ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 9 ถึง 16 จาก 18 รายการ, 3 หน้า
อดีตพุทธและพุทธประวัติตอนมหาภิเนษกรมณ์
พุกาม
จิตรกรรมอดีตพุทธและพุทธประวัติตอนมหาภิเนษกรมณ์

จิตรกรรมในสมัยคองบองตอนต้นมีลักษณะคล้ายศิลปะสมัยนยองยาน มีลักษณะเด่นคือใช้สีโทนร้อนแต่มีสีเขียวที่แทรกเข้าไปในภาพ ไม่มีทัศนียวิทยา ภาพวาดมีการตัดเส้นอย่างง่ายๆ รูปทรงง่ายๆเหมือนการวาดการ์ตูนในปัจจุบัน แต่ละภาพมักคั่นไปด้วยเส้นสินเทาที่เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน ภาพรังเกียจพื้นที่ว่างเปล่าทำให้ต้องถมลายพันธุ์พฤกษาเข้าไปในพื้นที่ว่าง บางครั้งมักวาดภาพะเป็นแถบยาวๆคล้ายภาพบนใบลานอย่างไรก็ตาม การปรากฏอิทธิพลมงกุฎสูงแบบไทย ทำให้ทราบด่าจิตรกรรมที่นี่น่าจะเขียนขึ้นหลังจากการตีกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองแล้ว

ต้นไม้กระจกประดับสีด้านหลังสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
ประติมากรรมต้นไม้กระจกประดับสีด้านหลังสิมวัดเชียงทอง

การประดับกระจกบนผนัง ดูเหมือนว่าจะเป้นความนิยมในการตกแต่งผนัง “ภายนอกอาคาร” ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งแบบนี้ปรากฏกับอาคารหลายหลังที่วัดเชียงทอง อนึ่ง กระจกนอกจากให้ความแวววาวเมื่อต้องแสงแดดแล้ว ยังคงทนต่อสภาพอากาศกว่าการเขียนจิตรกรรมหรือลายคำอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เทคนิคดังกล่าวจึงมักใช้กับการตกแต่งภายนอกอาคาร

ลายคำประดับผนังด้านนอกสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
จิตรกรรมลายคำประดับผนังด้านนอกสิมวัดเชียงทอง

ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร อย่างไรก็ตาม ที่สิมวัดเชียงทองกลับปรากฏการประดับลายคำภายนอกอาคารซึ่งถือเป็นกรณีที่หายาก

เจดีย์จุฬามณี ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
ประติมากรรมเจดีย์จุฬามณี ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง

ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก

ทวารบาล ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
จิตรกรรมทวารบาล ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง

ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก บริเวณผนังที่ขนาบทางเข้ายังปรากฏภาพ “ทวารบาล” หรือเทวดาผู้รักษาประตูขนาดใหญ่ เทวดาเหล่านี้มักถือดอกโบตั๋นอันสื่อความหมายถึง “การบูชาพระพุทธเจ้า” ผู้ประทับภายในอาคารนั้น ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ในศิลปะจีนที่เข้ามามีบทบาททั้งในศิลปะล้านช้างและล้านนา

เทวดา ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
จิตรกรรมเทวดา ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง

ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก

ทวารบาลแบบจีน สิมวัดล่องคูณ
หลวงพระบาง
จิตรกรรมทวารบาลแบบจีน สิมวัดล่องคูณ

เนื่องจากศิลปะหลวงพระบางช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นระยะที่ได้รับอิทธิพลรัตนโกสินทร์อย่างมาก ทำให้รูปทวารบาลแบบจีนตามพระราชนิยมในรัชกาลที่สามได้เข้ามาปรากฏในแถบนี้บางวัด เช่น วัดล่องคูณเมืองหลวงพระบาง เป็นต้น อนึ่ง ต้องไม่ลืมว่า การที่เจ้านายบางพระองค์ในราชวงศ์หลวงพระบางได้เคยเสด็จมาประทับ ณ กรุงเทพจึงอาจทำให้อิทธิพลรัตนโกสินทร์ปรากฏบทบาทอย่างมากในแถบนี้ก็ได้

จิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว
หลวงพระบาง
จิตรกรรมจิตรกรรมบนหน้าบัน สิมวัดหาดเสี้ยว

อิทธิพลรัตนโกสินทร์ที่ปรากฏในภาพเขียน เช่น การวาดท้องฟ้าสีฟ้าและทัศนียวิทยาตามแบบความเป็นจริงซึ่งแสดงให้เห็นการเข้ามาของอิทธิพลตะวันตก จิตรกรมนี้จึงอาจเกี่ยวข้องกับศิลปะรัตนโกสินทร์ในสมัย รัชกาลที่ 4-5