ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โรงเมี้ยนโกศวัดเชียงทอง
ชื่อเรียกอื่น | - |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดเชียงทอง |
ชื่ออื่น | - |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ที่อยู่ | - |
จังหวัด/เมือง | หลวงพระบาง |
รัฐ/แขวง | หลวงพระบาง |
ประเทศ | ลาว |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 19.888889 Long : 102.138611 |
ประวัติการสร้าง | โรงเมี้ยนโกศวัดเชียงทอง สร้างขึ้นในรัชกาลเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ เพื่อเป็นที่เก็บพระโกศและราชรถสำหรับอัญเชิญพระโกศ |
---|---|
ลักษณะทางศิลปกรรม | โรงเมี้ยนโกศ ถือเป็นอาคารรุ่นหลังที่สุดที่ปรากฏ ณ วัดเชียงทอง สร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บโกศและพระราชรถ ด้วยเหตุนี้ ผนังด้านหน้าจึงประกบด้วยแผ่นไม้จำนวนมากเพื่อการ ถอด-ประกอบได้ถ้าจำเป็นต้องเชิญรารถออกใช้ในงานพระเมรุ แผงด้านหน้ามีภาพสลักเรื่องรามเกียรติ์หลายเรื่อง เช่น เรื่องนางสีดาลุยไฟ เรื่องพระรามรบกับยักษ์ เรื่องทศกัณฑ์สู้กับนกชดายุและเรื่องทศกัณฑ์ล้ม เป็นต้น ภาพสลักเหล่านี้สลักขึ้นโดย “เพียตัน” ซึ่งเป็นช่างในราชสำนักในสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 26 โดยช่างผู้นี้มีลักษณะเฉพาะที่ต่อมาจะกลายเป็นสกุลช่างของศิลปะลาวปัจจุบันคือ มีการสลักตัวละครให้มีปริมาตรกลมกลึงตามอย่างสัจนิยม แต่สวมเครื่องละครตามแบบประเพณี และภาพสลักอยู่ท่ามกลางลายกนกซึ่งทำให้ภาพไม่มีพื้นที่ว่างเปล่า |
สกุลช่าง | หลวงพระบาง |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านช้าง |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 26 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | - |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | - |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |