ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 9 ถึง 12 จาก 12 รายการ, 2 หน้า
ทับหลัง
เรอลั้วะ
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอทับหลังในสมัยพระโคจะมีลักษณะรับอิทธิพลมาจากศิลปะกุเลน ผ่านศิลปะชวา กล่าวคือการทำหน้ากาลอยู่กึ่งกลางด้านบนของท่อนพวงมาลัย ปลายทั้งสองข้างทำเป็นมกรหันหน้าออก ตามแบบซุ้มกาล-มกรตามศิลปะชวาภาคกลางแต่อย่างไรก็ตามในศิลปะพระโคสามารถทำเป็นประติมากรรมอื่นๆหันออกแทน ดังเช่นในภาพเป็นคชสิงห์ยืนอยู่บนแท่นท่อนพวงมาลัยมีการทำลายใบไม้ตั้งขึ้น ห้อยลงตามแบบศิลปะกุเลนลายดอกไม้กลมได้ปรับเปลี่ยนเป็นการแทรกภาพบุคคลอยู่ระหว่างท่อนพวงมาลัยรวมถึงภาพบุคคลที่แทรกอยู่ในส่วนของใบไม้ตกลงใต้ท่อนพวงมาลัยระหว่างช่องใบไม้ตกลงปรากฏการทำใบไม้สามเหลี่ยมแทรกอยู่ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาต่อไปในศิลปะเกาะแกร์ด้านล่างของแผ่นทับหลังปรากฏการทำแถวดอกบัวซึ่งต่อมาจะเป็นรูปแบบที่ส่งให้กับทับหลังในสมัยศิลปะแปรรูป

พญานาค
เสียมเรียบ
ประติมากรรมพญานาค

ประติมากรรมพญานาค มักปรากฏอยู่ในส่วนของราวทางเดิน หรือบันได มีลักษณะเป็นนาคหลายเศียร โดยเฉพาะนิยมการทำนาค 7 เศียร ตัวนาคในศิลปะเขมรในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 นิยมทำนาคหัวโล้นไม่มีการสวมกระบังหน้า

ทวารบาล
เสียมเรียบ
ประติมากรรมทวารบาล

ทวารบาล สลักจากหินทราย มีใบหน้าดุร้ายคล้ายยักษ์ ทรงกระบังหน้า ตุ้มหูเป็นรูปวงกลมขนาดใหญ่ ประดับด้วยกรองศอ พาหุรัด กำไล และอุทรพันธะซ้อนกัน 2 เส้น นุ่งผ้านุ่งเรียบ ที่ด้านข้างมีชายผ้าเป็นรูปวงโค้งตกลงมา ส่วนด้านหน้ามีชายผ้าตกลงมาเหนือเข่า ตกแต่งด้วยเข็มขัดซ้อนกัน 2 เส้น เส้นล่างมีพู่ห้อย ทวารบาลอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ปลายกรอบเป็นรูปหัวมกรขนาดใหญ่หันหัวออก เหนือขึ้นไปเป็นชั้นหลังคาทรงปราสาท

ทวารบาล
เสียมเรียบ
ประติมากรรมทวารบาล

ทวารบาล สลักจากหินทราย ส่วนเศียรชำรุดเสียหายไปมากแล้ว แต่ก็พอสังเกตุเค้าโครงได้ว่าน่าจะสวมกระบังหน้า มีรัดเกล้าเป็นทรงกรวยแหลม ประดับด้วยตุ้มหู กรองศอ พาหุรัด กำไล ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้านุ่งยาว แบบมีริ้วทั้งผืน ขอบผ้านุ่งด้านบนมีชายผ้าเป็นรูปสามเหลี่ยมและวงโค้งห้อยตกลงมา ตกแต่งด้วยเข็มขัด 2 เส้น ที่เส้นล่างมีพู่ห้อย ทวารบาลอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ปลายกรอบเป็นรูปหัวมกรขนาดใหญ่หันหัวออก เหนือขึ้นไปเป็นชั้นหลังคาทรงปราสาท