ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

รัตนเจดีย์

คำสำคัญ : เจดีย์ทรงปราสาท, วัดจามเทวี, เจดีย์กู่กุด, รัตนเจดีย์

ชื่อหลักวัดจามเทวี
ชื่ออื่นวัดกู่กุด
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลเหมืองง่า
อำเภอเมือง
จังหวัดลำพูน
ภาคภาคเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 18.581674
Long : 98.996314
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 Q
Hemisphere : N
E : 499611.16
N : 2054541.67
ตำแหน่งงานศิลปะภายในเขตพุทธาวาส

ประวัติการสร้าง

ไม่พบประวัติการสร้างรัตนเจดีย์แห่งวัดกู่กุด แต่จากรูปแบบศิลปกรรมทำให้สามารถกำหนดอายุเจดีย์องค์นี้ว่าคงสร้างขึ้นในสมัยหริภุญชัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบของพระพุทธรูปและซุ้มที่คล้ายคลึงกันกับที่พบในเจดีย์กู่กุด จึงกำหนดอายุไว้ในระยะเวลาเดียวกัน คือ พุทธศตวรรษที่ 16-18

ประวัติการอนุรักษ์

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

ลักษณะทางศิลปกรรม

รัตนเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดระฆัง สร้างด้วยอิฐ ฉาบปูน ประดับตกแต่งด้วยปูนปั้น แผนผังแปดเหลี่ยม ส่วนฐานค่อนข้างชำรุด ส่วนกลางเป็นเรือนธาตุ แต่ละด้านมีพระพุทธรูปยืนอยู่ภายในซุ้ม มุมทั้งแปดของเรือนธาตุตกแต่งด้วยเสาอิง ถัดขึ้นไปเป็นชั้นซ้อนลดหลั่นกันต่อด้วยองค์ระฆัง ยอดสุดพังทลายลงแล้ว

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

รัตนเจดีย์เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมในศิลปะหริภุญชัยที่สมบูรณ์อีกแห่งหนึ่ง สะท้อนให้เห็นว่างานช่างของหริภุญชัยมีความเกี่ยวข้องกับดินแดนต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะพม่าสมัยพุกาม

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะหริภุญชัย
อายุพุทธศตวรรษที่ 17-18
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-09
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศิลปากร, กรม.การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือในความรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 4 ตามโครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกองโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2525.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556.

สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญชัย-ล้านนา. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549.