ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปปางมารวิชัยมีจารึก

คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พระพุทธรูปปางมารวิชัย, พระพุทธรูปมีจารึก, พระพุทธสิหิงค์, ศิลปะล้านนา, วัดพระเจ้ามังราย, เชียงแสนหนึ่ง, พระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่ง, จารึก

ชื่อหลักวัดพระเจ้าเม็งราย
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระสิงห์
อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่
ภาคภาคเหนือ
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 18.78534
Long : 98.984705
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 Q
Hemisphere : N
E : 498388.11
N : 2077076.15
ตำแหน่งงานศิลปะพระพุทธรูปในวิหาร

ประวัติการสร้าง

จากจารึกฐานพระพุทธรูปกล่าวว่า ศรีสัทธรรมไตรโลกรัตนจุฬามหาสังฆราช โปรดให้สร้างพระพุทธสิงหิงค์นี้ขึ้นเพื่อเป็นที่บูชาแก่คนทั้งหลายเมื่อ พ.ศ. 2012 ในตอนท้ายของจารึกมีการกล่าวถึงน้ำหนักของพระพุทธรูปด้วย

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย พระพักตร์กลม ขมวดพระเกศาใหญ่ อุษณีษะทรงสูง ยอดอุษณีษะเป็นตุ่มกลมคล้ายดอกบัวตูม พระเนตรเปิดมองตรง พระโอษฐ์แย้ม พระหนุเป็นปม พระวรกายอวบอ้วน ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถันปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบ ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายในผังแปดเหลี่ยมซึ่งหล่อติดกับพระพุทธรูป ฐานล่างสุดมีจารึกอยู่ทั้งหมด 4 แถวเริ่มจากด้านหน้าต่อเนื่องไปถึงบางส่วนของด้านหลัง เป็นตัวเลข เรือนยันต์ตัวเลข ดวงฤกษ์ แล้วจึงเป็นข้อความภาษาบาลีและภาษาไทยด้วยอักษรธรรมล้านนา

ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

ตัวอย่างสำคัญของพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่งที่มีจารึกเรียกชื่อ “พระพุทธสิหิงค์”

ข้อสังเกตอื่นๆ

จากหลักฐานจารึกที่ฐานมีการระบุชื่อเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธสิหิงค์” ทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่า รูปแบบพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่งในความเข้าใจของคนล้านนาน่าจะหมายถึงพระพุทธสิหิงค์

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านนา
อายุต้นพุทธศตวรรษที่ 21
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. พระพุทธรูปปางมารวิชัย พิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน ตัวอย่างพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่งซึ่งมีพุทธศิลป์โดยรวมเหมือนกันและมีจารึกระบุปีที่สร้าง คือ พ.ศ. 2026

2. พระพุทธรูป “พระมังรายเจ้า” วัดชัยพระเกียรติ จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างพระพุทธรูปแบบสิงห์หนึ่งในยุคหลังที่แม้จะยังสืบทอดงานจากยุคก่อนแต่ฝีมทอช่างกลับไม่งามเท่า

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-05-15
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

คำจารึกที่ฐานพระพุทธรูปในนครเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี, 2519.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. “พระพุทธสิหิงค์คือพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชรในศิลปะล้านนา” ศิลปวัฒนธรรม, 26,2 (ธันวาคม 2547): 94 – 99.

A.B. Griswold. Dated Buddha Images of Northern Siam. Artibus Asiae, Supplementum 16, Ascona Switzerland, 1957.