ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เจดีย์วัดอุโมงค์เถรจันทร์
คำสำคัญ : เจดีย์ทรงระฆัง, เจดีย์ทรงกลม, วัดอุโมงค์เถรจันทร์, วัดอุโมงค์เชิงดอยสุเทพ, วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์
ชื่อเรียกอื่น | เจดีย์วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์, เจดีย์วัดอุโมงค์เชิงดอยสุเทพ |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดอุโมงค์เถรจันทร์ |
ชื่ออื่น | วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์, วัดอุโมงค์, วัดเวฬุกัฏฐาราม |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | สุเทพ |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
ภาค | ภาคเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 18.783139 Long : 98.951268 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 494864.44 N : 2076833.26 |
ประวัติการสร้าง | วัดแห่งนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระยาเม็งราย โดยมีชื่อว่า วัดไผ่สิบเอ็ดกอ ต่อมาในสมัยพระเจ้ากือนาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์ให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถรจันทร์ ประกอบกับภายในวัดมีอาคารก่ออิฐที่มีอุโมงค์อยู่ภายใน จึงเรียกนามวัดนี้ว่า วัดอุโมงค์เถรจันทร์ เข้าใจว่าเจดีย์องค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในช่วงต้นของสมัยล้านนานี้เช่นกัน |
---|---|
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | เจดีย์วัดอุโมงค์เถรจันทร์เป็นเจดีย์ทรงกลม ก่อด้วยอิฐ ฉาบปูน ตกแต่งด้วยปูนปั้น รูปแบบสำคัญลำดับจากส่วนล่างไปส่วนบนมีดังนี้ ฐานกลมที่ประดับด้วยปูนปั้นรูปกลีบบัว ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้ว 3 ชั้นซ้อนลดหลั่นกัน ท้องไม้ของแต่ละชั้นตกแต่งด้วยปูนปั้นเป็นช่องสี่เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นองค์ระฆังกลม มีเส้นรัดอกตกแต่งองค์ระฆัง ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์สี่เหลี่ยม แกนปล้องไฉนซึ่งตกแต่งด้วยปูนปั้นรูปเทวดา ถัดขึ้นไปเป็นปล้องไฉน ปลี และฉัตร |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เจดีย์วัดอุโมงค์เถรจันทร์เป็นเจดีย์ทรงระฆังที่มีองค์ระฆังขนาดใหญ่และบัลลังก์สี่เหลี่ยมซึ่งพบไม่มากนักในล้านนา ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือส่วนฐานกลมที่มีการเจาะท้องไม้เป็นช่องสี่เหลี่ยม รูปแบบเจดีย์มีความสัมพันธ์กับกลุ่มเจดีย์ในศิลปะพุกามที่ได้รับอิทธิพลศิลปะลังกา |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านนา |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 19-20 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1.รูปแบบของเจดีย์สัมพันธ์กับเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะลังกา เช่น มีองค์ระฆังขนาดใหญ่ มีบัลลังก์สี่เหลี่ยมรองรับยอดทรงกรวย การประดับรูปเทวดาที่แกนปล้องไฉน 2.มีความสัมพันธ์ทางด้านรูปแบบศิลปะกับเจดีย์ในศิลปะพุกาม เช่น เจดีย์ฉปัฏ (Sapasa) ที่สร้างขึ้นในปีพ.ศ.1733 โดยพระภิกษุฉปัฏ ชาวพุกามที่ได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกา และ เจดีย์ในวัดถิทสวดี (Thitsawadi) ในหมู่บ้านปวาสอ (Pwasaw ) เมืองพุกาม เนื่องจากมีรูปแบบเป็นเจดีย์ทรงระฆังอิทธิพลศิลปะลังกา และมีส่วนฐานบัวอยู่ในผังกลมที่มีการเจาะช่องสี่เหลี่ยมที่ท้องไม้ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2015-07-09 |
ผู้จัดทำข้อมูล | ดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ศิลปากร, กรม.การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือในความรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 4 ตามโครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกองโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2525. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556. สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญชัย-ล้านนา. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549. |