ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มณฑปวัดตระพังทองหลาง
คำสำคัญ : มณฑป, วัดตระพังทองหลาง
ชื่อเรียกอื่น | - |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดตระพังทองหลาง |
ชื่ออื่น | - |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | เมืองเก่า |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | สุโขทัย |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 17.01611 Long : 99.718895 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 576516.71 N : 1881477.74 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | แกนกลางวัด |
ประวัติการสร้าง | ไม่ทราบประวัติการสร้างที่แน่ชัด แต่จากการศึกษาลวดลายปูนปั้นที่เคยประดับอยู่ภายในซุ้มประจำด้านเหนือ ตะวันตก และใต้ของมณฑป ทำให้สามารถกำหนดอายุศาสนสถานหลังนี้ไว้ได้ราวพุทธศตวรรษที่ 20 |
---|---|
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79 ตอน 58 วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2505 มีการขุดแต่งเมื่อพ.ศ. 2505 และบูรณะฐานมณฑปแต่ไม่แล้วเสร็จ ได้ดำเนินการตามแผนเมื่อ พ.ศ. 2511 โดยก่อซ่อมฐานมณฑป ก่อยึดผนังตอนบนและหล่อคอนกรีตยึดผนัง ทำการบูรณะวิหาร เจดีย์ราย ฐานโบสถ์ ปรับปรุงบริเวณและขุดลอกคูรอบวัด |
ลักษณะทางศิลปกรรม | มณฑปวัดตระพังทองหลางตั้งอยู่กึ่งกลางวัด เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังคาไม่เหลือร่องรอยแล้ว เชื่อว่าเพราะทำจากเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้อง เมื่อเวลาผ่านไปจึงปรักหักพังลง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน มีทางเข้าอยู่ทางด้านตะวันออก ส่วนด้านเหนือ ตะวันตก และใต้ มีจระนำประดับภาพปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติ ด้านเหนือเป็นตอนโปรดช้างนาฬาคีรี ด้านตะวันตกเป็นตอนแสดงยมกปาฏิหาริย์ ณ เมืองสาวัตถี และด้านใต้เป็นตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้านหน้าของมณฑปมีวิหารสี่เหลี่ยมผืนผ้า เหลือแต่ฐานและแนวเสา เข้าใจว่าคงเป็นวิหารโถง หลังคาคงเป็นเครื่องไม้มุงด้วยกระเบื้องได้หักพังลงหมดแล้ว |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | 1. วัดตระพังทองหลางเป็นวัดขนาดกลางที่เป็นตัวอย่างสำคัญในการศึกษาศิลปกรรมสุโขทัย เป็นหนึ่งในวัดที่ใช้มณฑปเป็นประธานของวัด ด้านหน้าเป็นวิหาร ดังกล่าวนี้อันเป็นรูปแบบหนึ่งของวัดสมัยนี้ สำหรับอุโบสถสร้างแยกออกมาต่างหาก ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งที่นิยมในสมัยสุโขทัยเช่นกัน 2. งานปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติประดับผนังมณฑปเป็นตัวอย่างงานศิลปกรรมที่งดงามที่สุดตัวอย่างหนึ่งในศิลปะสุโขทัย แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันชำรุดลงมากแล้ว |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | สุโขทัย |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 20 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-05-28 |
ผู้จัดทำข้อมูล | ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | มโน กลีบทอง. ลักษณะและรูปแบบของมณฑปสมัยสุโขทัยในบริเวณเมืองเก่าสุโขทัย ต.เมืองเก่า อ.เมือง จ.สุโขทัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, 2529. ศิลปากร, กรม. ทำเนียบโบราณสถานอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2531. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะสุโขทัย. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. |