ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 553 ถึง 560 จาก 884 รายการ, 111 หน้า
จันทิเซวู
กลาเตน
สถาปัตยกรรมจันทิเซวู

จันทิหลังประธานของจันทิเซวูมีแผนผังกากบาทเช่นเดียวกับจันทิกะลาสันและจันทิปรัมบะนัน กล่าวคือ มีห้องครรภคฤหะตรงกลางและล้อมรอบไปด้วยมุขสี่ทิศ รวมกันเป็นห้าห้อง ซึ่งคงเป็นอิทธิพลจากผังกากบาทของปหรรปุระในศิลปะปาละตอนต้น แผนผังแบบนี้เข้ามาและได้รับความนิยมเฉพาะศิลปะชวาภาคกลางตอนปลายจันทิในผังห้าห้องนี้คงสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระธยานิพุทธเจ้าตามทิศ อนึ่ง มีรายงานว่าได้ค้นพบขมวดพระเกศาขนาดใหญ่ซึ่งอาจเคยเป็นของพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในจันทิเซวูก็ได้ ด้านบนยอดปรากฏสถูปขนาดใหญ่ล้อมรอบด้วยสถูปขนาดเล็ก ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของอาคารในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย

เรือนธาตุของอาคารประธาน: จันทิเซวู
กลาเตน
สถาปัตยกรรมเรือนธาตุของอาคารประธาน: จันทิเซวู

จันทิหลังประธานของจันทิเซวูมีแผนผังกากบาทเช่นเดียวกับจันทิกะลาสันและจันทิปรัมบะนัน กล่าวคือ มีห้องครรภคฤหะตรงกลางและล้อมรอบไปด้วยมุขสี่ทิศ รวมกันเป็นห้าห้อง ซึ่งคงเป็นอิทธิพลจากผังกากบาทของปหรรปุระในศิลปะปาละตอนต้น เรือนธาตุของจันทิประธาน ประกอบด้วยเก็จจำนวนสามเก็จ คือเก็จประธานและเก็จมุม เก็จประธานเป็นซุ้มกาล-มกรขนาดใหญ่ โดยมีหน้ากาลอยู่ด้านบนและมีมกรหันออกอยู่ด้านล่าง ทั้งหมดเป็นกรอบครอบซุ้มประตูรูปกูฑุ ส่วนเก็จมุมขนาบปรากฏ “ซุ้มจระนำและเสา” ซึ่งเป็นระเบียบเดียวกับซุ้มพระโพธิสัตว์ที่เก็จมุมของจันทิเมนดุต จันทิปะวนและจันทิกะลาสัน อย่างไรก็ตาม ซุ้มจระนำที่นี่กลับบรรจุแถบลวดลายพวงอุบะจนเต็ม

จันทิหลังบริวาร: จันทิเซวู
กลาเตน
สถาปัตยกรรมจันทิหลังบริวาร: จันทิเซวู

แผนผังรวมของจันทิเซวูประกอบด้วยจันทิประธานตรงกลางซึ่งล้อมรอบด้วยจันทิบริวารจำนวนมาก แผนผังจันทิเซวูอยู่จึงในระบบ “มณฑล” หรือการจำลองจักรวาลที่เต็มไปด้วยที่ประทับของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์และเทพเจ้าในตำแหน่งต่างๆ อนึ่ง ชื่อจันทิเซวู ซึ่งแปลว่าจันทิพันหลัง ซึ่งคงได้มาจากจันทิบริวารจำนวนมากนั่นเอง แม้ว่าแท้จริงแล้วจะมีเพียง 240 หลังก็ตามจันทิบริวารเหล่านี้ คงมีต้นเค้ามาจากห้องกุฏิจำนวนมากที่วงเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่ล้อมรอบอาคารประธานที่ปหรรปุระในศิลปะปาละ แต่จันทิเซวูกลับออกแบบให้จันทิแต่ละหลังตั้งอยู่แยกออกจากกันเป็นอิสระ ยอดของจันทิบริวารเหล่านี้ประกอบด้วยอาคารจำลองยอดสถูปิกะ ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวยกเก็จเพื่อรองรับสถูปยอดที่มีสถูปิกะบริวารประดับอยู่สี่หรือแปดทิศ อนึ่ง ความซับซ้อนเช่นนี้ถือว่าเป็นลักษณะเฉพาะในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย

จันทิปรัมบะนัน
กลาเตน
สถาปัตยกรรมจันทิปรัมบะนัน

เทวาลัยประกอบด้วยจันทิขนาดเล็กจำนวน 224 หลัง โดยล้อมรอบกลุ่มเทวาลัยประธาน ซึ่งอาจเทียบได้กับจันทิเซวูว่าซึ่งเป็นจันทิในพุทธศาสนาที่มีแผนผังแบบมณฑล เทวาลัยประธานนั้น ประกอบด้วยเทวาลัยจำนวน 8 โดย เทวาลัยประธานจำนวนสามหลังสร้างอุทิศให้กับตรีมูรติ อันได้แก่ เทวาลัยหลังกลางอุทิศให้กับพระศิวะ เทวาลัยหลังทิศเหนืออุทิศให้กับพระวิษณุและเทวาลัยหลังทิศใต้อุทิศให้กับพระพรหมส่วนเทวาลัยด้านหน้าอีกสามหลังนั้นเป็นเทวาลัยที่สำหรับพาหนะของเทพเจ้าทั้งสาม อันได้แก่โคนนทิ ครุฑและหงส์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีเทวาลัยอีกสองหลังเล็กขนาบทั้งสองด้าน เทวาลัยหลังเล็กนี้คงสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้กับพระสูรยะและพระจันทร์

เทวาลัยพระศิวะ: จันทิปรัมบะนัน
กลาเตน
สถาปัตยกรรมเทวาลัยพระศิวะ: จันทิปรัมบะนัน

เทวาลัยพระศิวะ ถือว่าเป็นเทวาลัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีแผนผังกากบาทและมีห้องเล็กๆจำนวนห้าห้อง ซึ่งแสดงให้เห็นแผนผังที่สืบมาจากเทวาลัยในพุทธศาสนามหายานที่สร้างขึ้นในระยะร่วมสมัย อย่างไรก็ตาม เทวาลัยแห่งนี้อุทิศให้กับเทพเจ้าในศาสนาอินดูทั้งหมด อันได้แก่ห้องกลางนั้นอุทิศให้กับพระศิวะ ด้านทิศใต้อุทิศให้กับพระอคัสตยะ ด้านตะวันตกอุทิศให้กับพระคเณศ และด้านทิศเหนืออุทิศให้กับนางมหิษาสูรมรรทนี ตัวอาคารประกอบด้วยฐานประดับรูปเทพประจำทิศ เรือนธาตุแบ่งออกเป็นสองชั้นซึ่งแสดงให้เห็นพัฒนาการที่แตกต่างไปจากจันทิหลังอื่นๆในระยะก่อนหน้า เรือนธาตุในแต่ละด้านประดับด้วยซุ้มจระนำยอดปราสาทที่เหมือนกันทั้งหมด สำหรับยอดปราสาทนั้น เนื่องจากเทวาลัยดังกล่าวมีแผนผังกากบาทตั้งแต่ฐานยันยอดวิมาน ซึ่งทำให้เรือนธาตุจำลองทุกชั้นมีแผนผังกากบาทเช่นเดียวกับเรือนธาตุ แผนผังดังกล่าวทำให้ยอดปราสาทของจันทิหลังนี้มีความซับซ้อนกว่าจันทิในศิลปะชวาระยะก่อนหน้าอาคารจำลองที่ประดับชั้นวิมานยังคงมีลักษณะเป็น “อาคารจำลองยอดสถูปิกะ” ดังที่ปรากฏมาก่อนแล้วในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย อย่างไรก็ตาม สถูปิกะยอดอาคารจำลองเหล่านี้กลับมีริ้วกลีบมะเฟืองอันคล้ายคลึงกับอมลกะในศิลปะอินเดียเหนือเป็นอย่างยิ่ง

จันทิกิดาล
กิดาล
สถาปัตยกรรมจันทิกิดาล

จันทิแห่งนี้ มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่ต่อมาจะกลายเป็นรูปแบบโดยทั่วไปของศิลปะชวาภาคตะวันออก กล่าวคือ เป็นจันทิขนาดเล็กที่มีห้องครรภคฤหะเพียงห้องเดียว ตั้งอยู่บนฐาน 3 ชั้นที่ เหนือประตูกลางปรากฏหน้ากาลที่มีลักษณะดุร้ายตามแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก คือ เป็นหน้ากาลที่มีปากล่าง มีเขี้ยวยื่นออกมา มีเขาและมีมือที่ชูนิ้วขึ้นในท่าขู่ เรือนธาตุคาด “เส้นรัดอก” ซึ่งถือเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะชวาภาคตะวันออก ยอดของจันทิมีลักษณะที่ต่อมาจะปรากฏเสมอๆในศิลปะชวาภาคตะวันออก กล่าวคือ ปรากฏ “ชั้นหน้ากระดาน” สลับอาคารจำลองขนาดเล็กเรียงกันจำนวน 5 หลัง

จันทิจาโก
ตุมปัง
สถาปัตยกรรมจันทิจาโก

ศาสนสถานมีฐานรองรับ 3 ชั้นโดยสลักเรื่องการวิวาทกันระหว่างราชวงศ์ปาณฑพและเการพในมหาภารตะ โดยเริ่มตั้งแต่พวกปาณฑพเล่นสกากับพวกเการพ การเปลื้องผ้านางเทราปตี การถูกขับไล่ออกจากเมืองจนถึงพระอรชุนไปบำเพ็ญตบะที่เขาอินทรกิละ และเรื่องการรับอาวุธปาศุปัตจากพระศิวะที่แปลงตนเองมาเป็นนายพรานชื่อกิราตะ หลังคาของปราสาทด้านบนได้หักพังลงมาหมดแล้ว แต่เป็นไปได้ที่หลังคาของปราสาทอาจเป็นเรื่องไม้มุงกระเบื้องหรือมุงฟาง โดยเป็นหลังคาลาดซ้อนชั้นตามแบบ “เมรุ” ก็ได้

จันทิสิงหาส่าหรี
สิงหาส่าหรี
สถาปัตยกรรมจันทิสิงหาส่าหรี

จันทิสิงหาส่าหรีมีลักษณะแผนผังที่แปลกประหลาด โดยห้องกลางของจันทิไม่สามารถเข้าไปได้ คือเป็นจันทิที่เรือนธาตุปิดเป็นห้องกรุทึบเนื่องจากตั้งอยู่ด้านบน ส่วนห้องที่มุขทั้ง 4 ทิศนั้นตั้งอยู่ที่ฐานด้านล่างและสามารถเข้าไปภายในได้ ห้องกลางประดิษฐานศิวลึงค์ ห้องด้านทิศใต้ประดิษฐานอคัสตยะ ห้องด้านทิศตะวันตกประดิษฐานพระคเณศ ส่วนด้านทิศเหนือประดิษฐานมหิษาสูรมรรทนี แผนผังแบบนี้ปรากฏมาแล้วตั้งแต่จันทิปรัมบะนันในศิลปะชวาภาคกลางตอนปลาย อาคารชั้นบนของจันทิสิงหาส่าหรีมีรูปแบบที่เทียบได้กับจันทิโดยทั่วไปในศิลปะชวาภาคตะวันออก คือ เรือนธาตุสี่เหลี่ยมจัตุรัสรัดด้วยรัดอก ทั้งสี่ด้านปรากฏประตูหลอกซึ่งมีหน้ากาลประดับอยู่ด้านบน ถัดขึ้นไปได้แก่ชั้นซ้อนซึ่งประกอบด้านหน้ากระดานสลับกับอาคารจำลอง