ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมหอนาฬิกาเมืองปีนัง
หอคอยแห่งนี้สร้างขึ้นโดยปะปนกันระหว่างศิลปะมัวร์ของสเปนกับศิลปะโมกุล ซึ่งถือเป็นลักษณะปกติของศิลปะสมัยอาณานิคมอังกฤษ ด้านล่างอยู่ในผังแปดเหลี่ยมมีลวดลายประดับตามแบบอินเดีย ถัดขึ้นมาเป็นเป็นหอคอยสี่เหลี่ยมมีอาร์คแบบวงโค้งเกือกม้าตามแบบสเปน ถัดขึ้นไปด้านบนเป็นฉัตรีในผังแปดเหลี่ยมแบบอินเดีย
สถาปัตยกรรมหอนาฬิกาเบริช
หอคอยนั้นประกอบไปด้วยนาฬิกาและหอระฆังซ้อนกันสองชั้น องค์ประกอบของหาคอยมีลักษณะตามแบบตะวันตก กล่าวคือ ประกอบด้วยหอระฆังที่มีเสาดอริคและอาร์คโค้ง อาคารอยู่ในผังลบมุมอันต่อไปไปถึงลายก้นหอย (Volute) ด้านบนซึ่งเป็นลวดลายที่นิยมมากในศิลปะบารอค อนึ่ง ที่ด้านทั้งสี่ของอาคาร บริเวณจุดลบมุม ประดับไปด้วยรูปบุคลาธิษฐาน ซึ่งมีลักษณะตามอย่างศิลปะตะวันตกที่นิยมประดับสถาปัตยกรรมด้วยรูปบุคลาธิษฐานเช่นนี้
สถาปัตยกรรมหอนาฬิกาเมืองไตปิง
หอนาฬิกาแห่งนี้มีส่วนผสมของหอคอยที่มีหลังคาทรงกรวยสูงตามแบบโกธิค กับองค์ประกอบของอาคารตามแบบคลาสิก เช่น อาร์คโค้งรองรับด้วยเสา และหน้าจั่วสามเหลี่ยม (pediment) หอคอยแบ่งออกได้เป็นสามส่วน คือตัวอาคารด้านล่างซึ่งวางผังเฉียงสอดรับกับการเป็นหัวมุมสี่แยก ถัดขึ้นมาได้แก่หอคอยสำหรับให้คนขึ้นสังเกตการณ์ ออกแบบโดยใช้องค์ประกอบแบคลาสสิก ถัดขึ้นไปจึงเป็นหลังคาแหลมสูงแบบโกธิคคั่นด้วยตำแหน่งของนาฬิกา อนึ่ง เดิมทีหอนาฬิกาแห่งนี้สร้างติดกับอาคารทรงป้อมปราการซึ่งถูกรื้อลงแล้ว
สถาปัตยกรรมอาคารอับดุลซามัด
ลักษณะที่โดดเด่นที่สุดสำหรับอาคารหลังนี้ก็คือการประกอบหอนาฬิกาซึ่งมีโดมอยู่ด้านบน โดมนี้หุ้มด้วยทองแดงทำให้ดูโดดเด่น หอคอยนี้ดูคล้ายกับหอนาฬิกาที่กรุงลอนดอนในขณะที่องค์ประกอบของอาคารในส่วนอื่นๆแล้วแต่ได้รับอิทธิพลมาจกศิลปะมัวร์ของสเปนผสมผสานกับแบบโกธิค เช่น อาร์ควงโค้งเกือกม้าแบบสเปนที่ชั้นล่างและอาร์คที่มีเสาคั่นกลางแบบโกธิคที่ชั้นบนของอาคาร เป็นต้น