ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ด้านข้างทั้งสองของฐานศิวลึงค์จากปราสาทมิเซิน E ปรากฏซุ้มจระนำสองข้าง ซุ้มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายนาคม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน
ประติมากรรมรายละเอียดของฐานสลักหินจากปราสาทมิเซิน E
ด้านข้างทั้งสองของฐานศิวลึงค์จากปราสาทมิเซิน E ปรากฏซุ้มจระนำสองข้าง ซุ้มนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกูฑุหรือจันทรศาลาในศิลปะอินเดียอย่างมาก กล่าคือเป็นซุ้มเรียบ วงโค้งเตี้ย ที่ปลาประดับมกรหันออก อย่างไรก็ตาม ศิลปะจามได้เพิ่มลายนาคม้วนเข้าด้วย ทำให้ซุ้มมีทั้งม้วนเข้าและม้วนออกไปพร้อมกัน
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน D
ปราสาทมิเซิน D มีสองหลังสำคัญคือ ปราสาทมิเซิน D1 และปราสาทมิเซิน D2 ทั้งสองหลังเป็นมณฑปภายนอกกำแพงของปราสาทมิเซินกลุ่ม B และ C มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ด้านบนคงสร้างขึ้นด้วยหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องซึ่งไม่หลงเหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน ด้านข้างประดับด้วยเสาติดผนัง ซุ้มประติมากรรมสลับกับหน้าต่างที่ประดับด้วยลูกมะหวด
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน B1
ปราสาทมิเซิน B1 เป็นปราสาทเพียงหลังเดียวในศิลปะจามที่สร้างขึ้นด้วยหินทั้งหลัง เนื่องจากโดยปกติแล้วศิลปะจามมักสร้างปราสาทด้วยอิฐเสมอ ฐานของปราสาทแห่งนี้ยังคงหลงเหลือลวดบัวซึ่งประดับด้วยปราสาทจำลอง
สถาปัตยกรรมปราสาทมิเซิน F
ปราสาทมิเซิน F เป็นปราสาทที่เก่าแก่ที่สุดหลังหนึ่งในกลุ่มโบราณสถานที่มิเซิน ลวดลายที่ประดับปราสาทมีความคล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิละขอมสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างมาก ทำให้สามารถกำหนดอายุได้ว่าอาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13
สถาปัตยกรรมรายละเอียดฐานปราสาทมิเซิน F
ฐานของปราสาทมิเซิน F มีลวดลายที่คล้ายคลึงกับศิลปะอินเดียและศิลปะขอมสมัยก่อนเมืองพระนครอย่างมาก อันได้แก่ลายบุคคลเหาะในช่อง และภาพลูกกรงหรือเวทิกา ซึ่งทำให้สามารถกำหนดอายุได้ว่าอาจมีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 13
สถาปัตยกรรมปราสาทบั่งอาน
ปราสาทบั่งอาน มีความพิเศษคือเป็นปราสาทแปดเหลี่ยมเพียงหลังเดียวในศิลปะจาม โดยแต่ละด้านของเรือนธาตุไม่มีการประดับซุ้มจระนำแต่อย่างใด รวมถึงไม่มีการแบ่งยอดออกเป็นชั้นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้แตกต่างอย่างมากไปจากปราสาทจามโดยปกติ
สถาปัตยกรรมปราสาทดงเดือง
ปราสาทดงเดือง ประกอบด้วยเสาติดผนัง 4 ต้นเช่นเดียวกับปราสาทหัวล่าย อย่างไรก็ตาม ในสมัยนี้ ร่องเสาได้กลายเป็นร่องแคบๆ ซึ่งทำให้ลวดลายต้องออกมาสลักที่ขอบนอกของเสา ส่วนด้านล่างของเสาแต่ละต้นปรากฏซุ้มโคนเสา.ซึ่งปรากฏเช่นกันในศิลปะขอมก่อนเมืองพระนคร ปราสาทแห่งนี้มีลวดลายของเสาสลักเสร็จเพียงส่วนเดียว ส่วนอื่นๆยังสลักไม่เสร็จ