ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 5 จาก 5 รายการ, 1 หน้า
พระพรหม
กรุงเทพมหานคร
ประติมากรรมพระพรหม

ประติมากรรมพระพรหมอยู่ในอิริยาบถยืนบนฐานหน้ากระดาน พระชงฆ์ซ้ายและพระกรขวาล่างชำรุดสูญหายพระพักตร์ทั้งสี่มีรูปแบบเหมือนกัน กล่าวคือ รูปพระพักตร์เหลี่ยม คิ้ว 2 ข้างเกือบเป็นเส้นตรงและคมเป็นสัน พระเนตรเบิกโพรง พระนาสิกใหญ่ พระโอษฐ์แบะ มีพระมัสสุอยู่เหนือพระโอษฐ์ พระฑาฐิกะสลักนูนเห็นเด่นชัดโดยสลักยาวต่อเนื่องจากพระกรรเจียก (ขมับ) พระฑาฐิกะบริเวณพระหนุ (คาง) เป็นมุมแหลม พระกรรเจียกเป็นมุมแหลม รูปแบบของพระพักตร์และองค์ประกอบต่างๆ ที่กล่าวมานี้เทียบได้กับประติมากรรมศิลปะเขมรแบบบาแค็ง กระบังหน้าขนาดใหญ่ไม่ประดับตกแต่งลวดลาย มวยพระเกศาทรงกระบอกไม่ประดับตกแต่งเช่นกัน พระวรกายช่วงบนเปล่าเปลือย มีสี่กร พระวรกายช่วงล่างนุ่งสมพตสั้น ชายผ้าพาดยาวอยู่ตรงกลาง มีเข็มขัดผ้ารัดที่บริเวณพระโสณี ปลายเข็มขัดผ้าห้อยตกลงมาเหนือพระอูรุ (หน้าขา) ผ้านุ่งเช่นนี้เทียบได้กับศิลปะเขมรแบบาแค็ง เพียงแต่ว่าพระพรหมองค์นี้ไม่มีเส้นริ้วตามแนวตั้งประดับผ้านุ่ง ซึ่งการประดับเส้นริ้วนี้เป็นสิ่งที่พบได้ในศิลปะเขมรแบบบาแค็ง

ปราสาทบาแค็ง
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทบาแค็ง

ปราสาทบาแค็งเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้น สร้างขึ้นบนภูเขาหินธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ปราสาทจึงสามารถสร้างด้วยหินทั้งหลังได้ แตกต่างไปจากปราสาทบากองที่ฐานเป็นชั้นสร้างอยู่บนพื้นราบ ปราสาทประกอบด้วยปราสาทบนยอดจำนวน 5 หลัง และปราสาทขนาดเล็กอีกจำนวน 60 หลังที่ฐานทั้งห้าชั้น ทุกหลักประดิษฐานศิวลึงค์ตามลัทธิไศวนิกายและหันหน้าไปทางทางทิศตะวันออกอันเป็นทิศมงคล เมื่อรวมปราสาทที่ด้านล่างแล้วนักวิชาการประมาณกันว่าปราสาทแห่งนี้มีจำนวนถึง 108 หลัง อันเป็นเลขมงคลในศาสนาฮินดู

ปราสาทบริวาร : ปราสาทบาแค็ง
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทบริวาร : ปราสาทบาแค็ง

ปราสาทบาแค็งเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้น สร้างขึ้นบนภูเขาหินธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้ปราสาทจึงสามารถสร้างด้วยหินทั้งหลังได้ แตกต่างไปจากปราสาทบากองที่ฐานเป็นชั้นสร้างอยู่บนพื้นราบ ปราสาทประกอบด้วยปราสาทบนยอดจำนวน 5 หลัง และปราสาทขนาดเล็กอีกจำนวน 60 หลังที่ฐานทั้งห้าชั้น ทุกหลักประดิษฐานศิวลึงค์ตามลัทธิไศวนิกายและหันหน้าไปทางทางทิศตะวันออกอันเป็นทิศมงคล เมื่อรวมปราสาทที่ด้านล่างแล้วนักวิชาการประมาณกันว่าปราสาทแห่งนี้มีจำนวนถึง 108 หลัง อันเป็นเลขมงคลในศาสนาฮินดู

ทวารบาล
เสียมเรียบ
ประติมากรรมทวารบาล

ทวารบาล สลักจากหินทราย มีใบหน้าดุร้ายคล้ายยักษ์ ทรงกระบังหน้า ตุ้มหูเป็นรูปวงกลมขนาดใหญ่ ประดับด้วยกรองศอ พาหุรัด กำไล และอุทรพันธะซ้อนกัน 2 เส้น นุ่งผ้านุ่งเรียบ ที่ด้านข้างมีชายผ้าเป็นรูปวงโค้งตกลงมา ส่วนด้านหน้ามีชายผ้าตกลงมาเหนือเข่า ตกแต่งด้วยเข็มขัดซ้อนกัน 2 เส้น เส้นล่างมีพู่ห้อย ทวารบาลอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ปลายกรอบเป็นรูปหัวมกรขนาดใหญ่หันหัวออก เหนือขึ้นไปเป็นชั้นหลังคาทรงปราสาท

ทวารบาล
เสียมเรียบ
ประติมากรรมทวารบาล

ทวารบาล สลักจากหินทราย ส่วนเศียรชำรุดเสียหายไปมากแล้ว แต่ก็พอสังเกตุเค้าโครงได้ว่าน่าจะสวมกระบังหน้า มีรัดเกล้าเป็นทรงกรวยแหลม ประดับด้วยตุ้มหู กรองศอ พาหุรัด กำไล ไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้านุ่งยาว แบบมีริ้วทั้งผืน ขอบผ้านุ่งด้านบนมีชายผ้าเป็นรูปสามเหลี่ยมและวงโค้งห้อยตกลงมา ตกแต่งด้วยเข็มขัด 2 เส้น ที่เส้นล่างมีพู่ห้อย ทวารบาลอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว ปลายกรอบเป็นรูปหัวมกรขนาดใหญ่หันหัวออก เหนือขึ้นไปเป็นชั้นหลังคาทรงปราสาท