ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เศียรพระแสนแซว่
คำสำคัญ : เศียรพระพุทธรูป, ศิลปะล้านนา, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่, พระเจ้าแสนแส้, วัดยางกวง, พระเจ้าแสนแสว้, พระเจ้าแสนแซว่
ชื่อเรียกอื่น | เศียรพระแสนแส้, เศียรพระแสนแสว้ |
---|---|
ชื่อหลัก | พิพิภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ |
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | ช้างเผือก |
อำเภอ | เมือง |
จังหวัด | เชียงใหม่ |
ภาค | ภาคเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 18.811134 Long : 98.976711 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 497546.13 N : 2079930.27 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | พระพุทธรูปในพิพิธภัณฑ์ |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏประวัติการสร้าง แต่เดิมพบที่วัดยางกวง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้อัญเชิญมายังวัดเบญจมบพิตร แต่ไม่ปรากฏในทะเบียนประวัติพระพุทธรูปรอบพระระเบียงวัดเบญจมบพิตรฯ แต่อย่างใด เพราะถูกนำไปประดิษฐานไว้ใต้ต้นไม้นอกพระระเบียง ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ขึ้น จึงนำมาจัดแสดงไว้ภายในพิพิธภัณฑ์ มีรูปแบบที่สามารถกำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ขนาด | สูง 1.7 เมตร |
ลักษณะทางศิลปกรรม | เศียรพระแสนแซว่มีลักษณะคล้ายหน้ากาก พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระเนตรเรียวเหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์แย้มเล็กน้อย พระหนุเป็นปม ขมวดพระเกศาใหญ่ |
สกุลช่าง | เชียงใหม่ – ลำพูน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ตัวอย่างเศียรพระพุทรูปขนาดใหญ่ที่สุดในศิลปะล้านนา |
ข้อสังเกตอื่นๆ | แม้จะไม่ปรากฏประวัติการสร้าง แต่จากรูปแบบสามารถกำหนดว่ามีรูปแบบศิลปะแบบพระสิงห์ และน่าจะมีอายุหลังพ.ศ. 2000 ลงมา เพราะเป็นช่วงเวลาที่มีการสร้างพระพุทธรูปแบบพระสิงห์อย่างมาก ประกอบกับพระพุทธรูปองค์นี้มีขนาดใหญ่ จึงน่าจะสร้างโดยพระมหากษัตริย์ที่มีพระราชอำนาจและบารมีสูง เช่น พระเจ้าติโลกราช อีกทั้งในรัชกาลนี้ยังมีการสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เช่น พระเจ้าแข้งคม วัดศรีเกิดด้วย ดังนั้นพระแสนแซว่อาจสร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าติโลกราชคือ ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ก็ได้The word “Swae” in the northern Thai language means latch or bolt that is used to fasten or weld many materials together. The word “Saen Swae” therefore means a hundred thousand latch or bolt which are used to assemble various parts of the Buddha image together because this Buddha image is very huge. |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านนา |
อายุ | ต้นพุทธศตวรรษที่ 21 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. เศียรพระแสนแซว่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน ตัวอย่างเศียรพระพุทธรูปที่มีลักษณะเช่นเดียวกันทุกประการแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก 2. พระเจ้าเก้าตื้อ วัดบุปผาราม จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างพระพุทธรูปขนาดใหญ่อีกองค์หนึ่งในศิลปะล้านนา แต่น่าจะสร้างขึ้นภายหลังพระแสนแซว่ |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-05-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. “เศียรพระแสนแส้ : พระพุทธรูปที่ถูกตรึงพระโอษฐ์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่.” ศิลปวัฒนธรรม. 23, 9 (กรกฎาคม 2545), 142 – 144. H.R.H. Damrong Rajanubhab. “Wat Benchamabopit and its collection of Images of the Buddha”, JSS. Vol. I, Bangkok, 1954, pp. 243 – 248. |