ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 6 จาก 6 รายการ, 1 หน้า
พระอารามโรงเจิน
พนมกุเลน
สถาปัตยกรรมพระอารามโรงเจิน

ปราสาทพระอารามโรงเจิน เป็นปราสาทที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 เพื่อประดิษฐานพระเทวราช และศิวลึงค์ประจำพระองค์ ปราสาทแห่งนี้ตั้งอยู่บนฐานเป็นชั้นที่สร้างขึ้นจากศิลาแลง ด้านบนปรากฏฐานศิวลึงค์อยู่ ซึ่งอาจเคยอยู่ในปราสาทที่หักพังไปหมดแล้ว ฐานเป็นชั้นนี้คงเป็นความพยายามในการจำลองเขาไกรลาส ที่ประทับของพระศิวะ และต่อมาจกลายเป็นประเพณีในสมัยเมืองพระนครที่ปราสาทที่ประดิษฐานพระเทวราชและศึวลึงค์ประจำพระองค์กษัตริย์ต้องเป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นเสมอ

ปราสาทบริวารของปราสาทบากอง
เรอลั้วะ
สถาปัตยกรรมปราสาทบริวารของปราสาทบากอง

ภาพปราสาทบริวารของปราสาทบากอง เป็นปราสาทอิฐที่แตกต่างด้วยปูนปั้น ตั้งอยู่บนพื้น กระจายตัวกันอยู่ทุกทิศ จำนวนแปดหลัง (ด้านละสองหลังดังที่เห็นในภาพ)

ปราสาทประธาน : ปราสาทบากอง
เรอลั้วะ
สถาปัตยกรรมปราสาทประธาน : ปราสาทบากอง

เป็นที่น่าแปลกว่า ปราสาทประธานของปราสาทบากองกลับสร้างด้วยหินทรายและมีลวดลายในสมัยนครวัด ซึ่งแตกต่างไปจากองค์ประกอบโดยรวมของปราสาทบากองที่มีอายุอยู่ในสมัยพระโค อันแสดงให้เห็นว่า ปราสาทประธานหลังนี้ถูกสร้างใหม่ในสมัยนครวัด ซ่งออาจทดแทนปราสาทหลังเดิมของปราสาทบากองที่สร้างด้วยอิฐและอาจพังทลายลงในสมัยนครวัดลักษณะของปราสาทในสมัยนครวัดก็คือ การมีแผนผังเพิ่มมุม การตกแต่งด้วยนางอัปสรที่แต่งกายตามแบบนครวัดและการประดับกลีบขนุนที่ยอดด้านบน

ปราสาทตาแก้ว
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทตาแก้ว

เป็นปราสาทบนฐานเป็นชั้นจำนวน 3 ชั้น ด้านบนบนมีปราสาทจำนวน 5 หลัง สืบพัฒนาการมาจากปราสาทแปรรูป อย่างไรก็ตาม เป็นครั้งแรกที่ปราสาททั้งหมดสร้างด้วยหินและสามารถเจาะประตูเข้าได้ทั้งสี่ทิศ มีระเบียงคดอยู่โดยรอบที่ด้านล่างฐานเป็นชั้น ซึ่งเป็นพัฒนาการใหม่มาจากอาคารยาวๆ ที่ไม่ต่อเนื่องกันที่ปราสาทแปรรูป ปราสาทยังสร้างไม่สำเร็จ ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่ปรากฏลวดลายใดๆ

ปราสาทประธานของปราสาทตาแก้ว
อังกอร์
สถาปัตยกรรมปราสาทประธานของปราสาทตาแก้ว

ภาพนี้เป็นภาพหนึ่งในห้าปราสาทประธานของปราสาทตาแก้ว ปราสาททั้งหมดสร้างด้วยหินและสามารถเจาะประตูเข้าได้ทั้งสี่ทิศ ซึ่งมีพัฒนาการแตกต่างไปจากปราสาทก่อนหน้านี้ที่สร้างด้วยอิฐและยังไม่สามารถเจาะประตูได้สี่ทิศ อย่างไรก็ตาม ปราสาทแห่งนี้ยังสร้างไม่สำเร็จ ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่ปรากฏลวดลายใดๆ

ทับหลัง
เสียมเรียบ
ประติมากรรมทับหลัง

ทับหลังในสมัยกุเลนจะมีลักษณะรับอิทธิพลมาจากศิลปะชวา กล่าวคือการทำหน้ากาลอยู่กึ่งกลางด้านบนของท่อนพวงมาลัย ปลายทั้งสองข้างทำเป็นมกรหันหน้าออก ตามแบบซุ้มกาล-มกรตามศิลปะชวาภาคกลาง ท่อนพวงมาลัยมีการทำลายใบไม้ตั้งขึ้น ห้อยลงตามแบบศิลปะกำพงพระ เหรียญทรงกลมจากศิลปะกำพงพระปรับเปรียบเป็นลายดอกไม้กลม ใต้ท่อนพวงมาลัยระหว่างช่องใบไม้ตกลงปรากฏการทำพวงอุบะแทรกอยู่