ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

เจดีย์วัดแก้ว

คำสำคัญ : เจดีย์ทรงปราสาท, วัดแก้ว

ชื่อเรียกอื่น-
ชื่อหลักวัดแก้ว
ชื่ออื่น-
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลเลม็ด
อำเภอไชยา
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ภาคภาคใต้
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 9.378029
Long : 99.190177
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 520881.02
N : 1036652.16
ตำแหน่งงานศิลปะกลางศาสนสถาน

ประวัติการสร้าง

ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด แต่จากรูปแบบทางศิลปกรรมที่หลงเหลืออยู่ทำให้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 13-16 เพราะมีแผนผังที่คล้ายคลึงกันกับจันทิในศิลปะชวาภาคกลางที่สร้างขึ้นในระยะเวลาเดียวกันนี้ นอกจากนี้ยังมีองค์ประกอบบางอย่าง เช่น เสาอิง รูปจำลองอาคารประดับฐาน ที่เทียบได้กับปราสาทในศิลปะจามในระยะนี้เช่นกัน

เจดีย์วัดแก้วคงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เห็นได้จากพระพุทธรูปหินทรายแดงที่ประดิษฐานอยู่ภายในมุขทิศแทนที่รูปเคารพเดิมที่อาจเป็นรูปในคติพุทธศาสนามหายาน
ประวัติการอนุรักษ์

ขึ้นบัญชีโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479

โบราณสถานแห่งนี้มีการขุดแต่งและบูรณะโดยกรมศิลปากรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2519 โดยเริ่มการขุดแต่งบูรณะองค์เจดีย์ทางทิศตะวันออก ต่อมาในปีพ.ศ. 2521 กรมศิลปากรให้มีการขุดแต่งองค์เจดีย์ทั้งหมดจนแล้วเสร็จ การขุดแต่งนี้ยังพบโบราณสถานเพิ่มเติม เช่น แนวกำแพงอิฐทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเจดีย์และซากวิหารทางทิศตะวันตกของเจดีย์
ลักษณะทางศิลปกรรม

เจดีย์วัดแก้วเป็นเจดีย์ทรงปราสาท ส่วนยอดที่หักหายน่าจะเป็นชั้นซ้อนต่อด้วยองค์ระฆัง คล้ายคลึงกับจันทิในศิลปะชวาภาคกลาง และเป็นทำนองเดียวกันกับพระบรมธาตุไชยาแต่ขนาดใหญ่กว่า ก่อด้วยอิฐและฉาบปูน

องค์ประกอบสำคัญประกอบด้วยฐานขนาดใหญ่รองรับองค์เจดีย์ ตัวเจดีย์เป็นทรงปราสาทที่ส่วนยอดพังทลายลงแล้ว หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีแผนผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม กลางด้านทั้งสี่เป็นมุข ฌเบมุขด้านตะวันออกเป็นทางเข้าสู่ห้องครรภคฤหะ ในขณะที่มุขอีก 3 ด้านเป็นห้องประดิษฐานรูปเคารพ เทียบได้กับแผนผังของจันทิในศิลปะชวาภาคกลางหลายแห่ง ผนังของเรือนธาตุยังประดับตกแต่งด้วยเสาอิงหรือเสาหลอกด้วย
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

เจดีย์วัดแก้วเป็นสถาปัตยกรรมสมัยศรีวิชัยที่ใหญ่ที่สุดที่เหลือหลักฐานให้ศึกษาได้ในปัจจุบัน

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะศรีวิชัย
อายุ พุทธศตวรรษที่ 13-15
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนา (เมื่อแรกสร้างน่าจะเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนามหายาน แต่ภายหลังได้รับการปรับเปลี่ยนให้เป็นพระธาตุเจดีย์เนื่องในพุทธศาสนาเถรวาท)
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

จันทิในศิลปะชวาภาคกลาง เช่น จันทิปะวน จันทิเมนดุต จันทิกลาสัน จันทิเซวู และสถาปัตยกรรมในศิลปะจาม

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-09-10
ผู้จัดทำข้อมูลดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศิลปากร, กรม. ประวัติพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี และบทความเรื่องอาณาจักรศรีวิชัย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2520.