ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 433 ถึง 440 จาก 471 รายการ, 59 หน้า
มัสยิดกำปงฮูลู
มะละกา
สถาปัตยกรรมมัสยิดกำปงฮูลู

อาคารมัสยิดแบบเอเชียอาคเนย์ มีลักษณะแตกต่างไปจากแบบอินเดียหรือเปอร์เซียมาก คืออยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในมีเสาสี่ต้นรองรับหลังคาลาดจำนวนมากซึ่งเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ไม่มีโดม ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือมัสยิดเป็นมัสยิดที่ผสมผสานกันระหว่างศิลปะมาเลเซียกับอิทธิพลจีนดังจะเห็นได้จากหลังคาที่งอนขึ้น กระเบื้องเคลือบจีนก็ถูกใช้ในการตกแต่งมัสยิดในจุดต่างๆ เช่นการมุงหลังคา

มัสยิดสุลต่านอบูบักร์
ยะโฮร์บาห์รู
สถาปัตยกรรมมัสยิดสุลต่านอบูบักร์

สถาปัตยกรรมที่นี่มีความเกี่ยวข้องกับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมอังกฤษแบบวิคตอเรียนอย่างมาก ทางเข้าทั้งสามทิศปรากฏหอคอยซึ่งจำลองแบบมาจากหอนาฬิกาในศิลปะอังกฤษ ตัวแผงด้านหน้าเองก็ใช้องค์ประกอบแบบคลาสิกประดับทั้งหมด โดยแทบจะไม่มีองค์ประกอบแบบอินเดียหรือแบบมัวร์เข้ามาปะปนเลย ซึ่งแตกต่างไปจากมัสยิดโดยทั่วไปในสมัยอาณานิคม

โบสถ์ซานเซบาสเตียน
มะนิลา
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานเซบาสเตียน

โบสถ์ซานเซบาสเตียน มะนิลา ถือเป็นโบสถ์เพียงไม่กี่แห่งในกรุงมะนิลาที่สร้างขึ้นตามแบบโกธิค ภายในเป็นโบสถ์ทีมีความสูงโปร่งและมีเสาที่ผอมบางอันเป็นการเลียนแบบศิลปะโกธิคตอนปลาย หลังคาเองก็ปรากฏ “สัน” (rib) ตัดกันจำนวนมากซึ่งเป็นการเลียนแบบศิลปะโกธิคตอนปลาย หน้าต่างของโบสถ์แห่งนี้ประดับด้วยกระจกสี ทำให้ภายในโบสถ์ค่อนข้างมืดอันเป็นเทคนิคการจำกัดแสตามแบบโกธิค

แท่นบูชาภายในโบสถ์ซานเซบาสเตียน
มะนิลา
สถาปัตยกรรมแท่นบูชาภายในโบสถ์ซานเซบาสเตียน

โบสถ์ซานเซบาสเตียน มะนิลา ถือเป็นโบสถ์เพียงไม่กี่แห่งในกรุงมะนิลาที่สร้างขึ้นตามแบบโกธิค แท่นบูชาภายในเป็นประกอบด้วยยอดหอคอยแหลมและกรอบซุ้มโค้งแหลมแบบโกธิค ผนังด้านหลังปรากฏหน้าต่างรูปดอกกุหลาบซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมแบบโกธิคเช่นกัน

โบสถ์ซานโตนีโญ่
มะนิลา
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานโตนีโญ่

โบสถ์ซานโตนีโญ ถือเป็นโบสถ์ที่แสดงความเป็นโบสถ์แบบคลาสิกได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งในมะนิลา เนื่องจากโบสถ์ประกอบด้วยหน้าบันสามเหลี่ยม รองรับด้วยเสาติดผนังแบบไอโอนิก และแผงด้านหน้าโบสถ์ท่แบ่งออกเป็นสองชั้น แต่ละชั้นเป็นซุ้มจั่วสามเหลี่ยมสลกับกับอาร์รคโค้ง

โบสถ์ซานตามาเรีย
ซานตามาเรีย
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานตามาเรีย

โบสถ์แห่งเมือง Santa Maria มีผนังด้านหน้าตามแบบบารอค โดย façade ขนาบด้วยหอคอยสองด้านและเสาอีกสองต้น แบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วน ด้านบนปรากฏหน้าบันแบบบารอคที่ใช้หน้าบันวงโค้งตรงกลางขนาบด้วยหน้าบันโค้งเว้า ทางด้านข้างซึ่งทำให้หน้าบันด้านบนมีความลื่นไหลแตกต่างไปจากแบบคลาสิก ที่ปลายสุดซึ่งตรงกับหอคอยขนาบข้างนั้นปรากฏการประดับถ้วยรางวัล ซึ่งทั้งหมดนี้ถือเป็นองค์ประกอบแบบบารอค ด้านข้างของโบสถ์นั้นถูกค้ำยันด้วย buttress ที่หนาหนัก อันเป็นการทำให้ผนังด้านข้างของโบสถ์ทนต่อแผ่นดินไหวอันรุนแรงของฟิลิปปินส์

อาสนวิหารเมืองวีกัน
วีกัน
สถาปัตยกรรมอาสนวิหารเมืองวีกัน

แผงด้านหน้าของอาสนวิหารเมืองวีกันมีลักษณะเป็นแบบคลาสิกกล่าวคือ ตรงกลางประกอบด้วยหน้าบันสามเหลี่ยม pediment รองรับด้วยเสาไอโอนิคในชั้นบนและดอริคในชั้นล่าง ส่วนขื่อที่อยู่ระหว่างชั้นล่างและชั้นบนนั้นแสดงลวดบัวตามระเบียบ entablature แบบคาสิกอย่างชัดเจน ซุ้มโค้งตรงกลางปรากฏรูปเซนต์ปอลขี่ม้า และด้านบนหน้าบันปรากฏสัญลักษณ์ของเซนต์ปอล คือ ดาบและใบปาล์มอันเป็นสัญลักษณ์ของมรณสักขี (martyrdom ) แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นแบบคลาสิก แต่ก็ยังสามารถสังเกตองค์ประกอบเล็กน้อยที่ออกแบบตามแบบบารอกและตามแบบจีนได้ เช่นการประดับถ้วยรางวัล (trophy) และการนำเอาสิงโตหินแบบจีนมาประดับ

หอระฆัง :อาสนวิหารเมืองวีกัน
วีกัน
สถาปัตยกรรมหอระฆัง :อาสนวิหารเมืองวีกัน

หอระฆังของอาสนวิหารเมืองวีกันมีลักษณะเป็นหอระฆังในสกุลช่างวีกัน กล่าวคือ เป็นหอคอยในผังแปดเหลี่ยม ซ้อนกันขึ้นไปหลายชั้น แต่ละชั้นมีองค์ประกอบแบบคลาสิก เช่น อาร์คโค้งและเสาติดผนัง ส่วนด้านบนสุดปรากฏโดม หอคอยแบบแปดเหลี่ยมนี้แตกต่างไปจากสกุลช่าเมืองโลวากที่นิยมหอคอยสี่เหลี่ยมมากกว่า อนึ่ง ในสกุลช่างวีกันและโลวาก หอคอยย่อมตั้งอยู่แยกจากตัวโบสถ์เสมอ เนื่องจากเกรงว่าหอระฆังอาจล้มทับตัวโบสถ์หากเกิดแผ่นดินไหว