ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 409 ถึง 416 จาก 471 รายการ, 59 หน้า
โบสถ์เซนต์จอร์จ
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมโบสถ์เซนต์จอร์จ

ตัวโบสถ์สร้างขึ้นโดยใช้องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมแบบคลาสิก เช่น หน้าบันสามเหลี่ยม เสาดอกริก เป็นต้น โดนมีแผนผังที่วางอย่างสมมาตร รูปแบบของโบสถ์แห่งนี้คล้ายคลึงอย่างมากกับโบสถ์เซนต์จอร์จที่เมืองเจนไนในประเทศอินเดีย

อาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมอาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง

อาคารพิพิธภัณฑ์ปีนัง เป็นอาคารในสมัยอาณานิคมที่น่าสนใจในแง่ของการผสมผสานระหว่างแบบคลาสิกและแบบบารอค แผนผังอาคารเป็นแบบ Palladian ซึ่งเป็นแผนผังทีนิยมสำหรับสถานที่ราชการในสมัยนี้ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารล้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเสาดอริคและโครินเธียนมารองรับอาร์คโค้งที่วางต่อเนื่องกันแบบ loggia อย่างไรก็ตาม หน้าบันกลางกลับอยู่ในรูปของหน้าบันบารอคซึ่งน่าสนใจว่าพบอาคารในลักษณะผสมผสานเช่นนี้ หลายหลังในมาเลเซีย เช่น เมืองไตปิง

หอนาฬิกาเมืองปีนัง
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมหอนาฬิกาเมืองปีนัง

หอคอยแห่งนี้สร้างขึ้นโดยปะปนกันระหว่างศิลปะมัวร์ของสเปนกับศิลปะโมกุล ซึ่งถือเป็นลักษณะปกติของศิลปะสมัยอาณานิคมอังกฤษ ด้านล่างอยู่ในผังแปดเหลี่ยมมีลวดลายประดับตามแบบอินเดีย ถัดขึ้นมาเป็นเป็นหอคอยสี่เหลี่ยมมีอาร์คแบบวงโค้งเกือกม้าตามแบบสเปน ถัดขึ้นไปด้านบนเป็นฉัตรีในผังแปดเหลี่ยมแบบอินเดีย

นากอร์ดารการห์
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมนากอร์ดารการห์

แผนผังของหลุมศพจำลองมีลักษณะเป็นแบบครรภคฤหะ ทางประทักษิณภายในและมณฑปซึ่งแสงการหยิบยืมแผนผังอาคารแบบฮินดูมาใช้ หอคอยปลอมมีลักษณะซ้อนกันเป็นชั้นๆในผังสี่เหลี่ยม ซึ่งคล้ายคลึงกับ Nagore Dagarh ที่ประเทศอินเดีย อันแสดงให้เห็นการจำลองแบบมา ด้านบนโดมมีกลีบดอกไม้คว่ำอยู่ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโดมแบบอินเดียเช่นกัน

อาคารแบบตะวันตกในเมืองปีนัง
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมอาคารแบบตะวันตกในเมืองปีนัง

อาคารสมัยอาณานิคมในเมืองปีนัง มีเป็นจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ออกแบบให้เป็นสถานที่ราชการ อาคารในเมืองนี้ความน่าสนใจในแง่ของการผสมผสานระหว่างแบบคลาสิกและแบบบารอค แผนผังอาคารเป็นแบบ Palladian ซึ่งเป็นแผนผังทีนิยมสำหรับสถานที่ราชการในสมัยนี้ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาคารล้วนแต่เป็นแบบคลาสิก ซึ่งเสาดอริคและโครินเธียนมารองรับอาร์คโค้งที่วางต่อเนื่องกันแบบ loggia อย่างไรก็ตาม หน้าบันวงโค้งกลับมีการใช้ volute ประดับด้านหลังแบบบารอค เป็นต้น

ห้องแถวปีนัง
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมห้องแถวปีนัง

ห้องแถวในพุทธศตวรรษที่ 25 เป็นบ้านที่พักอาศัยรวมถึงอาจใช้เป็นอาคารพาณิชย์ได้ในบางหลัง ย่อมประกอบด้วย 2 ชั้นเสมอ ชั้นล่างมักเปิดพื้นที่ว่างด้านหน้าให้สำหรับผู้คนได้เดิน ซึ่งเรียกว่า “Arcade” ด้านหน้ามีประตูและหน้าต่าง ส่วนด้านบนเป็นหน้าต่างบานเฟี้ยมจำนวนสามบาน อาคารแบบนี้เป็นส่วนผสมกันระหว่างอิทธิพลจีนและอิทธิพลตะวันตก ซึ่งแตกต่างไปจากอาคารสถานที่ราชการที่ชาวอังกฤษเป็นผู้สร้างที่มักเป็นศิลปะตะวันตกอย่างแท้จริงโดยไม่มีอิทธิพลจีนเข้ามาผสม นักวิชาการบางท่านเรียกอาคารห้องแถวในพุทธศตวรรษที่ 25 ว่า ห้องแถวแบบ Shino-Portuguese

หอนาฬิกาเบริช
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมหอนาฬิกาเบริช

หอคอยนั้นประกอบไปด้วยนาฬิกาและหอระฆังซ้อนกันสองชั้น องค์ประกอบของหาคอยมีลักษณะตามแบบตะวันตก กล่าวคือ ประกอบด้วยหอระฆังที่มีเสาดอริคและอาร์คโค้ง อาคารอยู่ในผังลบมุมอันต่อไปไปถึงลายก้นหอย (Volute) ด้านบนซึ่งเป็นลวดลายที่นิยมมากในศิลปะบารอค อนึ่ง ที่ด้านทั้งสี่ของอาคาร บริเวณจุดลบมุม ประดับไปด้วยรูปบุคลาธิษฐาน ซึ่งมีลักษณะตามอย่างศิลปะตะวันตกที่นิยมประดับสถาปัตยกรรมด้วยรูปบุคลาธิษฐานเช่นนี้

ศาลาว่าการเมืองอิโปห์
อิโปห์
สถาปัตยกรรมศาลาว่าการเมืองอิโปห์

เค้าโครงของอาคารแห่งนี้มีผังแบบ Palladian คือมีมุขยื่นออกมาและมีการชัดปีกอาคารให้อื่นออกไปทั้งสองด้านอย่างสมมาตร เนื่องจากแผนผังแบบนี้ดูมีเหตุผล เหมาะสมกับสถานที่ราชการ องค์ประกอบรวมของอาคารก็เป็นแบบ Classic เช่นการประดับ pediment รูปสามเหลี่ยม อาร์คโค้งและเสาดอริค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาคารแห่งนี้มีการออกแบบให้ดูแปลกตาออกไปด้วยการ ทำเป็นมุขยื่นออกมาด้านข้างในแนวเฉียง ซึ่งถือเป็นลูกเล่นที่ทำให้อาคารแห่งนี้น่าสนใจ