ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 9 ถึง 16 จาก 21 รายการ, 3 หน้า
มัสยิดมลายู
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมมัสยิดมลายู

อาคารมัสยิดมลายู มีลักษณะตามแบบเอเชียอาคเนย์ที่ไม่นิยมสร้างโดมแต่สร้างเป็นหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง เป็นหลังคาลาดเพื่อให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศที่มีฝนตกชุกตลอดปี อย่างไรก็ตาม แผงด้านหน้าของอาคารกลับใช้อาร์คแบบมัวร์ของสเปนเข้ามาผสมผสาน โดยเป็นอาร์คแบบวงโค้งเกือกม้าซึ่งแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลแบบสเปนที่เข้ามาพร้อมกับสถาปนิกชาวอังกฤษในสมัยอาณานิคม

นากอร์ดารการห์
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมนากอร์ดารการห์

แผนผังของหลุมศพจำลองมีลักษณะเป็นแบบครรภคฤหะ ทางประทักษิณภายในและมณฑปซึ่งแสงการหยิบยืมแผนผังอาคารแบบฮินดูมาใช้ หอคอยปลอมมีลักษณะซ้อนกันเป็นชั้นๆในผังสี่เหลี่ยม ซึ่งคล้ายคลึงกับ Nagore Dagarh ที่ประเทศอินเดีย อันแสดงให้เห็นการจำลองแบบมา ด้านบนโดมมีกลีบดอกไม้คว่ำอยู่ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโดมแบบอินเดียเช่นกัน

มัสยิดอุบุดิยะห์
กัวลากังสาร์
สถาปัตยกรรมมัสยิดอุบุดิยะห์

กล่าวกันว่า มัสยิดอุบุดิยะห์ เป็นหนึ่งในมัสยิดที่งดงามที่สุดในมาเลเซีย มีแผนผังแปดเหลี่ยมแบบรวมศูนย์ (Centralize plan) อันครอบด้วยโดมขนาดใหญ่ และมีหอคอยแบบอินเดียทั้งสี่ด้าน นอกจากนี้ยังปรากฏเท้าแขน (Buttress) ขนาดใหญ่ที่มุมทั้งแปดของอาคารผังแปดเหลี่ยม

มัสยิดจาเม็ก
กัวลาลัมเปอร์
สถาปัตยกรรมมัสยิดจาเม็ก

เป็นมัสยิดทีผสมผสานกันระหว่างอิทธิพลศิลปะโมกุลแบบอินเดียและศิลปะมัวร์แบบสเปน โดยที่แผนผังของอาคาร การใช้โดมสามโดมเรียงกันและรูปแบบของหอคอยซึ่งวางฉัตรีด้านบนสุดนั้นเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอินเดีย อย่างไรก็ตาม ยังมีการใช้วัสดุสลับสีและอาร์ควงโค้งหลายวงต่อเนื่องกันซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะมัวร์ด้วย

หอคอยมัสยิดกำปงกลิง
มะละกา
สถาปัตยกรรมหอคอยมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือหอคอยซึ่งมีเรือนธาตุซ้อนขึ้นไปเป็นชั้นๆและจบด้วยหลังคาลาดแบบจีน การซ้อนชั้นของหอคอยดังกล่าวคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับเจดีย์ (ถะ) ในศิลปะจีน ในขณะเดียวกันก็คล้ายคลึงกับหอคอยตามแบบดาร์คารห์ (Dargarh) ของนาคปัฏฏนัมในอินเดียใต้ด้วย

มัสยิดกำปงกลิง
มะละกา
สถาปัตยกรรมมัสยิดกำปงกลิง

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ระบบนี้แตกต่างไปจากมัสยิดในพื้นที่อื่นๆทีมักอยู่ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าและหลังคาเป็นหลังคาตัดประกอบด้วยโดมจำนวนมาก มัสยิดแบบหลังคาลาดนี้ ยังปรากฏกับมัสยิดกำปงฮูลูในเมืองมะละกาเช่นเดียวกัน มัสยิดทั้งสองถือเป็นมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ที่สมบูรณ์ที่สุดและเป็นมัสยิดรุ่นเก่าก่อนที่ระบบโดมจะถูกนำเข้ามาโดยสถาปนิกชาวอังกฤษในภายหลัง

มัสยิดกำปงฮูลู
มะละกา
สถาปัตยกรรมมัสยิดกำปงฮูลู

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือมัสยิดเป็นมัสยิดที่ผสมผสานกันระหว่างศิลปะมาเลเซียกับอิทธิพลจีนดังจะเห็นได้จากหลังคาที่งอนขึ้น กระเบื้องเคลือบจีนก็ถูกใช้ในการตกแต่งมัสยิดในจุดต่างๆ เช่นการมุงหลังคา

หอคอยมัสยิดกำปงฮูลู
มะละกา
ประติมากรรมหอคอยมัสยิดกำปงฮูลู

หอคอยมัสยิดกำปงฮูลู มีลักษณะพิเศษและน่าสนใจ เนื่องจากเป็นหอคอยที่จำลองแบบมาจากประภาคาร เป็นหอคอยในผังแปดเหลี่ยมทรงสอบซึ่งมีอาคารอยู่ด้านบน แตกต่างไปหอคอยของมัสยิดกำปงกลิงที่เป็นหอคอยแบบถะจีน อนึ่งการใช้ประภาคารมาเป็นหอคอยมัสยิดนั้นแสดงอิทธิพลแบบตะวันตกที่ถูกประยุกต์ใช้ในเอเชียอาคเนย์ พบอีกที่หนึ่งคือหอคอยของมัสยิดมลายูที่เมืองปีนัง