ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน B5
ปราสาทมิเซิน B5 เป็นปราสาทมิเซินกลุ่ม B เพียงหลังเดียวที่ยังมียอดครบสมบูรณ์ เป็นปราสาทที่มีเสาติดผนังจำนวน 5 ต้น โดยสามารถมองเห็นได้เพียงสี่ต้น เนื่องจากเสาต้นกลางถูกซุ้มบดบัง ซึ่งถือเป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอๆในศิลปะมิเซิน A1 ซุ้มมีลักษณะเป็นซุ้มหน้านาง ซึ่งเป็นซุ้มที่สืบต่อมาจากซุ้มแบบดงเดือง แต่กลับเป็นซุ้มตอนเดียว ไม่ได้ปรากฏปีกนกต่อเนื่องกันลงมาซึ่งแตกต่างไปจากซุ้มดงเดือง ภายในซุ้มมักปรากฏเทวดาถือกระบอง ซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นของศิลปะมิเซิน A1
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน C1
ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทประธานของมิเซินกลุ่ม C และเป็นปราสาทประธานเพียงหลังเดียววที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีหลังคาเป็นทรงประทุน (เรียกว่าทรงศาลาในศิลปะอินเดียใต้) เนื่องจากปราสาทมีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำให้ด้านยาวมีเสาติดผนังจำนวนถึง 7 ต้น โดยสามารถมองเห็นได้เพียงหกต้นเท่านั้น เนื่องจากเสาต้นกลางถูกซุ้มบดบัง ซึ่งถือเป็นลักษณะที่ปรากฏเสมอๆในศิลปะมิเซิน A1 ซุ้มมีลักษณะเป็นซุ้มหน้านาง ซึ่งเป็นซุ้มที่สืบต่อมาจากซุ้มแบบดงเดือง แต่กลับเป็นซุ้มตอนเดียว ไม่ได้ปรากฏปีกนกต่อเนื่องกันลงมาซึ่งแตกต่างไปจากซุ้มดงเดือง ภายในซุ้มมักปรากฏเทวดาถือกระบอง ซึ่งเป็นลักษณะที่โดดเด่นของศิลปะมิเซิน A1
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน C1
ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทประธานของมิเซินกลุ่ม C และเป็นปราสาทประธานเพียงหลังเดียวที่มีแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีหลังคาเป็นทรงประทุน (เรียกว่าทรงศาลาในศิลปะอินเดียใต้) ด้านหน้าของปราสาทปรากฏมณฑปซึ่งมียอดเป็นทรงประทุนเช่นเดียวกัน มณฑปมีเสาติดผนังห้าต้น และด้านหน้ามีเกรอบประตูซึ่งสลักจากหิน เสากรอบประตูมีลักษณะเป็นรูปแจกันคว่ำ-หงายสลับกันซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของศิลปะมิเซิน A1
สถาปัตยกรรมรายละเอียดบัวรัดเกล้าของปราสาทมิเซิน C1
ปราสาทมิเซิน C1 เป็นปราสาทในศิลปะมิเซิน A1 ซึ่งมีลักษณะสำคัญคือ การทำร่องของเสาให้ทะลุเลยขึ้นไปถึงบัวหัวเสา บัวหัวเสาในระยะนี้ ประกอบด้วยบัวหงายทั้งบัวหงายนูนและบัวหงายเว้า และมีระบบการซ้อนกันอย่างซับซ้อนกว่าศิลปะในระยะก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ปราสาทมิเซิน C1 ยังสลักไม่เสร็จ บัวหัวเสาจึงยังไม่ได้มีรายละเอียด
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน D
ปราสาทมิเซิน D มีสองหลังสำคัญคือ ปราสาทมิเซิน D1 และปราสาทมิเซิน D2 ทั้งสองหลังเป็นมณฑปภายนอกกำแพงของปราสาทมิเซินกลุ่ม B และ C มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ด้านบนคงสร้างขึ้นด้วยหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องซึ่งไม่หลงเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน ด้านข้างประดับด้วยเสาติดผนัง ซุ้มประติมากรรมสลับกับหน้าต่างที่ประดับด้วยลูกมะหวด
สถาปัตยกรรมปราสาทเขื่องหมี
ปราสาทเป็นปราสาทสามหลังที่อสมมาตรกัน เนื่องจากวางผังให้ปราสาทหลังใหญ่ที่สุดอยู่ด้านข้าง และมีขนาดลดหลั่นไล่เรียงกันลงมา ปราสาทแต่ละหลังมีเสาติดผนังและร่องระหว่างเสาที่มีความแตกต่างกัน ด้านหน้ามีมุขมณฑปซึ่งด้านข้างปรากฏซุ้มจระนำแบบดงเดือง
สถาปัตยกรรมซุ้มของปราสาทเขื่องหมี
ด้านหน้าของปราสาทเขื่องหมีปรากฏมุขมณฑปซึ่งด้านข้างปรากฏซุ้มจระนำแบบดงเดือง เป็นซุ้มแคบๆที่มีพุ่มข้าวบิณฑ์ด้านบนและเป็นซุ้มที่มีปีกนกต่อเนื่องลงมาหลายตอน ภายในซุ้มบรรจุลายขนมจีนแบบพื้นเมืองจนเต็มพื้นที่ ซึ่งทั้งหมดนี้แสดงถึงซุ้มแบบดงเดืองซึ่งคล้ายคลึงกัปบราสาทดงเดืองเช่นกัน จากลักษณะของซุ้มทำให้กำหนดอายุได้ว่าอยู่ในสมัยดงเดือง แต่เสาติดผนังกลับแสดงลักษณะของมิเซิน A1แล้ว
สถาปัตยกรรมเสาติดผนังของปราสาทเขื่องหมี
ผนังของปราสาทเขื่องหมีปรากฏมีการประดับด้วยเสาติดผนังจำนวน 5 ต้น ซึ่งเห็นได้เพียงสี่ต้นเนื่องจากซุ้มจระนำตรงกลางมักบดบังเสาต้นกลางเสมอๆ เสาแต่ละต้นประดับด้วยลวดลายก้านขดออกกนก ซึ่งเป็นลวดลายที่นิยมมากในสมัยมิเซิน A1 การที่ร่องเสาตรงกลางทะลุเลยขึ้นไปถึงบัวหัวเสาก็นิยมในสมัยนี้เช่นเดียวกัน จากสาติดผนังกลับแสดงลักษณะของมิเซิน A1 แต่ลักษณะของซุ้มกลับแสดงถึงศิลปะแบบดงเดืองซึ่งเก่ากว่า