ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

อานันทเจดีย์

คำสำคัญ : พุกาม, พระเจ้าจันสิตถา, อานันทเจดีย์

ชื่อหลักอานันทเจดีย์
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ที่อยู่-
จังหวัด/เมืองพุกาม
รัฐ/แขวงมัณฑเลย์
ประเทศเมียนมา
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 21.170833
Long : 94.8675

ประวัติการสร้างพระเจ้าจันสิตถาโปรดให้สร้างเจดีย์องค์นี้ขึ้น โดยมีตำนานกล่าวว่าพระสงฆ์จากอินเดียได้เล่าถึงถ้ำนันทมูลในภูเขาคันธมาทน์ พระองค์จึงได้สร้างเจดีย์องค์น้เพื่อให้เหมือนกับถ้ำดังกล่าว
ลักษณะทางศิลปกรรมอานันทเจดีย์ถือเป็นตัวอย่างสำคัญของเจตียวิหารหรือกู่ในศิลปะพุกามตอนต้น รัชกาลพระเจ้าจันสิตถาที่ดีที่สุดแห่งหนึ่ง เป็นเจดีย์ที่อยู่ในผังครรภคฤหะสี่ทิศ มณฑปสี่ทิศ ซึ่งทำให้แผนผังกายเป็นกากบาท ตรงกลางปรากฏแกนกลางทึบขนาดใหญ่รับน้ำหนักของยอดศิขระ แผนผังแบบนี้ปรากฏมาก่อนแล้วตั้งแต่ในศิลปะปาละ เช่นปหรรปุระและวิกรมศิลา ภายนอกปรากฏหลังคาลาดขนาดใหญ่ที่ประดับสถูปิกะขนาดเล็กทั้งสี่ทิศ หลังคาลาดนี้รองรับศิขระซึ่งประดับซุ้มที่เก็จประธาน โดยทั้งหมดนี้คล้ายคลึงกับหลังคาลาดและศิขระของเจดีย์นาคยน อย่างไรก็ตาม หน้าต่างที่ไม่มีแผงกั้นของอานันทเจดีย์ ย่อมทำให้แสงสามารถเข้าไปภายในอาคารได้มากกว่าเจดีย์ในระยะก่อนหน้า
ยุคประวัติศาสตร์
อายุพุทธศตวรรษที่ 16-18
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
งานศิลปะที่เกี่ยวข้องอานันทเจดีย์ ปรากฏพระพุทธรูป 4 ทิศซึ่งอาจหมายถึงพระอดีตพุทธสี่พระองค์ คือ พระกกุสันธะ (ทิศตะวันออก) พระโกณาคมนะ (ทิศใต้) พระกัสสปะ (ทิศตะวันตก) และพระโคตมะ (ทิศเหนือ)

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-02-00
ผู้จัดทำข้อมูลเชษฐ์ ติงสัญชลี