ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 9 รายการ, 2 หน้า
อาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง

อาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง เป็นอาคารในสมัยอาณานิคมที่น่าสนใจในแง่ของการผสมผสานระหว่างแบบคลาสิกและแบบบารอค แผนผังอาคารเป็นแบบ Palladian ซึ่งเป็นแผนผังทีนิยมสำหรับสถานที่ราชการในสมัยนี้ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารล้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเสาดอริคและโครินเธียนมารองรับอาร์คโค้งที่วางต่อเนื่องกันแบบ loggia อย่างไรก็ตาม หน้าบันกลางกลับอยู่ในรูปของหน้าบันบารอคซึ่งน่าสนใจว่าพบอาคารในลักษณะผสมผสานเช่นนี้ หลายหลังในมาเลเซีย เช่น เมืองไตปิง

อาคารแบบตะวันตกในเมืองปีนัง
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมอาคารแบบตะวันตกในเมืองปีนัง

อาคารสมัยอาณานิคมในเมืองปีนัง มีเป็นจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ออกแบบให้เป็นสถานที่ราชการ อาคารในเมืองนี้ความน่าสนใจในแง่ของการผสมผสานระหว่างแบบคลาสิกและแบบบารอค แผนผังอาคารเป็นแบบ Palladian ซึ่งเป็นแผนผังทีนิยมสำหรับสถานที่ราชการในสมัยนี้ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารล้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเสาดอริคและโครินเธียนมารองรับอาร์คโค้งที่วางต่อเนื่องกันแบบ loggia อย่างไรก็ตาม หน้าบันวงโค้งกลับมีการใช้ volute ประดับด้านหลังแบบบารอค เป็นต้น

ศาลาว่าการเมืองอิโปห์
อิโปห์
สถาปัตยกรรมศาลาว่าการเมืองอิโปห์

เค้าโครงของอาคารแห่งนี้มีผังแบบ Palladian คือมีมุขยื่นออกมาและมีการชัดปีกอาคารให้อื่นออกไปทั้งสองด้านอย่างสมมาตร เนื่องจากแผนผังแบบนี้ดูมีเหตุผล เหมาะสมกับสถานที่ราชการ องค์ประกอบรวมของอาคารก็เป็นแบบ Classic เช่นการประดับ pediment รูปสามเหลี่ยม อาร์คโค้งและเสาดอริค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาคารแห่งนี้มีการออกแบบให้ดูแปลกตาออกไปด้วยการ ทำเป็นมุขยื่นออกมาด้านข้างในแนวเฉียง ซึ่งถือเป็นลูกเล่นที่ทำให้อาคารแห่งนี้น่าสนใจ

โรงเรียนเซนต์ไมเคิล
อิโปห์
สถาปัตยกรรมโรงเรียนเซนต์ไมเคิล

เค้าโครงของอาคารเรียนแห่งนี้มีผังแบบ Palladian คือมีมุขยื่นออกมาและมีการชัดปีกอาคารให้อื่นออกไปทั้งสองด้านอย่างสมมาตร เนื่องจากแผนผังแบบนี้ดูมีเหตุผล เหมาะสมกับโรงเรียน มหาวิทยาลัยและสถานที่ราชการ องค์ประกอบรวมของอาคารก็เป็นแบบ Classic เช่นการประดับ pediment รูปสามเหลี่ยม เป็นต้น แม้ว่าจะมีรายละเอียดเล็กน้อยที่เป็นโกธิคก็ตาม

สถานีรถไฟเมืองอิโปห์
อิโปห์
สถาปัตยกรรมสถานีรถไฟเมืองอิโปห์

เค้าโครงของอาคารแห่งนี้มีผังแบบ Palladian คือมีมุขยื่นออกมาและมีการชัดปีกอาคารให้อื่นออกไปทั้งสองด้านอย่างสมมาตร เนื่องจากแผนผังแบบนี้ดูมีเหตุผล เหมาะสมกับสถานที่ราชการ องค์ประกอบรวมของอาคารก็เป็นแบบ Classic เช่นการประดับ pediment รูปสามเหลี่ยม อาร์คโค้งและเสาดอริค เป็นต้น โดยมีโดมกลมครอบอยู่ที่ด้านบนของมุขกลาง อย่างไรก็ตาม อาคารแห่งนี้มีการออกแบบให้ดูแปลกตาออกไปด้วยการกำหนดให้หน้าบันกลางและหน้าบันด้านข้างมีลักษณะต่างกัน เล็กน้อย รวมถึงรายละเอียดทางสถาปัตยกรรมของชั้นบนและชั้นล่างที่แตกต่างกัน

โรงแรมสโมคเฮาส์
คาเมรอนไฮแลนด์
สถาปัตยกรรมโรงแรมสโมคเฮาส์

อาคารเก่าของโรงแรมสโมคเฮาส์ เป็นอาคารแบบ “กระท่อมอังกฤษ” (English Cottage)คือมีลักษณะเหมือนกระท่อมที่มีการแทรกไม้สนเป็นโครงสร้างเสริมเข้าไปในผนัง ภายในอาคารมีการใช้เตาผิงอิฐและปล้องไฟซึ่งทำให้ภายในอาคารมีความอบอุ่น อาคารแบบนี้นิยมสร้างในชนบทของยุโรป อาคารทรง English Cottage นี้ สะท้อนความโหยหาบ้านเกิดเมืองนอนของนักล่าอาณานิคมที่พยายามจำลองอาคารในยุโรปทีตนคุ้นเคยมาไว้ที่ Hill Station ซึ่งมีอากาศหนาวเย็นตลอดปี

อิสตานา เปนาหงัน
กัวลากังสาร์
สถาปัตยกรรมอิสตานา เปนาหงัน

พระราชวังดังกล่าว แม้ว่าจะสร้างขึ้นตามอิทธิพลตะวันตก แต่การใช้ “ฝาขัดแตะ” มาเป็นผนังโดยปราศจากการใช้ตะปูแม้แต่เพียงตัวเดียว ถือเป็นความสำเร็จที่น่าอัศจรรย์ของสถาปนิกชาวมาเลย์ ฝาขัดแตะยังทำให้เกิดสีสันของผนังอาคารที่แตกต่างไปจากอาคารที่ก่อผนังด้วยวัสดุถาวรอีกด้วย ฝาขัดแตะรวมถึงหน้าต่างและบานเฟี้ยมจำนวนมาก ย่อมทำให้อาคารระบายอากาศได้ดี รับกับสภาพภูมิอากาศร้อนชื้นของมาเลเซีย

อาคารพิพิธภัณฑ์ผ้า
กัวลาลัมเปอร์
สถาปัตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑ์ผ้า

องค์ประกอบของอาคารได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะมัวร์ของสเปนผสมผสานกับแบบศิลปะโมกุลของอินเดีย แนวโน้มดังกล่าวนี้ปรากฏกับอาคารอารานคมอังกฤษหลายหลังที่มีความพยายามจะเสาะแสวงหาศิลปะอิสลามที่งดงามแล้วนำมาออกแบบใหม่ภายใต้สกุลสถาปัตยกรรมที่เรียกกันว่า Indo-Sarasenic Style ลักษณะแบมัวร์ เช่น อาร์ควงโค้งเกือกม้าและการสลับหินสีแบบสเปน ส่วนรูปแบบโดมและหอคอยนั้นกลับใช้อาคารแบบฉัตรีของอินเดียมาประดับเป็นหลัก