ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมสิมวัดเชียงทอง
สิมวัดเชียงทอง ถือเป็นตัวอ่างอาคารในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบางที่สำคัญที่สุด ลักษณะสำคัญของสิมในสกุลช่างนี้ก็คือ แผนผังอยู่ในผังเพิ่มมุมด้านหน้า ซึ่งแผนผนังดังกล่าวอาจทำให้เกิดประตูทั้งด้านหน้าและด้านข้าง หลังคามีกรอบหน้าบันที่อ่อนโค้ง แผ่ลงเกือบจอดพื้น หน้าบันประกอบด้วยม้าต่างไหมและใช้โก่งคิ้วประดับด้านล่างของหน้าบัน สิมแบบหลวงพระบางนี้มีลักษณะหลายประการที่คล้ายคลึงกับอาคารในศิลปะล้านนา
สถาปัตยกรรมช่อฟ้าวัดเชียงทอง
สิมวัดเชียงทอง ถือเป็นสิมในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบางที่สมบูรณ์ที่สุด บนสันหลังคาปรากฏ “ช่อฟ้า” หรือเขาพระสุเมรุจำลอง อันสื่อให้เห็นว่าสิมเป็นศูนย์กลางจักรวาล ช่อฟ้าประกอบด้วยเขาพระสุเมรุ ล้อมรอบด้วยเสาสัตตบริภัณฑ์จำนวน 7 ลูกซึ่งมีความสูงลดหลั่นกัน ที่ขอบปรากฏเขาจักรวาล ด้านล่างปรากฏปลาอันแทนมหาสมุทร เขาพระสุเมรุในลักษณะนี้ปรากฏในจิตรกรรมเสมอๆ ทั้งในศิลปะพม่าและศิลปะไทย ซึ่งคงจะเป็นต้นแบบให้กับช่อฟ้าในศิลปะล้านช้างนั่นเอง
สถาปัตยกรรมซุ้มประตูสิมวัดเชียงทอง
สิมวัดเชียงทอง ถือเป็นสิมในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบางที่สมบูรณ์ที่สุด การตกแต่งภายในของสิมแห่งนี้ก็งดงามอย่างมาก คือตกแต่งไปด้วยลายคำเต็มพื้นที่ สำหรับผนังด้านหน้าแต่นี้ปรากฏลายคำเป็นรูปเทวดากำลังไหว้เจดีย์ซึงน่าจะหายถึงเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซุ้มประตูของสิมมีลักษณะตามแบบล้านช้าง ซึ่งมีลักษณะหลายประการร่วมกับศิลปะล้านนา คือ เสาซุ้มประดับด้วยลวดลายสามจุด กาบบน-กาบล่าง-ประจำยามอก ยอดปราสาทปรากฏหลังคาลาดขนาดใหญ่ 1 ชั้นซ้อนด้วยชั้นเชิงบาตรขึ้นไปอีกหลายชั้น
สถาปัตยกรรมโรงเมี้ยนโกศวัดเชียงทอง
โรงเมี้ยนโกศ ถือเป็นอาคารรุ่นหลังที่สุดที่ปรากฏ ณ วัดเชียงทอง สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บโกศและพระราชรถ ด้วยเหตุนี้ ผนังด้านหน้าจึงประกบด้วยแผ่นไม้จำนวนมากเพื่อการ ถอด-ประกอบได้ถ้าจำเป็นต้องเชิญรารถออกใช้ในงานพระเมรุ แผงด้านหน้ามีภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์หลายเรื่อง เช่น เรื่องนางสีดาลุยไฟ เรื่องพระรามรบกับยักษ์ เรื่องทศกัณฑ์สู้กับนกชดายุและเรื่องทศกัณฑ์ล้ม เป็นต้น ภาพสลักเหล่านี้สลักขึ้นโดย “เพียตัน” ซึ่งเป็นช่างในราชสำนักในสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 26 โดยช่างผู้นี้มีลักษณะเฉพาะที่ต่อมาจะกลายเป็นสกุลช่างของศิลปะลาวปัจจุบันคือ มีการสลักตัวละครให้มีปริมาตรกลมกลึงตามอย่างสัจนิยม แต่สวมเครื่องละครตามแบบประเพณี และภาพสลักอยู่ท่ามกลางลายกนกซึ่งทำให้ภาพไม่มีพื้นที่ว่างเปล่า
ประติมากรรมต้นไม้กระจกประดับสีด้านหลังสิมวัดเชียงทอง
การประดับกระจกบนผนัง ดูเหมือนว่าจะเป้นความนิยมในการตกแต่งผนัง “ภายนอกอาคาร” ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งแบบนี้ปรากฏกับอาคารหลายหลังที่วัดเชียงทอง อนึ่ง กระจกนอกจากให้ความแวววาวเมื่อต้องแสงแดดแล้ว ยังคงทนต่อสภาพอากาศกว่าการเขียนจิตรกรรมหรือลายคำอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เทคนิคดังกล่าวจึงมักใช้กับการตกแต่งภายนอกอาคาร
จิตรกรรมลายคำประดับผนังด้านนอกสิมวัดเชียงทอง
ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร อย่างไรก็ตาม ที่สิมวัดเชียงทองกลับปรากฏการประดับลายคำภายนอกอาคารซึ่งถือเป็นกรณีที่หายาก
ประติมากรรมเจดีย์จุฬามณี ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก
จิตรกรรมทวารบาล ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก บริเวณผนังที่ขนาบทางเข้ายังปรากฏภาพ “ทวารบาล” หรือเทวดาผู้รักษาประตูขนาดใหญ่ เทวดาเหล่านี้มักถือดอกโบตั๋นอันสื่อความหมายถึง “การบูชาพระพุทธเจ้า” ผู้ประทับภายในอาคารนั้น ดอกโบตั๋นเป็นดอกไม้ในศิลปะจีนที่เข้ามามีบทบาททั้งในศิลปะล้านช้างและล้านนา