ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

หอชัชวาลเวียงชัย

คำสำคัญ : พระนครคีรี, เขาวัง, หอชัชวาลเวียงชัย, กระโจมแก้ว, หอส่องกล้อง

ชื่อเรียกอื่นกระโจมแก้ว , หอส่องกล้อง
ชื่อหลักพระนครคีรี
ชื่ออื่นเขาวัง
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลท่าราบ
อำเภอเมือง
จังหวัดเพชรบุรี
ภาคภาคตะวันตก
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.108758
Long : 99.936877
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 601555.9
N : 1449351.33
ตำแหน่งงานศิลปะยอดเขาทิศตะวันตก

ประวัติการสร้าง

สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4

ประวัติการอนุรักษ์

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 78 ตอน 52 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

กรมศิลปากรได้บูรณะหอชัชวาลเวียงชัยในบางส่วน เนื่องจากมีสภาพค่อนข้างแข็งแรงแต่ผนัง เสา พื้นชำรุดบางส่วนจึงเสริมความมั่นคงของโครงสร้างอาคาร หลังคาเดิมเป็นเหล็กมุงด้วยกระจกแผ่นใส ได้เปลี่ยนเป็นมุงกระเบื้องโปร่งแสงแทน ผนังและเสาปูนฉาบปูนใหม่ด้วยปูนตำ ส่วนที่มีลวดลายทำตามแบบเดิม พื้นชั้นบนปูใหม่ด้วยกระเบื้องดินเผาเคลือบสี พื้นชั้นล่างซ่อมเปลี่ยนเฉพาะแผ่นที่ชำรุด ระเบียงชั้นบนเดิมพนักประดับด้วยลูกกรงกระเบื้องเคลือบ แต่ในการบูรณะได้เปลี่ยนเป็นคอนกรีตทั้งหมด โดยใช้รูปทรงลูกกรงบันไดทางขึ้นพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์
ลักษณะทางศิลปกรรม

หอชัชวาลเวียงชัยมีรูปแบบและแผนผังอาคารอย่างตะวันตก โดยสร้างขึ้นเลียนแบบอาคารแบบคลาสสิคในผังกลมซึ่งเป็นที่นิยมในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สร้างเป็นอาคารสูง 2 ชั้น ในผังกลม มีเสากลม 8 ต้นและผนังวงโค้งแบบอาร์เขต (Arcade) ช่วยรับน้ำหนัก และมีบันไดเวียนที่กลางอาคารไปสู่ชั้นบนที่มีระเบียงล้อมรอบ ราวบันไดทำด้วยเหล็กเส้นกลม ด้านบนสุดเป็นโดมขนาดใหญ่ กรุด้วยกระจกใสเรียงซ้อนกันในกรอบเหล็กเส้น เหนือยอดโดมเป็นซุ้มขนาดเล็กก่ออิฐฉาบปูนวางคานรูปวงแหวนและมีการคำยันยึดกับผนังห้องกลมด้วยเหล็กเส้นแบนในแนวทแยง 4 ทิศ เป็นที่สำหรับแขวนกระโจมไฟ

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างที่ประทับสำหรับทรงส่องกล้องทอดพระเนตรดวงดาวตามตำราดาราศาสตร์ และมีพระราชประสงค์ให้เป็นหอสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทยที่ได้ทรงสถาปนาเส้นแวงที่ 100 องศาตะวันออกซึ่งพาดผ่านใกล้พระนครคีรีและพระบรมมหาราชวังเพื่อใช้เป็นเส้นแวงหลักของระบบเวลามาตรฐานกรุงเทพฯ หอชัชวาลเวียงชัยจึงเป็นอนุสรณ์แห่งผลสัมฤทธิ์ในทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับระบบเวลามาตรฐานของไทยในสมัยนั้นขณะเดียวกันยังทำหน้าที่เป็นประภาคารให้ผู้เดินเรือสังเกตเห็นพระนครคีรีได้จากชายฝั่งทะเลเพชรบุรี

ยุคประวัติศาสตร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 25
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องประเพณีในราชสำนัก

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-05-26
ผู้จัดทำข้อมูลพัสวีสิริ เปรมกุลนันท์
บรรณานุกรม

ศิลปากร, กรม. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2542.

ศิลปากร, กรม. ทะเบียนโบราณสถาน. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2532.

เบญจวรรณ ทัศนลีลพร. การออกแบบพระนครคีรี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร), 2543.

พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรมกับงานช่างหลวงในสมัยรัชกาลที่ 4. นครปฐม : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2555.