ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 1 ถึง 8 จาก 9 รายการ, 2 หน้า
เนินเขาที่ตั้งของปราสาทเฝื๊อกหล็อก
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมเนินเขาที่ตั้งของปราสาทเฝื๊อกหล็อก

ปราสาทเฝื๊อกหล็อก เป็นปราสาทหลังเดี่ยว ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง ซึ่งถือเป็นทำเลที่ปราสาทสมัยบิญดิ่นนิยม ที่ตั้งดังกล่าวทำให้ปราสาทกลายเป็นจุดโดดเด่น (Landmark)

ปราสาทเฝื๊อกหล็อก
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมปราสาทเฝื๊อกหล็อก

เป็นปราสาทหลังเดี่ยว มีเสาติดผนังจำนวน 5 ต้น เป็นเสาที่ไม่มีร่องและไม่มีลวดลายใดๆ ตรงกลางมีซุ้มจระนำรูปปราสาทที่ตกแต่งด้วยซุ้มใบหอก ด้านบนปราสาทมีชั้นซ้อนตามแบบวิมานแต่ปราสาทมุมได้พังทลายไปหมดแล้ว เสาติดผนังจำนวน 5 ต้นและการไม่ตกแต่งเสาติดผนัง รวมถึงซุ้มทรงใบหอก ทำให้สามารถกำหนดอายุได้ว่าปราสาทหลังนี้อยู่ในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย อนึ่งปราสาทสมัยนี้ยังนิยมตั้งอยู่โดดๆ และมีความสูงเป็นอย่างมาก ทำให้สามารถเห็นได้ในระยะไกล

ปราสาทถูเทียน
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมปราสาทถูเทียน

เป็นปราสาทหลังโดด มีความสูงเป็นอย่างมาก ตั้งอยู่บนพื้นราบ ปราสาทประดับด้วยเสาติดผนังจำนวน 5 ต้นที่ไม่มีร่องและไม่มีลวดลาย ยอดด้านบนซ้อนชั้นด้วยเรือนธาตุจำลองตามแบบวิมาน ที่มุมของชั้นหลังคาปรากฏปราสาทจำลองทรงพุ่ม ซึ่งมีรูปแบบคล้ายคลึงกับปราสาทแก๋งเตียน การที่ปราสาทมีความสูงเป็นอย่างมาก มีเสาติดจำนวน 5 ต้นที่ไม่มีร่องและไม่มีลวดลาย แสดงให้เห็นลักษณะของปราสาทแบบบิญดิ่นตอนปลาย ปราสาทจำลองทรงพุ่มที่มุมของชั้นหลังคาก็ถือเป้นลักษณะเฉพาะของสมัยนี้เช่นเดียวกัน

ปราสาทถาปดอย
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมปราสาทถาปดอย

ปราสาทถาปดอย เป็นปราสาทที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะขอมอย่างมาก ดังที่มีการใช้หินตามแบบขอมแทรกเข้าในอาคารที่ใช้อิฐเป็นวัสดุหลัก นอกจากนี้ ปราสาทยังมีการประดับกลีบขนุน ทำให้ยอดของปราสาทกลายเป็นทรงพุ่มดังที่ปรากฏที่ปราสาทขอมตั้งแต่สมัยนครวัดลงมา นอกจากนี้ การใช้ “ครุฑแบก” แบกที่มุมปราสาทยังเกี่ยวข้องกับศิลปะขอมอีกด้วย เนื่องจากจามตกเป็นเมืองขึ้นของขอมในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอม ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกำหนดอายุปราสาทที่ได้อิทธิพลขอมว่าควรอยู่ในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย

ยอดของปราสาทถาปดอย
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมยอดของปราสาทถาปดอย

ปราสาทถาปดอย เป็นปราสาทที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะขอมอย่างมาก ดังที่มีการใช้หินตามแบบขอมแทรกเข้าในอาคารที่ใช้อิฐเป็นวัสดุหลัก นอกจากนี้ ปราสาทยังมีการประดับกลีบขนุน ทำให้ยอดของปราสาทกลายเป็นทรงพุ่มดังที่ปรากฏที่ปราสาทขอมตั้งแต่สมัยนครวัดลงมา นอกจากนี้ การใช้ “ครุฑแบก” แบกที่มุมปราสาทยังเกี่ยวข้องกับศิลปะขอมอีกด้วย เนื่องจากจามตกเป็นเมืองขึ้นของขอมในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย ร่วมสมัยกับพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ของขอม ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกำหนดอายุปราสาทที่ได้อิทธิพลขอมว่าควรอยู่ในสมัยบิญดิ่นตอนปลาย

ปราสาทแก๋งเตียน
บิ่ญดิน
สถาปัตยกรรมปราสาทแก๋งเตียน

เป็นปราสาทที่มีเสาติดผนังห้าต้น โดยเสาไม่มีร่องและไม่มีลวดลายประดับใดๆ ยกเว้นเสาต้นข้างที่ตกแต่งด้วยหิน อันแสดงอิทธิพลบายน ยอดปราสาทเป็นชั้นวิมานตามแบบจามแท้ อย่างไรก็ตาที่มุมมีการประดับด้วยปราสาทจำลองซึ่งเป็นพุ่มคล้ายถะจีน ปราสาทจำลองที่เป็นพุ่มนี้ปรากฏเช่นกันกับเทวาลัยในระยะเดียวกัน เช่นปราสาททูเทียน เป็นต้น จากเสาติดผนังห้าต้นที่ไม่มีลายประดับ การประดับหินตามอิทธิพลบายน และรูปแบบปราสาทมุมที่เป็นพุ่ม ทำให้กำหนดอายุได้ว่าอยู่ในศิลปะบิญดิ่นตอนปลาย

ปราสาทโพนคร
ญาจาง
สถาปัตยกรรมปราสาทโพนคร

ปราสาทโพนคร เป็นปราสาทในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยมิเซิน A1 และบิญดิ่น ดังจะเห็นได้จากเสาติดผนังจำนวน 5 ต้นที่ยังคงมีร่องเสาอยู่ตามแบบมิเซิน A1 แต่ไม่มีลวดลายแล้ว ส่วนซุ้มกลับเป็นใบหอกตามแบบบิญดิ่น

ที่ตั้งของปราสาทโพนคร
ญาจาง
สถาปัตยกรรมที่ตั้งของปราสาทโพนคร

ปราสาทโพนคร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำที่กำลังออกสู่ทะเล ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญทางภูมิศาสตร์ (Landmark) นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับคติที่เชื่อว่าพระเทวีทรงเกี่ยวข้องกับแม่น้ำและทะเล ซึ่งมีความแบนเหมือนโยนีอีกด้วย