ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 
แสดง 241 ถึง 248 จาก 471 รายการ, 59 หน้า
หอพระไตรปิฎก วัดอินแปง
เวียงจันทน์
สถาปัตยกรรมหอพระไตรปิฎก วัดอินแปง

หอระไตรปิฎก วัดอินแปง ถือเป็นหอพระไตรปิฎกแบบล้านช้างอย่างแท้จริงเพียงแห่งเดียวที่เหลือรอดจากการทำลายเมืองเวียงจันทน์ในรัชกาลพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนขนาดเล็กในผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานเป็นบัวเข่าพรหมที่มีลวดบัวแบบลาวอย่างซับซ้อน เรือนธาตุด้านหน้าปรากฏประตู ส่วนที่เหลืออีกสามด้านเป็นหน้าต่างที่มีรายละเอียดอย่างมาก สำหรับภาพนี้เป็นหน้าต่างของหอพระไตรปิฎก ซึ่งมีลักษณะเป็นซุ้มหน้าต่างยอดปราสาท ชั้นหลังคาประกอบด้วยหลังคาลาดขนาดใหญ่ 1 ชั้นและเชิงบาตรซ้อนกันขึ้นไป เค้าโครงของปราสาทมีรูปแบบคล้ายคลึงกับศิลปะล้านนา โดยรอบผนังปรากฏร่องรอยของลายปูนปั้นที่แบ่งเป็นช่องๆ ซึ่งอาจเคยมีภาพเล่าเรื่องมาก่อน ปัจจุบันหลุดร่วงลงเกือบหมด

จันทิเบดังดาลาม
อลอร์สตาร์
สถาปัตยกรรมจันทิเบดังดาลาม

สถาปัตยกรรมของจันทิแห่งนี้ ประกอบด้วยครรภคฤหะและมณฑป ครรภคฤหะมีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่มีประตูทางเข้าเพียงทางเดียว ผนังก่ออิฐ โดยรอบมีร่องรอยของทางประทักษิณที่มีหลุมเสาสำหรับเสียบหลังคาเครื่องไม้ ด้านหน้ามีมณฑปโปร่งซึ่งมีหลุมเสาสำหรับเสียบเสารองรับหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องเช่นเดียวกัน จันทิดังกล่าวแม้จะไม่มีความซับซ้อนนักเมื่อเทียบกับศิลปะชวา แต่ก็สามารถเป็นหลักฐานถึงการเข้าของสถาปัตยกรรมอินเดียและชวาในคาบสมุทรมลายูสมัยโบราณได้เป็นอย่างดี

มัสยิดซาฮีร์
อลอร์สตาร์
สถาปัตยกรรมมัสยิดซาฮีร์

มัสยิดซาฮีร์ เป็นมัสยิดที่ผสมผสานกับระหว่างศิลปกรรมอิสลามหลายสกุล โดยโดมประธานเป็นโดมที่มีกลีบดอกไม้คว่ำอยู่ด้านบนตามแบบศิลปะโมกุลของอินเดีย แต่มีอาร์คที่มีเสากลมเล็กและประกอบด้วยวงโค้งเล็กๆหลายวงตามแบบศิลปะมัวร์ของสเปน การผสมผสานกันระหว่างศิลปะโมกุลและศิลปะมัวร์ดูเหมือนจะเป็นที่นิยมในศิลปะสมัยอาณานิคมอังกฤษที่พยายามเอาลักษณะเด่นของศิลปะอิสลามในพื้นทีต่างๆมาผสมผสานกัน

มัสยิดกปิตันกลิง
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมมัสยิดกปิตันกลิง

มัสยิดกปิตันกลิง เป็นมัสยิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะโมกุลของอินเดียเป็นหลัก ทั้งการจัดวางโดมสามโดมเรียงกัน โดยโดมประธานเป็นโดมที่มีกลีบดอกไม้คว่ำอยู่ด้านบน การใช้แผงด้านหน้า (pishtaq) เป็นรูปอาร์คโค้งในกรอบสี่เหลี่ยม การใช้หอคอยซึ่งมีฉัตรี (Chhatri) ระดับอยู่ด้านบน ทั้งหมดนี้เป็นศิลปะโมกุลที่สถาปนิกอังกฤษได้นำเข้ามาเผยแพร่ในมาเลเซีย เป็นไปได้ที่สถาปนิกผู้ออกแบบมัสยิดพยายามที่จะแสดงความเป็นอินเดียให้มากที่สุดเพื่อให้ตอบรับกับประวัติที่ว่าผู้สร้างมัสยิดคนแรกเป็นชาวอินเดีย

หอคอยของมัสยิดมลายู
จอร์จทาวน์
สถาปัตยกรรมหอคอยของมัสยิดมลายู

มัสยิดแห่งนี้มีหอคอยที่โดดเด่น ซึ่งมีทรงสอบเข้าแลมีระเบียงด้านบนเพียงระเบียงเดียว ลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายประภาคารหรือหอคอยสำหรับการเดินเรือ ประภาคารเป็นวัฒนธรรมแบบอังกฤษที่เข้ามาในมาเลเซียและเป็นแหล่งบันดาลใจให้เกิด “หอคอยมัสยิดแบบประภาคาร” ขึ้นในศิลปะมาเลเซีย นอกจากที่นี่แล้ว มัสยิดกำปงฮูลูที่เมืองมะละกาก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน

โบสถ์ซานออกุสติน
มะนิลา
สถาปัตยกรรมโบสถ์ซานออกุสติน

Façade ของโบสถ์ซานออกุสติน มีองค์ประกอบแบบคลาสิก (Classic) กล่าวคือประกอบด้วย หน้าบันสามเหลี่ยม (Pediment) ที่รองรับด้วยเสาโครินเธียน(ชั้นบน)และไอโอนิก (ชั้นล่าง) อย่างไรก็ตาม ที่หน้าบันสามเหลี่ยมกลับปรากฏหน้าต่างดอกกุหลาบ (Rose window) ซึ่งเป็นองค์ประกอบแบบโกธิค ที่ด้านข้างปรากฏหอระฆังซึ่งเดิมมี 2 หอแต่ปัจจุบันเหลือเพียงหอเดียวเนื่องจากภัยแผ่นดินไหวในศตวรรษที่ 19

ภายในโบสถ์ซานออกุสติน
มะนิลา
สถาปัตยกรรมภายในโบสถ์ซานออกุสติน

ภายในโบสถ์ซานออกุสติน มะนิลา เพดานเป็นวงโค้ง (Tunnel Vault) วาดภาพสถาปัตยกรรมลวงตาบนเพดาน (Trompe l’oeil) จิตรกรรมนี้วาดขึ้นโดยจิตรกรชาวอิตาเลี่ยนจำนวนสองคนใน ค.ศ.1875 ที่ปลายสุดของโบสถ์เป็นแท่นบูชาประดิษฐานเซนต์เจมส์ถือดาบ ซึ่งเป็นนักบุญประจำประเทศสเปน

อาสนวิหารแห่งมะนิลา
มะนิลา
สถาปัตยกรรมอาสนวิหารแห่งมะนิลา

รูปแบบปัจจุบันของอาสนวิหารแห่งมะนิลา มีแผนผังเป็นรูปกากบาทแบบละติน (Latin Cross) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในศิลปะตะวันตกโดยทั่วไป โดยด้านข้างปรากฏปีก (transept) ส่วนด้านหลังปรากฏผนังวงโค้ง (apse) สำหรับหอคอยซึ่งปัจจุบันตั้งติดกับตัวโบสถ์นั้น จากภาพถ่ายเก่าพบว่า ดั้งเดิมแล้ว หอคอยตั้งอยู่แยกจากตัวโบสถ์ โดมของอาสนวิหารแห่งเมืองมะนิลา เป็นโดมแบบคลาสิกโดยทั่วไป กล่าวคือ มีคอโดม (Drum) เป็นรูปแปดเหลี่ยม มีหน้าต่างคู่สลับกับเสาติดผนัง ส่วนตัวโดมเป็นโดมที่มุงหลังคาด้วยทองแดงและมี Lantern อยู่ด้านบน ซึ่งปรากฏเสมอสำหรับโดมทั้งในศิลปะเรอเนสซองส์และนีโอคลาสิก