ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทับหลัง สลักภาพเล่าเรื่องตอนกูรมาวตาร
คำสำคัญ :
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
---|---|
ที่อยู่ | พิพิธภัณฑ์ กีเมต์ |
ประเทศ | กัมพูชา |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 48.864722 Long : 2.293611 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | ประติมากรรมชิ้นดังกล่าว น่าจะเป็นชิ้นส่วนของทับหลัง องค์ประกอบของภาพเป็นตอนอวตารของพระวิษณุแปลงเป็นเต่า เพื่อใช้รองรับภูเขาในการกวนเกษียรสมุทร ปรากฏรูปบุคคลสองฝั่งคือ อสูรและเทวดา ยืนเรียงแถวใช้มือจับลำตัวนาค เหนือขึ้นเป็นแถวหงส์ และเทวดานั่งชันเข่าพนมมืออยู่ ตรงกลางปรากฏภูเขาที่มีเต่ารองรับ ที่ตัวเสาปรากฏประติมากรรมพระวิษณุกอดภูเขา ด้านบนปรากฏพระพรหม ลักษณะของเครื่องแต่งกายบุคคลที่ปรากฏในภาพสลัก บุคคลต่างๆ สวมกระบังหน้ายอดทรงกรวย ทรงกรองศอประดับพู่ห้อย พาหุรัด ทรงผ้านุ่งสมพตสั้น มีชายผ้ารูปหางปลาซ้อนกันสองชั้นที่ด้านหน้าผ้านุ่ง ซึ่งจากลักษณะดังกล่าวเป็นรูปแบบที่นิยมในศิลปะนครวัด |
---|---|
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | นครวัด |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 17 |
ศาสนา | พราหมณ์-ฮินดู |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | กูรมาวตาร หรือ ตอนกวนเกษียรสมุทร เป็นเหตุการณ์ที่เหล่าเทวดาที่ถูกฤๅษีสาบให้เสื่อมฤทธิ์ เมื่อไปรบกับอสูรคราได้ก็พ่ายแพ้ทุกครั้ง จึงได้ออกอุบายได้ชักชวนให้เหล่าอสูรมาช่วยกันทำพิธีกวนเกษียรสมุทรเพื่อให้ได้น้ำอมฤต เพื่อจะได้ฤทธิ์กลับคืนมา โดยการใช้ภูเขามันทระเป็นไม้กวน และพญานาควาสุกรีเป็นตัวยึดเขา โดยมีพระวิษณุได้อวตารลงมาเป็นเต่าเพื่อรองรับเขามันทระที่ใช้ในการกวน |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-02-00 |
ผู้จัดทำข้อมูล | เชษฐ์ ติงสัญชลี |