ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 41 ถึง 48 จาก 114 รายการ, 15 หน้า
เจดีย์ปาโตดอจี
อมรปุระ
สถาปัตยกรรมเจดีย์ปาโตดอจี

เจดีย์รองรับด้วยฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมจำนวนสามชั้น แต่ละชั้นมีลวดบัวคล้ายคลึงกับฐานในศิลปะพุกาม เช่นการคาดลูกแก้วสองเส้นซึ่งมีภาพเล่าเรื่องอยู่ตรงกลาง กึ่งกลางฐานมีบันไดขึ้นไปสู่ทางประทักษิณด้านบนซึ่งมีทั้งสามชั้น องค์ระฆังประดับด้วยหน้ากาลคายพวงมาลัย ปล้องไฉนเป็นทรงกรวยสูงรอบรับปลีซึ่งยืดสูงเช่นกัน ลักษณะทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับเจดีย์พุกามมากยกเว้นปล้องไฉนและปลีซึ่งยืดสูงกล่าวศิลปะพุกาม เจดีย์องค์นี้มีความพยายามในการเลียนแบบศิลปะพุกามอย่างมาก ซึ่งถือเป็นแนวโน้มโดยทั่วไปในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล

เจดีย์จอกตอจี
อมรปุระ
สถาปัตยกรรมเจดีย์จอกตอจี

เจดีย์จอกตอจีถือเป็นเจดีย์จำลองอานันทเจดีย์ที่งดงามที่สุดในศิลปะอมรปุระ เจดีย์มียอดศิขระซ้อนด้วยยอดเจดีย์เช่นเดียวกับศิลปะพุกาม นอกจากนี้ยังมีความพยายามในการแบ่งเก็จตามแบบศิขระพุกามอีกด้วย ที่ด้านทั้งสี่ปรากฏมุขยื่นออกมาสี่ทิศและลวดลายหน้าบันที่ประดับด้วยมกรและเคล็กตั้งตรงตามแบบพุกาม อย่างไรก็ตาม รายละเอียดการตกแต่งอื่นๆ กลับแตกต่างไปจากศิลปะพุกามพอสมควร อนี่ง ศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล มีความพยายามในการเลียนแบบศิลปะพุกามอย่างมาก ดังปรากฏในหลายตัวอย่าง แสดงให้เห็นว่าสถาปนิกชาวพม่าในสมัยหลังยกย่องศิลปะพุกามว่าเป็นจุดสูงสุดของศิลปะพม่า

วัดกุโสดอ
มัณฑเลย์
สถาปัตยกรรมวัดกุโสดอ

วัดกุโสดอ ประกอบด้วยเจดีย์ประธานซึ่งจำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวซิกองเมืองพุกาม แวดล้อมไปด้วยเจดีย์ทรงปราสาทขนาดเล็กซึ่งประดิษฐานแผ่นจารึกพระไตรปิฎก เจดีย์เหล่านี้มีการแบ่งกลุ่มตามหมวดของพระไตรปิฎกตั้งแต่พระวินัย พระสูตรและพระอภิธรรม

พระราชวังมัณฑเลย์
มัณฑเลย์
สถาปัตยกรรมพระราชวังมัณฑเลย์

พระราชวังสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนหลัก คือ มเยนานปยาทาด ปราสาทหลักอันเป็นที่ตั้งของราชบัลลังก์ เป็นที่เสด็จออกว่าราชการและทำพระราชพิธี ถัดมาด้านหลังได้แก่พื้นที่ที่ประทับส่วนพระองค์ เช่น พอพระบรรทมเป็นต้น ส่วนด้านหลังเป็นที่อยู่ของพระสนม อนึ่ง อาคารทรงปยาทาดและอาคารทรงสองคอสามชาย ถือเป็นลักษณะสำคัญของอาคารเครื่องไม้ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเลที่แสดงถึงอาคารฐานันดรสูง

วัดชเวนันดอจอ
มัณฑเลย์
สถาปัตยกรรมวัดชเวนันดอจอ

ตำหนักไม้หลังนี้ ประกอบด้วยอาคารในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งแบ่งออกเป็นสองห้อง ห้องด้านหน้าคงใช้สำหรับเสด็จออก ส่วนห้องด้านหลังคงเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ ผนังด้านนอกอาคารมีการประดับด้วยฝาปะกนและประติมากรรมบุคคลขนาดเล็ก ส่วนชั้นหลังคาประดับด้วยปานซอยไม้ที่มีประติมากรรมบุคคลขนาดเล็กประดับอยู่จนเต็ม อาคารเดิมคงปิดทองทั้งหลัง จึงมีชื่อว่า “ชเวนันดอ” ซึ่งแปลว่าพระที่นั่งทอง อนึ่ง อาคารทรงสองคอสามชาย ถือเป็นลักษณะสำคัญของอาคารเครื่องไม้ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเลที่แสดงถึงอาคารฐานันดรสูง

จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ
พุกาม
จิตรกรรมจิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ

อิทธิพลของศิลปะปาละที่สังเกตได้ก็คือ การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก เช่น สีแดง สีเหลือง สีดำและสีขาว ส่วนสีโทนเย็น เช่น สีเขียวแทบไม่ปรากฏ ภายในทางประทักษิณภายในปรากฏซุ้มจระนำซึ่งเคยประดิษฐานพระพุทธรูปมาก่อน ซุ้มจระนำเหล่านี้ขนาบข้างโดยพระโพธิสัตว์ในลัทธิมหายาน โดยพระโพธิสัตว์เหล่านี้แต่งตัวคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงมงกุฎที่มีกระบังหน้าสามตาบ การทรงยัชโญปวีตตวัดเป็นรูปตัว S และการนุ่งผ้านุ่งเป็นริ้ว

พระโพธิสัตว์มัญชุศรี จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ
พุกาม
จิตรกรรมพระโพธิสัตว์มัญชุศรี จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ

อิทธิพลของศิลปะปาละที่สังเกตได้ก็คือ การใช้สีโทนร้อนเป็นหลัก เช่นสีแดง สีเหลือง สีดำและสีขาว ส่วนสีโทนเย็นเช่นสีเขียวแทบไม่ปรากฏ ภายในทางประทักษิณภายในปรากฏซุ้มจระนำซึ่งเคยประดิษฐานพระพุทธรูปมาก่อน ซุ้มจระนำเหล่านี้ขนาบข้างโดยพระโพธิสัตว์ในลัทธิมหายาน โดยพระโพธิสัตว์เหล่านี้แต่งตัวคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมาก เช่น การทรงมงกุฎที่มีกระบังหน้าสามตาบ การทรงยัชโญปวีตตวัดเป็นรูปตัว S และการนุ่งผ้านุ่งเป็นริ้ว

พระพุทธเจ้าและฤาษีประทับในถ้ำ จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ
พุกาม
จิตรกรรมพระพุทธเจ้าและฤาษีประทับในถ้ำ จิตรกรรมในเจดีย์อเพยทนะ

เจดีย์อเพยทนะ สร้างขึ้นโดยพระนางอภัยรัตนา พระมเหสีในพระเจ้าจันสิตถาในพุทธศตวรรษที่ 17 ภายในปรากฏจิตรกรรมซึ่งคล้ายคลึงกับศิลปะปาละอย่างมากและมีแนวโน้มไปทางพุทธศาสนามหายาน