ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่วัดมโนรม
พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างช่วงต้น มีความใกล้ชิดกับศิลปะสุโขทัยอย่างมาก เช่น มีพระพักตร์รูปไข่ พระเกศาขมวดใหญ่ มีพระรัศมีเป็นเปลวไฟ พระเนตรเหลือบต่ำ พระอังสาใหญ่ ชายสังฆาฏิเป็นเส้นเล็กยาวลงมาจรดพระนาภี
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่วัดแสน
พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างระยะหลัง อิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ล้านนาได้คลี่คลายเป็นพื้นเมืองล้านช้างมากขึ้น
ประติมากรรมพระพุทธรูปที่วัดศรีบุญเรือง
พระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างระยะหลัง อิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ล้านนาได้คลี่คลายเป็นพื้นเมืองล้านช้างมากขึ้น รัศมีเป็นเปลวไฟตามแบบสุโขทัยยังคงปรากฏอยู่ แต่เม็ดพระศกกลับเล็กลงและแหลมคม มีไรพระศก เครื่องประกอบพระพักตร์ เช่น พระเนตร มีความเป็นพื้นเมืองมากขึ้น เช่น ดูชี้ขึ้น พระนาสิกใหญ่ ไม่ได้อ่อนหวานเท่าพระพักตร์แบบสุโขทัย
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดอินแปง
ธาตุวัดอินแปง เป็นธาตุในผังแปดเหลี่ยม โดยมีส่วนสำคัญอยู่ในทรงดอกบัวเหลี่ยมซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะล้านช้าง ฐานเป็นฐานบัวเข่าพรหมในรูปของ “ขาสิงห์” ซึ่งแสดงความสัมพันธ์กับฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยาตอนกลางและคล้ายคลึงอย่างมากกับส่วนเดียวกันของธาตุที่วัดองค์ตื้อ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
สถาปัตยกรรมธาตุ วัดนาคใหญ่
เจดีย์วัดนาคใหญ่ ถือเป็นธาตุทรงปราสาทที่งดงามที่สุดในเขตเมืองเวียงจันทน์ มีความคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนาอย่างมาก เรือนธาตุที่เพิ่มมุมไม้ 20 ปรากฏซุ้มทั้งสี่ทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน เหนือเรือนธาตุปรากฏชั้นหลังคารองรับองค์ระฆังในผังเพิ่มมุมไม้ 12 และยอดทรงบัวเหลี่ยม อนึ่ง ธาตุทรงปราสาทองค์นี้อาจสร้างขึ้นในระหว่างรัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาถึงรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิการาชซึ่งเป็นระยะที่ศิลปะล้านช้างยังคงแสดงความใกล้ชิดกับศิลปะล้านนาและอยุธยาอยู่
สถาปัตยกรรมสิม วัดสีสะเกด
สิมวัดสีสะเกด เป็นสิมแบบเวียงจันทน์ที่มีหลังคาด้านข้างยกสูง แตกต่างไปจากหลังคาที่เตี้ยเลียบพื้นตามแบบหลวงพระบางและเชียงขวาง โดยรอบปรากฏพาไลซึ่งคล้ายคลึงอย่างมากกับอุโบสถในศิลปะรัตนโกสินทร์หลายแห่ง ซุ้มประตูและหน้าต่างเองก็เป็นทรงมณฑปซึ่งคล้ายคลึงกับอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม การซ้นชั้นของหลังคาที่ชั้นเชิงตามแบบล้านช้าง กระเบื้องที่ไม่เคลือบสีและการปรากฏ “ช่อฟ้า” หรือปราสาทยอดที่กึ่งกลางสันหลังคาล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบล้านช้างเอง
สถาปัตยกรรมหอไตร วัดสีสะเกด
หอไตรวัดสีสะเกด เป็นหอไตรที่มีหลังคาทรงมณฑป (หลังคาลาดซ้อนชั้นประดับหน้าบันขนาดเล็ก) คล้ายคลึงอย่างมากกับหอไตรที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในกรุงเทพ อย่างไรก็ตาม การซ้อนชั้นของหลังคาที่ชั้นเชิงตามแบบล้านช้างและกระเบื้องที่ไม่เคลือบสีล้วนแต่เป็นเอกลักษณ์ตามแบบล้านช้างเอง ภายในเป็นที่ตั้งของตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่ลงรักปิดทอง
สถาปัตยกรรมธาตุดำ
ที่น่าประหลาดก็คือ ธาตุฝุ่นเป็นเจดีย์เพียงแห่งเดียวในแถบนี้ที่พยายามจำลองเจดีย์แบบมอญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบของฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมจำนวนมาก เป็นฐานลาดเอียงรองรับองค์ระฆังที่ไม่มีบัลลังก์นั้น ล้วนแค่เป็นรูปแบบสำคัญของเจดีย์มอญในประเทศพม่า