ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระธาตุดอยสุเทพ

คำสำคัญ : พระธาตุดอยสุเทพ, วัดพระธาตุดอยสุเทพ

ชื่อหลักวัดพระธาตุดอยสุเทพ ราชวรวิหาร
ประเภทงานศิลปะสถาปัตยกรรม
ตำบลสุเทพ
อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่
ภาคภาคเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 18.805023
Long : 98.921607
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 Q
Hemisphere : N
E : 491739.68
N : 2079255.83
ตำแหน่งงานศิลปะแกนกลางวัด

ประวัติการสร้าง

พงศาวดารโยนกให้ข้อมูลว่า พระเจ้ากือนาได้แสวงหาสถานที่อันควรประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระสุมนเถระอัญเชิญมาจากสุโขทัย จึงอัญเชิญผอบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสถิตเหนือช้างพระที่นั่ง เสี่ยงทายหาที่ประดิษฐาน ช้างพระที่นั่งจึงบ่ายหน้าขึ้นสู่ยอดดอยสุเทพ จึงโปรดให้สร้างเจดีย์ไว้บนยอดเขา เมื่อ พ.ศ. 1929

ต่อมาพระเมืองเกษเกล้าได้บูรณปฏิสังขรณ์ให้ใหญ่โตขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2081 และในสมัยพระเมกุฏิ พ.ศ. 2100 ได้หุ้มทองจังโกเจดีย์ทั้งองค์
ประวัติการอนุรักษ์

ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระธาตุดอยสุเทพเป็นเจดีย์ก้ออิฐถือปูนหุ้มด้วยทองจังโก องค์ประกอบสำคัญจากด้านล่างสู่ด้านบน ได้แก่ ฐานบัวในผังเพิ่มมุมที่ออกแบบจนแลดูคล้ายกับฐานบัวซ้อนกัน 2 ชั้น ถัดขึ้นไปถัดขึ้นไปเป็นชุดบัวถลาในผังสิบสองเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันรับองค์ระฆัง องค์ระฆังอยู่ในผงสิบสองเหลี่ยมเช่นกัน ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ แกนปล้องไฉน ปล้องไฉน ปลี และฉัตร

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

พระธาตุดอยสุเทพเป็นเจดีย์คู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญอีกองค์หนึ่งของเชียงใหม่ รูปแบบของพระธาตุดอยสุเทพแสดงให้เห็นถึงงานที่สืบทอดมาจากเจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนา แต่มีพัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปคือ ส่วนของชุดฐานบัวรองรับองค์ระฆังที่มีหลายชั้นและเหลือเฉพาะฐานบัวคว่ำ และผังขององค์เจดีย์เหนือส่วนฐานขึ้นไปที่อยู่ในผัง 12 เหลี่ยม ถือเป็นลักษะใหม่ที่นิยมในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 พระธาตุดอยสุเทพยังน่าจะเป็นต้นแบบสำคัญให้กับเจดีย์องค์อื่นในช่วงเวลานั้นของล้านนาที่นิยมรูปแบบนี้อย่างแพร่หลายในเมืองเชียงใหม่

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านนา
อายุพุทธศตวรรษที่ 21
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

วัดชมพู จังหวัดเชียงใหม่ เพราะมีรูปแบบเดียวกัน เข้าใจว่าเกิดจากการจำลองแบบพระธาตุดอยสุเทพ

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2015-07-09
ผู้จัดทำข้อมูลดร.รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค), พระยา. พงศาวดารโยนก. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2557.

ศิลปากร, กรม.การขึ้นทะเบียนโบราณสถานภาคเหนือในความรับผิดชอบของหน่วยศิลปากรที่ 4 ตามโครงการสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณสถานของกองโบราณคดี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2525.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ : มติชน, 2556.

สันติ เล็กสุขุม. ศิลปะภาคเหนือ : หริภุญชัย-ล้านนา. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ, 2549.