ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 505 ถึง 512 จาก 516 รายการ, 65 หน้า
ลวดลายประดับประตูที่ชเวนันดอจอง
มัณฑเลย์
ประติมากรรมลวดลายประดับประตูที่ชเวนันดอจอง

เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ในภาพนี้เป็นภาพของกรอบประตูซึ่งได้มีการนำเอาลายใบอะแคนธัสมาใช้แทนลายกรอบหน้าบน รวมถึงเคล็กและครีบที่ประดับรอบประตู ส่วนผนังของอาคารออกแบบเป็นฝาปะกนที่ประดับด้วยบุคคลขนาดเล็ก ปิดทองซึ่งทำให้อาคารหลังนี้มีชื่อว่า ชเวนันดอ หรือพระที่นั่งทอง

ภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
มัณฑเลย์
ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง

เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว

ภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
มัณฑเลย์
ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง

เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว

ภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง
มัณฑเลย์
ประติมากรรมภาพจำหลักเรื่องชาดกที่ชเวนันดอจอง

เนื่องจากรัชสมัยพระเจามินดงเป็นช่วงที่อิทธิพลตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทมากในศิลปะพม่า ทำให้เกิดการนำเอาลายอะแคนธัส หรือใบผักกาดฝรั่งมาประยุกต์ใช้ประดับสถาปัตยกรรมพม่าอย่างมาก ภาพนี้เป็นภาพสลักเล่าเรื่องชาดกซึ่งล้อมรอบไปด้วยลายอะแคนธัส ซึ่งประดับอยู่ที่มุมของชานชาลายกพื้นภายในอาคารของชเวนันดอจอง เป็นไปได้ที่การประดับดังกล่าวถูกสลักเพิ่มเติมขึ้นเมื่ออาคารหลังนี้ได้รับการถวายให้กลายเป็นวัดแล้ว

สรัสวดีในรูปของนัต
พุกาม
ประติมากรรมสรัสวดีในรูปของนัต

เทวีสรัสวดี เทพีแห่งความรู้ในศาสนาฮินดู ได้กลายเป็นเทพีผู้ปกป้องความรู้ทางพุทธศาสนาเถรวาทในพม่า แสดงให้เห็นกระบวนการดูดกลืนศาสนาฮินดูเข้าสู่ศาสนาพุทธซึ่งเป้นกระบวนการปกติในแถบเอเชียอาคเนย์

ภาพเล่าเรื่องตามคัณฑวยุหสูตร
ไม่ปรากฏ
ประติมากรรมภาพเล่าเรื่องตามคัณฑวยุหสูตร

รูปแบบศิลปะของภาพสลักที่บุโรพุทโธมีความคล้ายคลึงศิลปะอินเดียเป็นอย่างมาก ทั้งรูปแบบเครื่องแต่งกายของประติมากรรม ข้าวของเครื่องใช้ ตัวละครที่กลมกลึงและมีการเว้นพื้นที่ว่างเปล่า ทั้งหมดนี้แสดงว่าศิลปะชวาภาคกลางมีความเกี่ยวข้องอย่างมากกับศิลปะอินเดีย ตำนาน/เรื่องเล่าที่เกี่ยวข้อง

พระโพธิสัตว์ จิตรกรรมในเจดีย์อโลปเย
พุกาม
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์ จิตรกรรมในเจดีย์อโลปเย

พระโพธิสัตว์เหล่านี้แต่งตัวคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงมงกุฎที่มีกระบังหน้าสามตาบ การทรงยัชโญปวีตตวัดเป็นรูปตัว S และการนุ่งผ้านุ่งเป็นริ้ว รวมถึงการปรากฏดอกไม้สองดอกขนาบทั้งสองข้างอย่างสมมาตรย่อมแสดงให้เห็นอิทธิพลปาละตอนปลายอย่างมาก จิตรกรรมเองก็ใช้สีโทนร้อนตามอย่างปาละ ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าจิตรกรรมดังกล่าวคงมีอายุอยู่ในสมัยพุกามตอนต้น

จิตรกรรมประกอบซุ้มในเจดีย์ปยาตองสู
พุกาม
จิตรกรรมจิตรกรรมประกอบซุ้มในเจดีย์ปยาตองสู

ซุ้มประตูของเจดีย์ปยาตองสูตกแต่งด้วยจิตรกรรมอย่างน่าสนใจ โดยตามเคล็กมีการถมด้วยลวดลายพันธ์พฤกษาแทนกลายเทวดาตามแบพุกามตอนปลาย ท่ปลายสุดของซุ้มปรากฏรูปกินนร-กินนรีกำลังยกมือไหว้ ซึ่งลวดลายนี้จะเป็นต้นแบบให้ศิลปะสุโขทัยและล้านนาในศิลปะไทย น่าสังเกตว่ากินนรกินนรีที่นี่สวมมงกุฎที่ประดับด้วยตามสามเหลี่ยมอันแสดงแรงบันดาลใจจากศิลปะปาละอย่างชัดเจน