ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สถาปัตยกรรมปราสาทบันทายกุฎี
ปราสาทบันทายกุฎี เป็นปราสาทในศิลปะบายน สร้างขึ้นโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นอาคารที่ประกอบไปด้วยยอดปราสาทจำนวนมาก เชื่อต่อกันด้วยระเบียงกากบาท ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของปราสาทในสมัยนี้ ปราสาทอยู่ในผังคล้ายตารางซึ่งแสดงให้เห็นว่าปราสาทถูกออแบบตาม “คติมณฑล” ในพุทธศาสนามหายาน

สถาปัตยกรรมบารายด้านหน้าปราสาทบันทายกุฎี
ท่าน้ำขั้นบันไดด้านหน้าปราสาทบันทายกุฎี สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เพื่อให้สระสรงกลายเป็นสระน้ำประจำปราสาทบันทายกุฎี ท่าน้ำแห่งนี้มีลักษระเป็นกากบาทตามแบบที่นิยมมาตั้งแต่ศิลปะสมัยนครวัด อย่างไรก็ตามครุฑยุดนาคที่ประดับตามราวบันไดนั้นถือเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะบายนอย่างแท้จริง

สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน D
ปราสาทมิเซิน D มีสองหลังสำคัญคือ ปราสาทมิเซิน D1 และปราสาทมิเซิน D2 ทั้งสองหลังเป็นมณฑปภายนอกกำแพงของปราสาทมิเซินกลุ่ม B และ C มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ด้านบนคงสร้างขึ้นด้วยหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องซึ่งไม่หลงเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน ด้านข้างประดับด้วยเสาติดผนัง ซุ้มประติมากรรมสลับกับหน้าต่างที่ประดับด้วยลูกมะหวด

สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน B1
ปราสาทมิเซิน B1 เป็นปราสาทเพียงหลังเดียวในศิลปะจามที่สร้างขึ้นด้วยหินทั้งหลัง เนื่องจากโดยปกติแล้วศิลปะจามมักสร้างปราสาทด้วยอิฐเสมอ ฐานของปราสาทแห่งนี้ยังคงหลงเหลือลวดบัวซึ่งประดับด้วยปราสาทจำลอง

สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน F
ปราสาทมิเซิน F เป็นปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดหลังหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานที่มิเซิน ลวดลายที่ประดับปราสาทมีความคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิละขอมสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างมาก ทำให้สามารถกำหนดอายุได้ว่าอาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13

สถาปัตยกรรมรายละเอียดฐานปราสาทมิเซิน F
ฐานของปราสาทมิเซิน F มีลวดลายที่คล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างมาก อันได้แก่ลายบุคคลเหาะในช่อง และภาพลูกกรงหรือเวทิกา ซึ่งทำให้สามารถกำหนดอายุได้ว่าอาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13

สถาปัตยกรรมปราสาทบั่งอาน
ปราสาทบั่งอาน มีความพิเศษคือเป็นปราสาทแปดเหลี่ยมเพียงหลังเดียวในศิลปะจาม โดยแต่ละด้านของเรือนธาตุไม่มีการประดับซุ้มจระนำแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีการแบ่งยอดออกเป็นชั้นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้แตกต่างอย่างมากไปจากปราสาทจามโดยปกติ

สถาปัตยกรรมปราสาทดงเดือง
ปราสาทดงเดือง ประกอบด้วยเสาติดผนัง 4 ต้นเช่นเดียวกับปราสาทหัวล่าย อย่างไรก็ตาม ในสมัยนี้ ร่องเสาได้กลายเป็นร่องแคบๆ ซึ่งทำให้ลวดลายต้องออกมาสลักที่ขอบนอกของเสา ส่วนด้านล่างของเสาแต่ละต้นปรากฏซุ้มโคนเสา.ซึ่งปรากฏเช่นกันในศิลปะขอมก่อนเมืองพระนคร ปราสาทแห่งนี้มีลวดลายของเสาสลักเสร็จเพียงส่วนเดียว ส่วนอื่นๆยังสลักไม่เสร็จ