ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมปราสาทถาปดอย
ปราสาทถาปดอย เป็นปราสาทที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะขอมอย่างมาก ดังที่มีการใช้หินตามแบบขอมแทรกเข้าในอาคารที่ใช้อิฐเป็นวัสดุหลัก นอกจากนี้ ปราสาทยังมีการประดับกลีบขนุน ทำให้ยอดของปราสาทกลายเป็นทรงพุ่มดังที่ปรากฏที่ปราสาทขอมตั้งแต่สมัยนครวัดลงมา นอกจากนี้ การใช้ “ครุฑแบก” แบกที่มุมปราสาทยังเกี่ยวข้องกับศิลปะขอมอีกด้วย เนื่องจากจามตกเป็นเมืองขึ้นของขอมในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอม ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกำหนดอายุปราสาทที่ได้อิทธิพลขอมว่าควรอยู่ในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย
สถาปัตยกรรมยอดของปราสาทถาปดอย
ปราสาทถาปดอย เป็นปราสาทที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะขอมอย่างมาก ดังที่มีการใช้หินตามแบบขอมแทรกเข้าในอาคารที่ใช้อิฐเป็นวัสดุหลัก นอกจากนี้ ปราสาทยังมีการประดับกลีบขนุน ทำให้ยอดของปราสาทกลายเป็นทรงพุ่มดังที่ปรากฏที่ปราสาทขอมตั้งแต่สมัยนครวัดลงมา นอกจากนี้ การใช้ “ครุฑแบก” แบกที่มุมปราสาทยังเกี่ยวข้องกับศิลปะขอมอีกด้วย เนื่องจากจามตกเป็นเมืองขึ้นของขอมในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอม ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกำหนดอายุปราสาทที่ได้อิทธิพลขอมว่าควรอยู่ในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย
ประติมากรรมครุฑแบกที่ฐานอาคารพระราชวังหลวง
ประติมากรรมครุฑแบกที่ฐาน ปรากฏเป็นครุฑที่มีเศียรเป็นนก อยู่ในท่ายืนเหยียบอยู่บนเศียรนาค แล้วยกแขนยึดนาคไว้ ลักษณะของการทำประติมากรรมครุฑดังกล่าว เป็นรูปแบบของการทำประติมากรรมครุฑในศิลปะบายน
ประติมากรรมภาพสลักเมืองบาดาลที่ฐานพระราชวังหลวง
ด้านล่างของฐานปรากฏการทำประติมากรรมสลักหินทราย เทวดา นางอัปสร อสูร นาค และพระยม โดยแบ่งเป็นชั้น ตรงกลางด้านล่างของแนวฐานจะปรากฏนาคหลายเศียรอยู่เสมอ รูปแบบประติมากรรมสตรี จะสวมกระบัง ด้านบนมีศิราภรณ์ประดับด้วยช่อดอกไม้ 3 แถว กุณฑลเป็นพู่ห้อยขนาดใหญ่ พระพักตร์แบบบายน กล่าวคือหลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย
ประติมากรรมภาพสลัก เล่าเรื่องกองทัพพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ภาพสลักเป็นภาพสลักนูนต่ำ มีสลักภาพเต็มพื้นที่ของผนัง ประติมากรรมบุคคลมีพระพักตร์ตามแบบศิลปะบายน คือ หลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย ไม่สวมเสื้อ มีแต่ผ้านุ่งซึ่งเป็นลักษณะของขบวนของคนทั่วไปไม่ใช่ทหาร สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกองเสบียง
ประติมากรรมนางอัปสร
นางอัปสรที่สลักอยู่บนผนัง มีพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระพักตร์แบบศิลปะบายน กล่าวคือ หลับพระเนตรและยิ้มที่มุมพระโอษฐ์เล็กน้อย ทรงกระบังหน้า ด้านบนมีศิราภรณ์ประดับด้วยช่อดอกไม้ 3 แถว กุณฑลเป็นพู่ห้อยขนาดใหญ่ พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นถือดอกไม้ ทรงผ้านุ่งยาว ด้านข้างผ้านุ่งทั้งสองด้านมีชายผ้ารูปสามเหลี่ยมคล้ายกับหางปลา ชักออกมายาวจรดพื้น ทรงเข็มขัดเป็นแผงขนาดใหญ่ประดับพู่ห้อยโดยรอบ
ประติมากรรมม้าพลาหะ
ม้าพลาหะ เป็นประติมากรรมรูปม้าขนาดใหญ่ หันหน้าเข้าสู่ตัวปราสาทประธาน ที่ประติมากรรมม้าพลาหะ ปรากฏการสลักประติมากรรมบุคคลโดยรอบ
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร
ประติมากรรมพระอวโลกิเตศวร พระเศียรหักหายไป เปลือยกายท่อนบน พระวรกายหนา สวมเครื่องทรง ได้แก่ กรองศอเป็นลักษณะเป็นสร้อยคอแผงมีอุบะพู่ห้อยโดยรอบ นุ่งผ้านุ่งสั้นเหมือนผ้านุ่งชั้นในอัตพลีต มีชายผ้าหางปลาตกลงมาตรงกลางชายเดียว เป็นรูปแบบของศิลปะบายน รายล้อมไปด้วยเหล่าเทวดาและพระโพธิสัตว์