ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 17 ถึง 20 จาก 20 รายการ, 3 หน้า
ทับหลังสลักภาพอุมามเหศวร
ประติมากรรมทับหลังสลักภาพอุมามเหศวร

ทับหลังในศิลปะบาปวน มีการทำท่อนพวงมาลัยที่สืบต่อมาจากสมัยก่อนหน้า ส่วนกลางท่อนพวงมาลัยกดลงไปอยู่ด้านล่าง ปรากฏหน้ากาลที่มีมือจับท่อนพวงมาลัยที่ ปลายทั้งสองข้างของท่อนพวงมาลัยม้วนออก เหนือท่อนพวงมาลัยเป็นลายใบไม้ตั้งขึ้น ด้านล่างท่อนพวงมาลัยเป็นใบไม้ตกลง ระหว่างช่องใบไม้ตกลงเป็นรูปใบไม้สามเหลี่ยม เหนือหน้ากาลปรากฏการทำประติมากรรมอุมามเหศวร

หน้าบันสลักภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์
อังกอร์
ประติมากรรมหน้าบันสลักภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องรามเกียรติ์ ตอน โมกขศักดิ์

ทับหลังสลักภาพเล่าเรื่องนารายณ์บรรทมสินธุ์
อังกอร์
ประติมากรรมทับหลังสลักภาพเล่าเรื่องนารายณ์บรรทมสินธุ์

ทับหลังในศิลปะนครวัด สืบรูปแบบมาจากศิลปะแบบบาปวน คือ ท่อนพวงมาลัยบริเวณกลางทับหลังจะอ่อนโค้งมาด้านล่าง รวมถึงมีการแบ่งเสี้ยวที่ท่อนพวงมาลัย แต่ที่แตกต่างออกไปคือการแทรกภาพเล่าเรื่องลงไปในทับหลัง

ทับหลัง สลักภาพเล่าเรื่องตอนกูรมาวตาร
ประติมากรรมทับหลัง สลักภาพเล่าเรื่องตอนกูรมาวตาร

ประติมากรรมชิ้นดังกล่าว น่าจะเป็นชิ้นส่วนของทับหลัง องค์ประกอบของภาพเป็นตอนอวตารของพระวิษณุแปลงเป็นเต่า เพื่อใช้รองรับภูเขาในการกวนเกษียรสมุทร ปรากฏรูปบุคคลสองฝั่งคือ อสูรและเทวดา ยืนเรียงแถวใช้มือจับลำตัวนาค เหนือขึ้นเป็นแถวหงส์ และเทวดานั่งชันเข่าพนมมืออยู่ ตรงกลางปรากฏภูเขาที่มีเต่ารองรับ ที่ตัวเสาปรากฏประติมากรรมพระวิษณุกอดภูเขา ด้านบนปรากฏพระพรหม ลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก บุคคลต่างๆ สวมกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด ทรงผ้านุ่งสมพตสั้น มีชายผ้ารูปหางปลาซ้อนกันสองชั้นที่ด้านหน้าผ้านุ่ง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด