ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เจดีย์วัดช้างล้อมสุโขทัย
คำสำคัญ : เจดีย์ช้างล้อม, วัดช้างล้อม
ชื่อเรียกอื่น | - |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดช้างล้อมสุโขทัย |
ชื่ออื่น | - |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | เมืองเก่า |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | สุโขทัย |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 17.020071 Long : 99.719418 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 576570.73 N : 1881916.13 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | แกนกลางวัด |
ประวัติการสร้าง | ได้มีการค้นพบจารึกที่วัดแห่งนี้ เรียกว่าจารึกวัดช้างล้อม เนื้อหากล่าวถึงการสร้างวัดแห่งหนึ่งเมื่อ พ.ศ. 1927 โดยพ่อนมไสดำ ซึ่งเชื่อว่าคงหมายถึงวัดช้างล้อมแห่งนี้ พ่อนมไสดำได้ได้อุทิศบ้านและที่ดินของตนให้เป็นวัด ครั้งนั้นได้สร้างถาวรวัตถุต่างๆ มากมาย เช่น พระพุทธปฏิมา กุฏิ หอพระไตรปิฎก ต้นพระศรีมหาโพธิ์ |
---|---|
ประวัติการอนุรักษ์ | ขุดแต่งและบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2507 ที่ฐานเจดีย์เล็กน้อย แต่ไม่แล้วเสร็จ ได้ดำเนินการตามแผนเมื่อ พ.ศ. 2511 โดยขุดลอกดินออกจากฐานเจดีย์ ระเบียงรอบเจดีย์และวิหารหน้า ทำการก่อยึดบนองค์เจดีย์ ยกช้างขึ้นตั้งตามรูปของเดิม แล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2512 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | เจดีย์ประธานวัดช้างล้อมตั้งอยู่กลางเขตพุทธาวาส ก่ออิฐฉาบปูน ล้อมรอบด้วยระเบียงคดโถง ด้านหน้าหรือด้านตะวันออกมีวิหารสี่เหลี่ยมผืนผ้าตั้งอยู่ ส่วนฐานของเจดีย์ประดับด้วยประติมากรรมรูปช้างที่ทำเพียงครึ่งตัวยืนอยู่ภายในซุ้ม ถัดขึ้นไปเป็นชุดฐานเขียงซ่อนลดหลั่นกัน ต่อด้วยบัวถลา 3 ชั้น องค์ระฆัง บัลลังก์ และส่วนยอด |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | 1. วัดช้างล้อมแห่งนี้ปรากฏศักราชการสร้างที่แน่ชัด ว่าสร้างราว พ.ศ. 1927 เป็นต้นมา นับเป็นตัวอย่างสำหรับศึกษาเปรียบเทียบศิลปกรรมสุโขทัยในระยะเวลาเดียวกันนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบและความนิยมเจดีย์ช้างล้อม ตลอดจนแผนผังวัดที่ทำอุโบสถแยกออกมาต่างหากจากส่วนพุทธาวาสอื่น 2. เจดีย์ประธานของวัดเป็นเจดีย์ทรงกลมที่มีช้างล้อมรอบที่ฐาน ซึ่งเป็นรูปแบบที่สัมพันธ์กับลังกาทวีป แสดงให้เห็นว่าวัดนี้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับพุทธศาสนาลังกาวงศ์ที่แพร่หลายเข้ามายังสุโขทัยสมัยนั้น 3.สถานที่แห่งนี้เป็นที่ค้นพบจารึกวัดช้างล้อม พ.ศ. 1927 เป็นจารึกภาษาไทย อักษรไทยสุโขทัย เนื้อหาเกี่ยวกับการออกบวชของพ่อนมไสดำ และการสร้างวัดแห่งนี้ |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | สุโขทัย |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 20 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. เจดีย์วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เพราะสร้างเป็นเจดีย์ช้างล้อมในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกันเหมือนกัน 2. เจดีย์วัดช้างรอบ จังหวัดกำแพงเพชร เพราะสร้างเป็นเจดีย์ช้างล้อมในช่วงระยะเวลาใกล้เคียงกัน 3. เจดีย์รุวัลเวลิเสยะ หรือสุวรรณมาลิกเจดีย์ หรือมหาสถูป สำนักมหาวิหาร ประเทศศรีลังกา เพราะอาจเป็นต้นแบบการทำเจดีย์ช้างล้อมในสมัยสุโขทัย |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-05-26 |
ผู้จัดทำข้อมูล | ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | คณะกรรมการปรับปรุงบูรณะโบราณสถานจังหวัดสุโขทัยและจังหวัดกำแพงเพชร, รายงานการสำรวจและขุดแต่งบูรณะโบราณวัตถุสถานเมืองเก่าสุโขทัย พ.ศ. 2508 – 2512. พระนคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2512. ศักดิ์ชัย สายสิงห์, ศิลปะสุโขทัย : บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึก และศิลปกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2551. ศิลปากร, กรม. ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2531. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. |