ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

เทวาลัยที่มีจารึกกำหนดอายุ จันทิปะนะตะรัน

คำสำคัญ : จันทิ, จันทิปะนะตะรัน, ราชวงศ์มัชฌปาหิต

ชื่อหลักจันทิปะนะตะรัน
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองบลิตาร์
รัฐ/แขวงชวา ตะวันออก
ประเทศอินโดนีเซีย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : -8.016389
Long : 112.209722

ประวัติการสร้างจันทิปะนะตะรัน ศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดของชวาภาคตะวันออก ตั้งอยู่ใกล้เมืองบลิตาร์ เป็นจันทิที่อุทิศให้กับพระศิวะ ศาสนสถานแห่งนี้สร้างสมัยราชวงศ์มัชฌปาหิต
ลักษณะทางศิลปกรรมแผนผังของจันทิแห่งนี้คล้ายกับเทวาลัยในเกาะบาหลีในปัจจุบัน คือแบ่งออกเป็น 3 ลาน ระหว่างลานชั้นที่ 1 กับลานชั้นที่ 2 นั้น ปรากฏจันทิซึ่งมีจารึกระบุว่าสร้างขึ้นในพ.ศ.1912 เทวาลัยมีขนาดเล็กและอยู่ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส เรือนธาตุมีรัดอกคาดและที่ประตูทั้งสี่ทิศประดับหน้ากาลที่มีลักษณะดุร้าย คือ มีเขี้ยว มีปากล่างและมีมือยกขึ้นในท่าขู่ตามแบบชวาตะวันออกโดยทั่วไป ยอดของจันทิมีรูปแบบคล้ายคลึงกับจันทิในระยะก่อนหน้า คือประกอบด้วยชั้นหน้ากระดานคู่สลับกับเรือนธาตุจำลองที่ประดับด้วยอาคารจำลอง อย่างไรก็ตาม เส้นรอบนอกของยอดที่นี่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งที่อ่อนช้อยกว่าสมัยสิงหาส่าหรี อาคารจำลองของจันทิที่มีจำนวนถึง 7 หลังนั้น ก็มีจำนวนมากกว่าสมัยสิงหาส่าหรีที่มีจำนวนเพียง 5 หลังต่อชั้นเท่านั้น
ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะชวาภาคตะวันออก ราชวงศ์มัชฌปาหิต
อายุพุทธศตวรรษที่ 20
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
ลัทธิ/นิกายไศวนิกาย

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี