ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระเจ้าตนหลวง

คำสำคัญ : ศิลปะล้านนา, วัดศรีโคมคำ, พระเจ้าตนหลวง, พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยง, พระพุทธรูปแบบล้านนา, ศิลปะพะเยา

ชื่อเรียกอื่นพระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยงเมืองพะเยา
ชื่อหลักวัดศรีโคมคำ
ชื่ออื่นวัดพระเจ้าตนหลวง
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ที่อยู่692 ถนนพหลโยธิน
ตำบลเวียง
อำเภอเมือง
จังหวัดพะเยา
ภาคภาคเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 19.176561
Long : 99.879972
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 Q
Hemisphere : N
E : 592521.71
N : 2120597.07
ตำแหน่งงานศิลปะพระพุทธรูปประธานในวิหารหลวง

ประวัติการสร้าง

ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นในสมัยพระยอดเชียงรายในปี พ.ศ. 2034 และแล้วเสร็จในสมัยพระเมืองแก้วในปี พ.ศ. 2067

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ประวัติการอนุรักษ์

พ.ศ. 2519 กรมศิลปากรได้บูรณะซ่อมแซมพระเจ้าตนหลวง

ขนาดสูง 16 เมตร หน้าตักกว้าง 14 เมตร
ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราย แสดงปางมารวิชัยประทับนั่งบนพื้น พระพักตร์รูปไข่ค่อนข้างเหลี่ยม พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์บนหยักเป็นรูปปีกกา มุมพระโอษฐ์ตวัดขึ้น พระวรกายบอบบาง พระหัตถ์อูม ปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกัน ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภี

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองพะเยา

ข้อสังเกตอื่นๆ

เนื่องจากพระพุทธรูปองค์นี้ผ่านการบูรณะซ่อมแซมแล้ว ทำให้ลักษณะบางประการต่างจากพระพุทธรูปศิลปะล้านนาสกุลช่างพะเยาในช่วงเวลาเดียวกัน

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านนา
อายุพุทธศตวรรษที่ 21
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
ตำนานที่เกี่ยวข้อง

ตำนานพระเจ้าเลียบโลกโดยกล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงเมืองภูกามยาว ทรงรับบิณฑบาตจากนายช่างทองและได้มอบเส้นพระเกศาแก่นายช่างทองเพราะเห็นว่าที่นี่เหมาะแก่การตั้งศาสนา ต่อมานายช่างทองไม่ได้ถวายน้ำฉัน พระพุทธเจ้าจึงให้พระอานนท์ไปตักน้ำที่สระหนองเอี้ยงแต่พญานาคที่อยู่ในสระไม่ให้ พระพุทธเจ้าจึงปราบพยศนาคในสระที่พระพุทธเจ้าในอดีตได้เสวยน้ำในสระนี้และได้ให้พญานาคสร้างพระพุทธรูปใหญ่เท่าพระกกุสันโธพุทธเจ้าเมื่อพระศาสนาเข้าถึงครึ่งค่อน 5000 พระวัสสา ต่อมาพญานาคจึงได้นำทองคำจากพิภพพญานาคไปและเนรมิตตนเป็นบุรุษนุ่งขาวไปหาสองตายายที่อยู่ใกล้สระนั้นและให้สองตายายสร้างพระพุทธรูปขึ้นที่กลางสระน้ำนั้นตามพุทธดำรัส เมื่อสร้างพระพุทธรูปสำเร็จ พญาเมืองตู้เจ้าเมืองพะเยาได้ส่งพระราชสาส์นไปหาพระเมืองแก้วเรื่องการสร้างพระเจ้าตนหลวงเสร็จสิ้น พระเมืองแก้วมีพระราชศรัทธาจึงพระราชทานทองคำสำหรับสร้างวิหารและพระราชทานนามแก่พระพุทธรูปว่า “พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยงเมืองพะเยา” และพระเมืองแก้วและพญาเมืองตู้ได้ถวายข้าพระจำนวนฝ่ายละ 10 ครัวเรือนรวมเป็น 20 ครัวเรือนคอยดูแลวัดแห่งนี้

ลักษณะตำนานนี้คล้ายกับตำนานหลายเรื่องในล้านนา เช่น ตำนานพระเจ้าเลียบโลกและตำนานการสร้างเจดีย์หลายองค์ที่มักจะอ้างถึงการเดินทางมายังสถานที่เหล่านั้นโดยพระพุทธเจ้า
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. พระเจ้านั่งดิน วัดพระเจ้านั่งดิน จังหวัดพะเยา ตัวอย่างพระพุทธรูปล้านนาสกุลช่างพะเยาที่ประทับนั่งบนพื้นเช่นเดียวกับพระเจ้าตนหลวงและมีพุทธศิลป์ที่น่าจะคล้ายกับพระเจ้าตนหลวงก่อนการบูรณะ

2. หลวงพ่อนาค วัดป่าแดงบุญนาค จังหวัดพะเยา ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะล้านนาสกุลช่างพะเยาที่แสดงลักษณะที่ผสมผสานระหว่างพระพุทธรูปศิลปะล้านนาแบบสิงห์หนึ่งและพุทธศิลป์แบบสุโขทัย มีจารึกระบุว่าสร้างโดยพญายุทธิษฐิระ เจ้านายสุโขทัยที่ขึ้นไปครองเมืองพะเยา และมีจารึกระบุศักราช พ.ศ. 2019

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-05-18
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

สุจิตต์ วงษ์เทศ, บรรณาธิการ. เมืองพะเยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน, 2527.

หนังสือที่ระลึกในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ณ พระอารามหลวง วัดศรีโคมคำ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์, 2548.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปหินทรายสกุลช่างพะเยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2532.