ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 393 ถึง 400 จาก 471 รายการ, 59 หน้า
มหาธาตุ
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมมหาธาตุ

เจดีย์องค์นี้ประกอบด้วยฐานบัวขนาดใหญ่ด้านล่างซึ่งมีลวดบัวแบบล้านนา คือ เป็น.ฐานบัวสองชั้นที่มีท้องไม้คั่นกลาง แต่กลับไม่เพิ่มมุมใดๆ ฐานดังกล่าวรองรับเรือนธาตุในผังเพิ่มมุม ถัดเป็นปรากฏหลังคาลาด ชั้นซ้อนซึ่งมีเค้าโครงคล้ายบัวถลาในผังแปดเหลี่ยม และองค์ระฆังขนาดเล็ก เค้าโครงของเจดีย์องค์นี้ดูคล้ายกับเจดีย์ทรงปราสาทยอดในศิลปะล้านนาในครึ่ง หลังพุทธศตวรรษที่ 21 อย่างมาก เช่น เจดีย์วัดโลกโมฬี เชียงใหม่ ซึ่งสร้างเพื่อบรรจุพระอัฐิของโดยพระเมืองเกศเกล้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายละเอียดของเจดีย์องค์นี้แตกต่างพอสมควรไปจากเจดีย์ล้านนา ซึ่งความแตกต่างดังกล่าวอาจแสดงให้เห็นว่าเจดีย์องค์นี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ในระยะหลังด้วย

ธาตุวัดแสน
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมธาตุวัดแสน

เจดีย์องค์นี้มีลักษณะเป็นเจดีย์แบบล้านช้างอย่างแท้จริง กล่าวคือ ประกอบด้วยฐานบัวเข่าพรหมที่มีกาบเท้าสิงห์เป็นวงโค้งต่อเนื่องกัน อันสืบมาจากฐานสิงห์ในศิลปะอยุธยาตอนกลาง ลวดบัวของฐานลดหน้ากระดานบนทิ้ง โนกำหนดให้บัวหงายกับบัวคว่ำประกบกันและตวัดงอนขึ้นเพื่อให้เส้นรอบนอกของฐานมีความลื่นไหลต่อเนื่อง ส่วนกลางเป็นบัวเหลี่ยมที่มีเส้นรอบนอกที่ลื่นไหลเช่นกัน บัวเหลี่ยมนี้ถือเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์หรือธาตุในศิลปะล้านช้าง ปรากฏทั้งในสกุลช่างหลวงพระบางและเวียงจันทน์

ธาตุพูสี
สถาปัตยกรรมธาตุพูสี

เจดีย์องค์นี้มีลักษณะเป็นเจดีย์ที่ใช้ “บัวเหลี่ยม” เป็นส่วนสำคัญตามแบบล้านช้าง อย่างไรก็ดี ฐานที่เป็นฐานบัวท้องไม้กว้างกลับมีความสัมพันธ์กับเจดีย์กลุ่มอิทธิพลล้านนามากกว่า ดังที่ปรากฏที่วัดอาไพและวัดหมื่นนาในเมืองหลวงพระบางเช่นกัน เจดีย์องค์ในผังสี่เหลี่ยมลบมุม ซึ่งถือเป็นแผนผังที่นิยมสำหรับธาตุในศิลปะล้านช้าง

ธาตุวัดสบ
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมธาตุวัดสบ

เจดีย์องค์นี้ได้รับอิทธิพลเจดีย์ทรงเครื่องในศิลปะรัตนโกสินทร์เป็นอย่างมาก โยเฉพาะองค์ระฆังในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมไม้ 12 และบัวคลุ่มเถา อย่างไรก็ตาม เจดีย์องค์นี้กลับเป็นการสร้างรูปแบบใหม่ โยการกำหนดให้เจดีย์ทรงเครื่องแบบรัตนโกสินทร์กลายเป็นยอดของเจดีย์ทรงปราสาท ซึ่งมีเรือนธาตุและมีฐานที่ไม่เหมือนทีเดียวกับเจดีย์ในกรุงเทพ

ธาตุวัดอาไพ
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมธาตุวัดอาไพ

เจดีย์องค์นี้ได้รับอิทธิพลเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะล้านนาอย่างมาก ทั้งฐานบัวที่อยู่ในผัง สี่เหลี่ยมเพิ่มมุมและมีท้องไม้กว้าง ชุดฐานรองรับองค์ระฆังในผังกลมที่ปรับเปลี่ยนมาจากบัวถลาในศิลปะล้านนา ละองค์ระฆังกลมขนาดเล็ก เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เจดีย์องค์นี้คงไม่ได้สร้างขึ้นร่วมสมัยราชวงศ์มังราย แต่คงสร้างขึ้นในภายหลัง คือราวพุทธศตวรรษที่ 24 เนื่องจากเจดีย์มีขนาดเล็กและมีลวดบัวที่ปรับเปลี่ยนไปจากศิลปะล้านนามาก

สิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมสิมวัดเชียงทอง

สิมวัดเชียงทอง ถือเป็นตัวอ่างอาคารในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบางที่สำคัญที่สุด ลักษณะสำคัญของสิมในสกุลช่างนี้ก็คือ แผนผังอยู่ในผังเพิ่มมุมด้านหน้า ซึ่งแผนผนังดังกล่าวอาจทำให้เกิดประตูทั้งด้านหน้าและด้านข้าง หลังคามีกรอบหน้าบันที่อ่อนโค้ง แผ่ลงเกือบจอดพื้น หน้าบันประกอบด้วยม้าต่างไหมและใช้โก่งคิ้วประดับด้านล่างของหน้าบัน สิมแบบหลวงพระบางนี้มีลักษณะหลายประการที่คล้ายคลึงกับอาคารในศิลปะล้านนา

ช่อฟ้าวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมช่อฟ้าวัดเชียงทอง

สิมวัดเชียงทอง ถือเป็นสิมในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบางที่สมบูรณ์ที่สุด บนสันหลังคาปรากฏ “ช่อฟ้า” หรือเขาพระสุเมรุจำลอง อันสื่อให้เห็นว่าสิมเป็นศูนย์กลางจักรวาล ช่อฟ้าประกอบด้วยเขาพระสุเมรุ ล้อมรอบด้วยเสาสัตตบริภัณฑ์จำนวน 7 ลูกซึ่งมีความสูงลดหลั่นกัน ที่ขอบปรากฏเขาจักรวาล ด้านล่างปรากฏปลาอันแทนมหาสมุทร เขาพระสุเมรุในลักษณะนี้ปรากฏในจิตรกรรมเสมอๆ ทั้งในศิลปะพม่าและศิลปะไทย ซึ่งคงจะเป็นต้นแบบให้กับช่อฟ้าในศิลปะล้านช้างนั่นเอง

ซุ้มประตูสิมวัดเชียงทอง
หลวงพระบาง
สถาปัตยกรรมซุ้มประตูสิมวัดเชียงทอง

สิมวัดเชียงทอง ถือเป็นสิมในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบางที่สมบูรณ์ที่สุด การตกแต่งภายในของสิมแห่งนี้ก็งดงามอย่างมาก คือตกแต่งไปด้วยลายคำเต็มพื้นที่ สำหรับผนังด้านหน้าแต่นี้ปรากฏลายคำเป็นรูปเทวดากำลังไหว้เจดีย์ซึงน่าจะหายถึงเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซุ้มประตูของสิมมีลักษณะตามแบบล้านช้าง ซึ่งมีลักษณะหลายประการร่วมกับศิลปะล้านนา คือ เสาซุ้มประดับด้วยลวดลายสามจุด กาบบน-กาบล่าง-ประจำยามอก ยอดปราสาทปรากฏหลังคาลาดขนาดใหญ่ 1 ชั้นซ้อนด้วยชั้นเชิงบาตรขึ้นไปอีกหลายชั้น