ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 873 ถึง 880 จาก 884 รายการ, 111 หน้า
ภายในอาสนวิหารเซนต์แอนดรูส์
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมภายในอาสนวิหารเซนต์แอนดรูส์

อาสนวิหารเซนต์แอนดรูส์ เป็นโบสถ์แบบนีโอโกธิคที่มีขนาดใหญ่และสง่างามที่สุดในสิงคโปร์ ภายในประดับด้วยหน้าต่างโค้งแหลมแบบโกธิค ซึ่งบรรยากาศภายในถูกคุมแสงด้วยกระจกสีอันเป็นเทคนิคที่ทำให้บรรยากาศเกิดความศักดิ์สิทธิ์ตามแบบโกธิค ด้านหลังสุดเป็น apse ซึ่งประดับด้วยกระจกสียาวจำนวนสามบานซึ่งเรียกว่า Three Sisters ซึ่งพบเสมอๆทั้งในศิลปะโกธิคแบบอังกฤษและแบบฝรั่งเศส

ภายในอาสนวิหารเซนต์แอนดรูส์
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมภายในอาสนวิหารเซนต์แอนดรูส์

อาสนวิหารเซนต์แอนดรูส์ เป็นโบสถ์แบบนีโอโกธิคที่มีขนาดใหญ่และสง่างามที่สุดในสิงคโปร์ ภายในประดับด้วยหน้าต่างโค้งแหลมแบบโกธิค ซึ่งบรรยากาศภายในถูกคุมแสงด้วยกระจกสีอันเป็นเทคนิคที่ทำให้บรรยากาศเกิดความศักดิ์สิทธิ์ตามแบบโกธิค ด้านหน้าเป็นที่ตั้งของออร์แกนขนาดใหญ่ ตามระบของโบสถ์โกธิคโดยทั่วไป

ชีมส์
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมชีมส์

โบสถ์ชีมส์ สร้างขึ้นในศิลปะนีโอโกธิค หรือสถาปัตยกรรมที่พยายามฟื้นฟูศิลปะโกธิคขึ้นมาใหม่ ซึ่งพบเป็นจำนวนมากในประเทศอาณานิคม ในสิงคโปร์เองยังพบสถาปัตยกรรมแบบนี้ที่อาสนวิหารเซนต์แอนดรูส์อีกด้วย ตัวโบสถ์ประกอบด้วยหอคอยที่มีหลังคาทรงกรวยสูงทางด้านหน้า ด้านหลังเป็นอาคารโบสถ์ในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าปลายมน หน้าต่างแต่ละบานถูกแบ่งออกเป็นสองบานย่อย ยืดสูงและตกแต่งด้วยกระจกสี ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นอิทธิพลของศิลปะแบบโกธิค

สถาบันเซนต์โจเซฟ
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมสถาบันเซนต์โจเซฟ

เป็นอาคารในแผนผังแบบพัลลาเดียนที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในสิงคโปร์ เนื่องจากประกอบไปด้วยมุขกลางซึ่งมีหน้าบันวงโค้ง และมีโดมกลาง ปีกอาคารทั้งสองข้างเป็นวงโค้งอาร์คสลับกับเสาต่อเนื่องกัน โดยวงโค้งอาร์คด้านบนมีการแบ่งเป็นสองช่วงซึ่งทำให้นึกถึงศิลปะโกธิคพอสมควร อย่างไรก็ตาม ลักษณะโดยรวมของอาคารทั้งหมดยังมีองค์ประกอบหลักเป็นแบบคลาสิก

เทวาลัยทมิฬในสิงคโปร์
สิงคโปร์
สถาปัตยกรรมเทวาลัยทมิฬในสิงคโปร์

เทวาลัยแบบทมิฬในสิงคโปร์ มีองค์ประกอบที่ไม่แตกต่างจากเทวาลัยในอินเดียใต้ ซึ่งประกอบด้วยโคปุระที่ซ้อนชั้นวิมานสูง บนยอดวิมานประดับไปด้วยรูปเทพเจ้าจำนวนมาก และด้านบนสุดปรากฏโดมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทรงประทุน ด้านในเป็นเทวาลัยประธานซึ่งใช้ประดิษฐานรูปเทพเจ้า อาคารทุกหลังมียอดซึ่งแตกต่างด้วยสีที่ฉูดฉาด ซึ่งถือเป็นความนิยมของเทวาลัยแบบทมิฬในศิลปะวิชัยนครตอนปลายและนายกในอินเดียใต้ซึ่งสะท้อนมาถึงสิงคโปร์ด้วย

ธาตุ วัดอินแปง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดอินแปง

ธาตุวัดอินแปง เป็นธาตุในผังแปดเหลี่ยม โดยมีส่วนสำคัญอยู่ในทรงดอกบัวเหลี่ยมซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะล้านช้าง ฐานเป็นฐานบัวเข่าพรหมในรูปของ “ขาสิงห์” ซึ่งแสดงความสัมพันธ์กับฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยาตอนกลางและคล้ายคลึงอย่างมากกับส่วนเดียวกันของธาตุที่วัดองค์ตื้อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย

ธาตุ วัดนาคใหญ่
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดนาคใหญ่

เจดีย์วัดนาคใหญ่ ถือเป็นธาตุทรงปราสาทที่งดงามที่สุดในเขตเมืองเวียงจันทน์ มีความคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนาอย่างมาก เรือนธาตุที่เพิ่มมุมไม้ 20 ปรากฏซุ้มทั้งสี่ทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน เหนือเรือนธาตุปรากฏชั้นหลังคารองรับองค์ระฆังในผังเพิ่มมุมไม้ 12 และยอดทรงบัวเหลี่ยม อนึ่ง ธาตุทรงปราสาทองค์นี้อาจสร้างขึ้นในระหว่างรัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาถึงรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิการาชซึ่งเป็นระยะที่ศิลปะล้านช้างยังคงแสดงความใกล้ชิดกับศิลปะล้านนาและอยุธยาอยู่

สิม วัดสีสะเกด
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมสิม วัดสีสะเกด

สิมวัดสีสะเกด เป็นสิมแบบเวียงจันทน์ที่มีหลังคาด้านข้างยกสูง แตกต่างไปจากหลังคาที่เตี้ยเลียบพื้นตามแบบหลวงพระบางและเชียงขวาง โดยรอบปรากฏพาไลซึ่งคล้ายคลึงอย่างมากกับอุโบสถในศิลปะรัตนโกสินทร์หลายแห่ง ซุ้มประตูและหน้าต่างเองก็เป็นทรงมณฑปซึ่งคล้ายคลึงกับอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม การซ้นชั้นของหลังคาที่ชั้นเชิงตามแบบล้านช้าง กระเบื้องที่ไม่เคลือบสีและการปรากฏ “ช่อฟ้า” หรือปราสาทยอดที่กึ่งกลางสันหลังคาล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบล้านช้างเอง