ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท

คำสำคัญ : พระบรมมหาราชวัง, ที่ประทับ, พระที่นั่ง, พระมหาปราสาท, วังหลวง, พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท

ชื่อหลักพระบรมมหาราชวัง
ชื่ออื่นวังหลวง
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.7503148
Long : 100.490811
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661182.4
N : 1520611.16
ตำแหน่งงานศิลปะเขตพระราชฐานชั้นกลาง พระบรมมหาราชวัง

ประวัติการสร้าง

สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทมีแผนผังเป็นทรงจัตุรมุข โดยด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นมุขยาว ส่วนทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเป็นมุขสั้น หลังคาซ้อนชั้นทำด้วยเครื่องไม้ประดับเครื่องลำยอง ปิดทองประดับกระจกมุงกระเบื้องดาดดีบุก ส่วนกลางชั้นหลังคาประดับเรือนยอดแบบพระมหาปราสาท หน้าบันพระที่นั่งเป็นรูปเทวดาประทับยืนบนแท่น พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ สองข้างมีเทพนม เสารับโครงสร้างพระที่นั่งปิดทองประดับกระจก มีบัวหัวเสาเป็นบัวแวง พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์เป็นพระที่นั่งโถง ไม่มีผนัง ด้านหน้ามีบันไดทอดมายังเกยสำหรับเทียบพระราชยาน

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนกำแพงแก้วด้านสิศตะวันออกที่เชื่อมต่อกับพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์เอง ใช้เป็นพลับพลาสำหรับงานพระราชพิธีโดยกระบวนราบหรือกระบวนพยุหยาตราและเพื่อพระราชพิธีโสกันต์พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง

พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทเคยได้รับการจำลองแบบอย่างเพื่อไปจัดแสดงในงานมหกรรมนานาชาติ ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยียม เมื่อ พ.ศ.2501

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะรัตนโกสินทร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 25
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องประเพณีในราชสำนัก

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-05-26
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

แน่งน้อย ศักดิ์ศรี, ม.ร.ว. พระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. กรุงเทพฯ: ริเวอร์บุ๊คส์, 2543.

สันติ เล็กสุขุม. ข้อมูลกับมุมมอง : ศิลปะรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2548.