ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประติมากรรมทับหลัง
ทับหลัง เป็นชิ้นส่วนของสถาปัตยกรรมที่พบในศิลปะเขมร โดยจะติดตั้งอยู่บนกรอบประตูทางเข้าเสมอ ทับหลังแบบศิลปะสมโบร์ไพรกุก จะมีปรากฏการทำมกรหันหน้าเข้าคายตัววยาล และคายวงโค้งสี่วงที่ปลายทับหลังทั้งสองข้าง ตัวมกรยืนอยู่บนแท่นและมีบุคคลขี่อยู่ ตรงกลางทับหลังปรากฏการทำเหรียญสามวงคั่นระหว่างวงโค้ง ภายในเหรียญปรากฏการทำประติมากรรมบุคคลกลางเหรียญ ด้านบนวงโค้งปรากฏลายใบไม้ตั้งขึ้น ด้านล่างวงโค้งทำลายพวงมาลัย พวงอุบะ
ประติมากรรมภาพสลักรูปปราสาท บนผนังที่ปราสาทสมโบร์ไพรกุก
เป็นปราสาทที่สร้างจากอิฐ อยู่ในผังสี่เหลี่ยม มีเสาติดผนังที่มุมของเรือนธาตุ มีทางเข้าทางเดียว อีกทั้งสามทางเป็นประตูหลอก หลังคาทำเป็นเรือนธาตุจำลองซ้อนชั้นตามแบบวิมานของอินเดียใต้ ปราสาทตั้งอยู่บนพื้นราบ ไม่มีการทำฐานซ้อนชั้น
ประติมากรรมทับหลัง
ทับหลังในภาพ เป็นรูปแบบของทับหลังในศิลปะไพรกเมงที่จะคลี่คลายไปสู่แบบศิลปะกำพงพระ โดยมีการทำเส้นวงโค้งเป็นเส้นตรงเพียงเส้นเดียว กลางทับหลัง และปรากฏเหรียญอยู่กลางเส้นวงโค้ง ตามรูปแบบของศิลปะไพรกเมง แต่อย่างไรก็ตามตัวเหรียญได้ปรับเปลี่ยนเป็นลักษณะของลายใบไม้ซึ่งเหมือนกับปลายของทับหลังทั้งสองด้านปรากฏเป็นลายใบไม้ขนาดใหญ่ซึ่งต่อมาลายใบไม้ดังกล่าวจะเป็นที่นิยมในศิลปะกำพงพระ
ประติมากรรมปราสาทประธาน : ปราสาทบันทายสรี
ปราสาทบันทายสรีเป็นปราสาทบนพื้นราบที่เรียงกันสามหลัง หลังกลางอุทิศให้กับพระศิวะ ส่วนหลังข้างนั้น แม้ว่าจะไม่ปรากฏจารึกว่าสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้ใคร แต่อาจเป็นไปได้ว่าอุทิศหับพระเทวีสององค์ของพระศิวะ คือพระอุมากับพระคงคา เนื่องจากทวารบาลของปราสาททั้งสองหลังล้วนแต่เป็นนางอัปสรทั้งสิ้นปราสาททั้งสามหลังมีลักษณะตามแบบศิลปะพระนครตอนปลายโดยทั่วไปท่สร้างด้วยหิน อย่างไรก็ตามปราสาทยังคงเว้นประตูสามด้านไว้เป็นประตูหลอก ด้านบนของชั้นวิมานยังคงประดับด้วยปราสาทจำลองซึ่งแตกต่างไปจากปราสาทในศิลปะนครวัดที่ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นกลีบขนุน
ประติมากรรมหอคอยมัสยิดกำปงฮูลู
หอคอยมัสยิดกำปงฮูลู มีลักษณะพิเศษและน่าสนใจ เนื่องจากเป็นหอคอยที่จำลองแบบมาจากประภาคาร เป็นหอคอยในผังแปดเหลี่ยมทรงสอบซึ่งมีอาคารอยู่ด้านบน แตกต่างไปหอคอยของมัสยิดกำปงกลิงที่เป็นหอคอยแบบถะจีน อนึ่งการใช้ประภาคารมาเป็นหอคอยมัสยิดนั้นแสดงอิทธิพลแบบตะวันตกที่ถูกประยุกต์ใช้ในเอเชียอาคเนย์ พบอีกที่หนึ่งคือหอคอยของมัสยิดมลายูที่เมืองปีนัง
ประติมากรรมภาพวาดจำลองเจดีย์จอกตอจี
ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล หรือสมัยคองบองตอนปลาย ปรากฏแนวความคิดเรื่องสัจนิยมมากขึ้นเนื่องด้วยอิทธิพลตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จิตรกรรมการเขียนจำลองภาพเจดีย์จอกตอจีเองจึงถูกเขียนขึ้นเพื่อบ่งบอกว่าเป็นภาพเมืองอมรปุระเอง นอกจากนี้การเขียนแสงเงาอย่างสมจริง รวมถึงทิวทัศน์ด้านหลังที่มีระยะใกล้-ไกลตามหลักทัศนียวิทยา ก็แสดงการเปลี่ยนแปลงในด้านความคิดของจิตรกรในระยะนี้เช่นกัน
ประติมากรรมต้นไม้กระจกประดับสีด้านหลังสิมวัดเชียงทอง
การประดับกระจกบนผนัง ดูเหมือนว่าจะเป้นความนิยมในการตกแต่งผนัง “ภายนอกอาคาร” ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งแบบนี้ปรากฏกับอาคารหลายหลังที่วัดเชียงทอง อนึ่ง กระจกนอกจากให้ความแวววาวเมื่อต้องแสงแดดแล้ว ยังคงทนต่อสภาพอากาศกว่าการเขียนจิตรกรรมหรือลายคำอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เทคนิคดังกล่าวจึงมักใช้กับการตกแต่งภายนอกอาคาร
ประติมากรรมเจดีย์จุฬามณี ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง
ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่ 25 การตกแต่งลายคำได้รับความนิยมอย่างมาก โดยส่วนมากมักประดับภายในอาคาร โดยผนังด้านหน้าวัดเชียงทอง มีการประดับภาพ “เหล่าเทวดากำลังบูชาพระเจดีย์จุฬามณี” อันงดงามมาก