ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์มัญชุศรี จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ
อิทธิพลของศิลปะปาละที่สังเกตได้ก็คือ การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก เช่นสีแดง สีเหลือง สีดำและสีขาว ส่วนสีโทนเย็นเช่นสีเขียวแทบไม่ปรากฏ ภายในทางประทักษิณภายในปรากฏซุ้มจระนำซึ่งเคยประดิษฐานพระพุทธรูปมาก่อน ซุ้มจระนำเหล่านี้ขนาบข้างโดยพระโพธิสัตว์ในลัทธิมหายาน โดยพระโพธิสัตว์เหล่านี้แต่งตัวคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงมงกุฎที่มีกระบังหน้าสามตาบ การทรงยัชโญปวีตตวัดเป็นรูปตัว S และการนุ่งผ้านุ่งเป็นริ้ว
จิตรกรรมพระพุทธเจ้าและฤาษีประทับในถ้ำ จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ
เจดีย์อเพยทนะ สร้างขึ้นโดยพระนางอภัยรัตนา พระมเหสีในพระเจ้าจันสิตถาในพุทธศตวรรษที่ 17 ภายในปรากฏจิตรกรรมซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมากและมีแนวโน้มไปทางพุทธศาสนามหายาน
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับยืนที่ชเวซิกอง
พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับยืนในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มคลุม เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระหัตถ์ทั้งสองข้างแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละตอนปลาย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานอภัยในพระหัตถ์ขวาและจับชายจีวรในแนวลงในพระหัตถ์ซ้าย อันเป็นระบบอินเดียเหนือที่พระหัตถ์ทั้งสองมักมีแนวพระหัตถ์ตรงกันข้ามกัน
ประติมากรรมพระพุทธรูปประทับนั่งที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปลักษณะตามอย่างพระพุทธรูปประทับนั่งในศิลปะพุกามโดยทั่วไป กล่าวคือ ครองจีวรห่มเฉียงเสมอ เรียบไม่มีริ้ว มีชายจีวรตงลงมาจากพระอังสาซ้ายปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบตามแบบปาละ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัยอันเป็นมุทราที่ได้รับความนิยมสูงสุดมาก่อนในศิลปะปาละ ประทับนั่งบนฐานกลีบบัวคว่ำบัวหงายซึ่งได้รับอิทธิพลปาละเช่นกัน
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องตอนปรินิพพานที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ “ประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติ” ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่ทางประทักษิณภายในและมณฑปทั้งสี่ทิศ พระพุทธรูปเล่าเรื่องพุทธประวัติที่อานันทเจดีย์ ถือเป็นประติมากรรมเล่าเรื่องพุทธประวัติที่สมบูรณ์ที่สุดในศิลปะพุกาม
ประติมากรรมพระพุทธรูปสมัยมัณฑเลที่อานันทเจดีย์
พระพุทธรูปประทับยืนสมัยมัณฑเล มีลักษณะสำคัญคือพระพักตร์มีกระบังหน้า ห่มคลุมเสมอตามแบบพุกาม แต่จีวรเป็นริ้วธรรมชาติทั้งหมดตามอิทธิพลจีน บางครั้งการประดับลวดลายและกระจกลงไปบนจีวรด้วย พระหัตถ์ทั้งสองแสดงปางประทานพรและจับชายจีวรลง และบางครั้งมีการถือผลสมอในพระหัตถ์ขวาด้วยซึ่งไม่ปรากฏมาก่อนในศิลปะพุกาม