงเต็มฉากหลัง ทรงกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด สังวาลไขว้กันเป็นรูปกากบาท ทรงผ้านุ่งสั้น มีชายผ้าสามเหลี่ยมชักออกมาด้านข้าง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด

ทับหลัง สลักภาพเล่าเรื่องตอนกูรมาวตาร
ประติมากรรมทับหลัง สลักภาพเล่าเรื่องตอนกูรมาวตาร

ประติมากรรมชิ้นดังกล่าว น่าจะเป็นชิ้นส่วนของทับหลัง องค์ประกอบของภาพเป็นตอนอวตารของพระวิษณุแปลงเป็นเต่า เพื่อใช้รองรับภูเขาในการกวนเกษียรสมุทร ปรากฏรูปบุคคลสองฝั่งคือ อสูรและเทวดา ยืนเรียงแถวใช้มือจับลำตัวนาค เหนือขึ้นเป็นแถวหงส์ และเทวดานั่งชันเข่าพนมมืออยู่ ตรงกลางปรากฏภูเขาที่มีเต่ารองรับ ที่ตัวเสาปรากฏประติมากรรมพระวิษณุกอดภูเขา ด้านบนปรากฏพระพรหม ลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก บุคคลต่างๆ สวมกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด ทรงผ้านุ่งสมพตสั้น มีชายผ้ารูปหางปลาซ้อนกันสองชั้นที่ด้านหน้าผ้านุ่ง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด

เสาติดผนังและเสาประดับกรอบประตู
อังกอร์
ประติมากรรมเสาติดผนังและเสาประดับกรอบประตู

เสาประดับกรอบประตูเป็นเสาแปดเหลี่ยมสืบมาจากสมัยพระนครตอนต้น มีการทำลวดลายใบไม้สามเหลี่ยมที่มีขนาดเล็กเรียงต่อกันเหมือนฟันปลา จึงทำให้ด้านแต่ละด้านของเสามีมากกว่า1ใบ ส่วนเสาติดผนัง ปรากฏการทำลายก้านขด และก้านต่อดอก เต็มพื้นที่ลายกลางเสา อีกทั้งยังปรากฏการแทรกภาพเล่าเรื่องลงไปในตัวเสาอีกด้วย เช่น ภาพพระศิวะ

เศียรพญานาค
เสียมเรียบ
ประติมากรรมเศียรพญานาค

นาค มักพบอยู่โดยทั่วไปในงานศิลปกรรมเขมร โดยมักเป็นองค์ประกอบของทางเดินหรือราวบันไดเสมอ โดยนาคมีเศียร 5 เศียร เศียรทั้งหมดหันหน้าตรงมีการสวมกระบังหน้าและรัศมีเป็นแผ่นเดียวกัน เป็นลักษณะตามแบบศิลปะนครวัด

ครุฑแบกที่ฐานอาคารพระราชวังหลวง
เสียมเรียบ
ประติมากรรมครุฑแบกที่ฐานอาคารพระราชวังหลวง

ประติมากรรมครุฑแบกที่ฐาน ปรากฏเป็นครุฑที่มีเศียรเป็นนก อยู่ในท่ายืนเหยียบอยู่บนเศียรนาค แล้วยกแขนยึดนาคไว้ ลักษณะของการทำประติมากรรมครุฑดังกล่าว เป็นรูปแบบของการทำประติมากรรมครุฑในศิลปะบายน

หน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่อง พระศิวะลองใจพระอุมา
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่อง พระศิวะลองใจพระอุมา

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่อง พระศิวะลองใจพระอุมา

ปราสาทนครวัด
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทนครวัด

ปราสาทล้อมรอบไปด้วยคูน้ำซึงกว้างด้านละ 1 กิโลเมตร ด้านหน้าปรากฏทางเดินยาวนำเข้าสู่ปราสาทซึ่งตั้งอยู่บนฐานสามชั้น แต่ละชั้นมีระเบียงคดล้อมรอบ มีโคปุระที่ด้านทุกด้านและมีปราสาทที่มุมทุกมุม ด้านบนสุดประดิษฐานปราสาทประธานจำนวนห้าหลัง ปราสาทนครวัดถือเป็นปราสาทที่นำความสำเร็จของปราสาทตาแก้วมาผสมกับความสำเร็จของปราสาทบาปวน ด้วนเหตุนี้ ปราสาทแห่งนี้จึงมีปราสาทประธานห้าหลังอยู่บนยอดเช่นเดียวกับปราสาทตาแก้ว และสามารถนำระเบียงคดขึ้นไปไว้ด้านบนฐานเป็นชั้นแต่ละชั้นได้

จันทิอรชุน
โวโนโซโบ
สถาปัตยกรรมจันทิอรชุน

จันทิมีลักษณะคล้ายคลึงกับวิมานในศิลปะอินเดียใต้อย่างมาก กล่าวคือ เป็นจันทิในผังครรภคฤหะ มีมุขสั้นๆยื่นออกมาทางด้านหน้า เรือนธาตุประดับด้วยเสาติดผนังสี่ต้นแบ่งผนังออกเป็นสามส่วน (เก็จประธานและเก็จมุม) ชั้นหลังคามีเรือนธาตุจำลอง (ตละ) ซ้อนชั้นขึ้นไป ที่มุมประดับด้วยอาคารจำลอง (หาระ) การท่เส้นรอนอกของยอดมีลักษณะป้นขั้นบันไดนั้นคล้ายคลึงกับวิมานในศิลปะอินเดียใต้อย่างมาก