ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 14 รายการ, 2 หน้า
โคปุระของปราสาทบันทายสรี
อังกอร์
สถาปัตยกรรมโคปุระของปราสาทบันทายสรี

โคปุระของปราสาทบันทายสรี ประกอบด้วยหน้าจั่วสามเหลี่ยมซึ่งเลียนแบบมาจากอาคารเครื่องไม้ ที่น่าสนใจก็คือ ที่ปลายหน้าจั่วมีลายตกแต่งเป้รูปขมวดม้วน ซึ่งอาจกลายมาจากงวงของมกรก็ได้ หน้าจั่วเช่นนี้ปรากกฎมาก่อนกับปราสาทในศิลปะเกาะแกร์ และจะปรากฏอีกกับปราสาทในศิลปะบาปวนบางหลัง เช่นปราสาทพระวิหาร

มณฑปของปราสาทบันทายสรี
อังกอร์
สถาปัตยกรรมมณฑปของปราสาทบันทายสรี

ปราสาทบันทายสรีเป็นปราสาทบนพื้นราบที่เน้นแนวแกนกลาง ด้วยเหตุนี้ปราสาทประธานจึงปรากฏมณฑปในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งตรงตามแนวแกนตะวันออก มณฑปนั้นเป็นห้องสำหรับรอกระทำพิธีกรรมและเป็นห้องสำหรับผู้ศรัทธาที่ไม่สามารถเข้าไปภายในครรภคฤหะได้ หน้าบันด้านหน้าของปราสาทบันทายสรี เป็นภาพของพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึงถือเป็นเทพประจำทิศตะวันออกที่มักปรากฏเสมอแม้ว่าปราสาทหลังนั้นจะไม่ได้อุทิศให้กับพระอินทร์ก็ตาม

ปราสาทประธาน : ปราสาทบันทายสรี
อังกอร์
ประติมากรรมปราสาทประธาน : ปราสาทบันทายสรี

ปราสาทบันทายสรีเป็นปราสาทบนพื้นราบที่เรียงกันสามหลัง หลังกลางอุทิศให้กับพระศิวะ ส่วนหลังข้างนั้น แม้ว่าจะไม่ปรากฏจารึกว่าสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้ใคร แต่อาจเป็นไปได้ว่าอุทิศหับพระเทวีสององค์ของพระศิวะ คือพระอุมากับพระคงคา เนื่องจากทวารบาลของปราสาททั้งสองหลังล้วนแต่เป็นนางอัปสรทั้งสิ้นปราสาททั้งสามหลังมีลักษณะตามแบบศิลปะพระนครตอนปลายโดยทั่วไปท่สร้างด้วยหิน อย่างไรก็ตามปราสาทยังคงเว้นประตูสามด้านไว้เป็นประตูหลอก ด้านบนของชั้นวิมานยังคงประดับด้วยปราสาทจำลองซึ่งแตกต่างไปจากปราสาทในศิลปะนครวัดที่ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นกลีบขนุน

ปราสาทประธานของปราสาทบันทายสรี
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทประธานของปราสาทบันทายสรี

ปราสาทบันทายสรีเป็นปราสาทบนพื้นราบที่เรียงกันสามหลัง หลังกลางอุทิศให้กับพระศิวะ ส่วนหลังข้างนั้น แม้ว่าจะไม่ปรากฏจารึกว่าสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้ใคร แต่อาจเป็นไปได้ว่าอุทิศหับพระเทวีสององค์ของพระศิวะ คือพระอุมากับพระคงคา เนื่องจากทวารบาลของปราสาททั้งสองหลังล้วนแต่เป็นนางอัปสรทั้งสิ้น ปราสาททั้งสามหลังมีลักษณะตามแบบศิลปะพระนครตอนปลายโดยทั่วไปท่สร้างด้วยหิน อย่างไรก็ตามปราสาทยังคงเว้นประตูสามด้านไว้เป็นประตูหลอก ด้านบนของชั้นวิมานยังคงประดับด้วยปราสาทจำลองซึ่งแตกต่างไปจากปราสาทในศิลปะนครวัดที่ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นกลีบขนุน

บรรณาลัยของปราสาทบันทายสรี
อังกอร์
สถาปัตยกรรมบรรณาลัยของปราสาทบันทายสรี

บรรณาลัยของปราสาทบันทายสรี สร้างขึ้นทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ของปราสาทประธาน ทางทิศใต้มีภาพเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับพระสิวะเท่านั้น ส่วนทางดานเหนือมีภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพระกฤษณะ บรรณาลัยมีชั้นเชิงของหน้าบันที่น่าสนใจ เป็นหน้าบันกรองคดโค้งที่มีปลายเป็นรูปนาค ครุฑและสิงห์ ซึ่งต่อมา หน้าบันรูปคดโค้งนี้จะได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในศิลปะบาปวนจนถึงบายน ชั้นเชิงการจัดวางหน้าบันกลางที่ซ้อนกันถึงสามชั้น โดยที่หน้าบันชั้นที่สองมีปีกนกยื่นออกมาทำให้บรรณาลัยแห่งนี้มีความงดงามทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างยิ่ง

ระเบียงคดของปราสาทตาแก้ว
อังกอร์
สถาปัตยกรรมระเบียงคดของปราสาทตาแก้ว

ภาพนี้เป็นภาพของระเบียงคดของปราสาทตาแก้ว ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ของสถาปนิกที่นี่ อันพัฒนาต่อเนื่องมาจากอาคารยาวๆของปราสาทแปรรูป ระเบียงคดซึ่งปรากฏขึ้นใหม่นี้คั่นด้วยโคปุระทั้งสี่ด้าน มุงด้วยอิฐซึ่งถือเป็นความพยายามในการนำเอาวัสดุถาวรแต่มีน้ำหนักมากขึ้นมุงหลังคา ระเบียงคดนี้ยังคงวางอยู่ทีฐานชั้นล่างสุดของปราสาท แตกต่างจากปราสาทในระยะต่อมาที่ระเบียงคดอาจขึ้นไปวางไว้บนยอดฐานเป็นชั้นได้

ทับหลัง
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอ ทับหลังในพระโคเริ่มปรากฏหน้ากาลตามอทธิพลชวา อย่างไรก็ตาม ลักษณะเด่นของทับหลังชิ้นนี้ก็คือการประดับบริเวณเสี้ยว (เศษ 1 ส่วน 4) ของท่อนพวงมาลัยด้วยรูป “ใบหน้าสัตว์ขบท่อนพวงมาลัย” ซึ่งต่อไปจะเป็นต้นแบบของเสี้ยวพวงอุบะในศิลปะบันทายสรีและบาปวน

หน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องนรสิงห์
อังกอร์
ประติมากรรมหน้าบัน สลักภาพเล่าเรื่องนรสิงห์

หน้าบันมีลักษณะยืดสูงเป็นทรงสามเหลี่ยม มีกรอบซุ้มเป็นซุ้มคดโค้ง กล่าวคือมีการทำกรอบโค้งเข้าโค้งออกอย่างสวยงาม ปลายกรอบซุ้มเป็นรูปนาคหลายเศียรตามแบบหน้าบันในสมัยพระนครตอนปลาย ตรงกลางหน้าบันปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องเป็นรูปนรสิงห์แหวกอกอสูร