ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระธาตุเจดีย์องค์ใหญ่
คำสำคัญ : เจดีย์ทรงระฆัง, เจดีย์, พระธาตุดอยกองมู, วัดพระธาตุดอยกองมู, เจดีย์พม่า, พญาสิงหนาทราชา, ศิลปะอมรปุระ – มัณฑเล
ชื่อเรียกอื่น | เจดีย์องค์เก่า, พระธาตุดอยกองมู |
---|---|
ชื่อหลัก | วัดพระธาตุดอยกองมู |
ประเภทงานศิลปะ | สถาปัตยกรรม |
ตำบล | จองคำ |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | แม่ฮ่องสอน |
ภาค | ภาคเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 19.300005 Long : 97.960337 |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศารุ้งแวง | Lat : 390812.73 Long : 2134393.87 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 390812.73 N : 2134393.87 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์ระฆังในผังแปดเหลี่ยม |
ประวัติการสร้าง | สร้างโดยพญาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรกเพื่อเป็นที่ระลึกในการดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเมือ พ.ศ. 2407 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระสารีบุตรจากเมืองมัณฑเล ประเทศพม่า |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | ก่ออิฐถือปูน |
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 98 ตอนที่ 177 วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2524 |
ลักษณะทางศิลปกรรม | เจดีย์องค์นี้เป็นเจดีย์ทรงระฆัง มีฐานเขียง 2 ฐานเป็นฐานรองล่างในผังสี่เหลี่ยม ถัดขึ้นมาเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม 3 ฐาน โดยฐานชั้นที่ 1 ปรากฏเพียงส่วนบนเท่านั้น มีการประดับด้วยสิงห์นั่งที่พื้น ถัดขึ้นมาคือนรสิงห์บนฐานรองล่าง ต่อด้วยปูรณะฆฏะ 2 ชั้น ด้านบนสุดประดับสถูปิกะ ถัดไปเป็นฐานสี่เหลี่ยมลบมุมต่อด้วยบัวปากระฆัง องค์ระฆังในผังกลมค่อนข้างเตี้ยมีรัดอกประดับลายกระทง ถัดขึ้นไปเป็นกลีบบัวรองรับปล้องไฉนทรงกรวยเตี้ย ปัทมบาทและปลีสั้น ส่วนยอดสุดประดับฉัตร |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | เจดีย์แบบพม่าองค์เดียวในประเทศไทยที่มีการจัดระบบใกล้เคียงกับเจดีย์แบบพม่าแท้ในศิลปะอมรปุระ – มัณฑเล |
ข้อสังเกตอื่นๆ | ส่วนฐานรองล่างซึ่งเป็นฐานเขียง 2 ชั้นประดับนรสิงห์น่าจะเป็นผลมาจากการบูรณะเพราะส่วนนี้ทับส่วนฐานบัวในผังสี่เหลี่ยมเพิ่มมุมชั้นที่ 1 ซึ่งปรากฏเพียงส่วนบนเท่านั้น แสดงว่าแต่เดิมเจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่พื้น เจดีย์องค์นี้จึงมีลักษณะใกล้เคียงกับเจดีย์แบบพม่าแท้ในศิลปะอมรปุระ-มัณฑเล สอดคล้องกับการที่ขานกะเล เจ้าเมืองคนแรกอพยพมาจากพม่าและน่าจะมีการนำช่างมาด้วย เจดีย์องค์นี้มีการสร้างปยาทาดประชิดกับเจดีย์ ซึ่งนิยมในเจดีย์แบบพม่าสกุลช่างแม่ฮ่องสอน เช่น วัดพระธาตุดอยกองมู วัดจองกลาง เป็นต้น |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | พม่า |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 25 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. เจดีย์วัดจองสูง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตัวอย่างเจดีย์แบบพม่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่มีสัดส่วนคล้ายคลึงกับเจดีย์แบบพม่าแท้ 2. เจดีย์กุโสดอ เมืองมัณฑเล ตัวอย่างเจดีย์แบบพม่าแท้ในประเทศพม่าที่สร้างโดยพระเจ้ามินดง |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-05-19 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ศิลปากร, กรม. การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือในเขตรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 4 ตามโครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกองโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรม, 2525. เชษฐ์ ติงสัญชลี. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ประเด็นใหม่เกี่ยวกับเจดีย์แบบมอญและพม่าในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554. สุรชัย จงจิตงาม. คู่มือท่องเที่ยว-เรียนรู้ล้านนา เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, 2549. อรศิริ ปาณินท์. สถาปัตยกรรมไท. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2539. |