ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมอิสตานา เปนาหงัน
พระราชวังดังกล่าว แม้ว่าจะสร้างขึ้นตามอิทธิพลตะวันตก แต่การใช้ “ฝาขัดแตะ” มาเป็นผนังโดยปราศจากการใช้ตะปูแม้แต่เพียงตัวเดียว ถือเป็นความสำเร็จที่น่าอัศจรรย์ของสถาปนิกชาวมาเลย์ ฝาขัดแตะยังทำให้เกิดสีสันของผนังอาคารที่แตกต่างไปจากอาคารที่ก่อผนังด้วยวัสดุถาวรอีกด้วย ฝาขัดแตะรวมถึงหน้าต่างและบานเฟี้ยมจำนวนมาก ย่อมทำให้อาคารระบายอากาศได้ดี รับกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของมาเลเซีย
สถาปัตยกรรมอาคารอับดุลซามัด
ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดสำหรับอาคารหลังนี้ก็คือการประกอบหอนาฬิกาซึ่งมีโดมอยู่ด้านบน โดมนี้หุ้มด้วยทองแดงทำให้ดูโดดเด่น หอคอยนี้ดูคล้ายกับหอนาฬิกาที่กรุงลอนดอนในขณะที่องค์ประกอบของอาคารในส่วนอื่นๆแล้วแต่ได้รับอิทธิพลมาจกศิลปะมัวร์ของสเปนผสมผสานกับแบบโกธิค เช่น อาร์ควงโค้งเกือกม้าแบบสเปนที่ชั้นล่างและอาร์คที่มีเสาคั่นกลางแบบโกธิคที่ชั้นบนของอาคาร เป็นต้น
สถาปัตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑ์ผ้า
องค์ประกอบของอาคารได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะมัวร์ของสเปนผสมผสานกับแบบศิลปะโมกุลของอินเดีย แนวโน้มดังกล่าวนี้ปรากฏกับอาคารอารานคมอังกฤษหลายหลังที่มีความพยายามจะเสาะแสวงหาศิลปะอิสลามที่งดงามแล้วนำมาออกแบบใหม่ภายใต้สกุลสถาปัตยกรรมที่เรียกกันว่า Indo-Sarasenic Style ลักษณะแบมัวร์ เช่น อาร์ควงโค้งเกือกม้าและการสลับหินสีแบบสเปน ส่วนรูปแบบโดมและหอคอยนั้นกลับใช้อาคารแบบฉัตรีของอินเดียมาประดับเป็นหลัก
สถาปัตยกรรมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสิงคโปร์ ถือเป็นอาคารแบบพัลลาเดียนที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ เป็นอาคารที่มีองค์ประกอบแบบคลาสิกทั้งหมด อาร์คโค้ง เสาดอริก-ไอโอนิก หน้าจั่วสามเหลี่ยมและโดมกลม แผนผังอยู่แบบพัลลาเดียน คือแผนผังรูปตัว E ที่มีมุขกลางยื่นออกมาด้านหน้าและชักปีกออกไปสองด้าน ที่ปลายสุดมีมุขขนาบ แผนผังแบบนี้ถือเป็นแผนผังที่มีเหตุผลและใช้กับสถานที่ราชการทั้งในยุโรปและในประเทศอาณานิคมต่างๆ
ประติมากรรมครุฑแบกที่ฐานอาคารพระราชวังหลวง
ประติมากรรมครุฑแบกที่ฐาน ปรากฏเป็นครุฑที่มีเศียรเป็นนก อยู่ในท่ายืนเหยียบอยู่บนเศียรนาค แล้วยกแขนยึดนาคไว้ ลักษณะของการทำประติมากรรมครุฑดังกล่าว เป็นรูปแบบของการทำประติมากรรมครุฑในศิลปะบายน
สถาปัตยกรรมอาคารศาลฎีกาเก่า
อาคารศาลฎีกาเก่า สร้างข้นในแผนผังแบบพัลลาเดียนเช่นเดียวกับอาคารสถานที่ราชการแห่งอื่นๆในสิงคโปร์ คือ เป็นอาคารในผังรูปตัว E มีมุขด้านหน้าและมีการชักปีกออกมาสองข้าง ตรงกลางเป็นมุขซึ่งมี Pediment สามเหล่ยมแบบกรีก-โรมัน รองรับด้วยเสาโครินเธียนจำนวนหนึ่ง ด้านบนสุดมีโดม ซึ่งมีคอโดมประดับด้วยเสาสลับกับซุ้มหน้าต่าง ด้านบนสุดของโดมมีหอ Lantern องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทั้งหมดนี้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่นิยมใช้กับสถานที่ราชการในสมัยอาณานิคมอังกฤษ ทั้งในอินเดีย มาเลเซียและสิงคโปร์
สถาปัตยกรรมมุขด้านหน้าของอาคารศาลฎีกาเก่า
อาคารศาลฎีกาเก่า สร้างข้นในแผนผังแบบพัลลาเดียนเช่นเดียวกับอาคารสถานที่ราชการแห่งอื่นๆในสิงคโปร์ คือ เป็นอาคารในผังรูปตัว E มีมุขด้านหน้าและมีการชักปีกออกมาสองข้าง ตรงกลางเป็นมุขซึ่งมี Pediment สามเหล่ยมแบบกรีก-โรมัน รองรับด้วยเสาโครินเธียนจำนวนหนึ่ง ด้านบนสุดมีโดม ซึ่งมีคอโดมประดับด้วยเสาสลับกับซุ้มหน้าต่าง ด้านบนสุดของโดมมีหอ Lantern องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมทั้งหมดนี้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่นิยมใช้กับสถานที่ราชการในสมัยอาณานิคมอังกฤษ ทั้งในอินเดีย มาเลเซียและสิงคโปร์
สถาปัตยกรรมสถาบันเซนต์โจเซฟ
เป็นอาคารในแผนผังแบบพัลลาเดียนที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ เนื่องจากประกอบไปด้วยมุขกลางซึ่งมีหน้าบันวงโค้ง และมีโดมกลาง ปีกอาคารทั้งสองข้างเป็นวงโค้งอาร์คสลับกับเสาต่อเนื่องกัน โดยวงโค้งอาร์คด้านบนมีการแบ่งเป็นสองช่วงซึ่งทำให้นึกถึงศิลปะโกธิคพอสมควร อย่างไรก็ตาม ลักษณะโดยรวมของอาคารทั้งหมดยังมีองค์ประกอบหลักเป็นแบบคลาสิก