ค้นหางานศิลปกรรม

ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 
 
 
 
 
 
 

พระพุทธรูปปางกดรอยพระบาท

คำสำคัญ : พระพุทธรูป, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร, พระพุทธรูปมีจารึก, ศิลปะล้านนา, พระพุทธรูปปางกดรอยพระบาท, พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

ชื่อหลักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
ประเภทงานศิลปะประติมากรรม
ตำบลพระบรมมหาราชวัง
อำเภอเขตพระนคร
จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ภาคภาคกลาง
ประเทศไทย
พิกัดภูมิศาสตร์
ค่าองศาทศนิยม
Lat : 13.757694
Long : 100.492449
พิกัดภูมิศาสตร์
พิกัดกริด
Zone : 47 P
Hemisphere : N
E : 661354.51
N : 1521428.61
ตำแหน่งงานศิลปะภายในพระที่นั่งศิวโมกพิมาน

ประวัติการสร้าง

ที่ฐานพระพุทธมีจารึกระบุว่า “ศักราชได้ 843 (พ.ศ. 2024) เจ้าวิเชียรปัญโญสร้างพระพุทธเจ้าปางกดประทับรอยพระบาทขึ้นเพื่อหวงไปเกิดในยุคพระศรีอาริยไมตไตรยและหวังเป็นพระภิกษุ”

กระบวนการสร้าง/ผลิต

หล่อสำริด

ลักษณะทางศิลปกรรม

พระพุทธรูปองค์ประทับยืนในอิริยาบถลีลา พระพักตร์เล็ก ขมวดพระเกศาใหญ่ อุษณีษะทรงสูงอย่างมาก ยอดอุษณีษะเป็นตุ่มกลมคล้ายดอกบัวตูม พระเนตรเหลือบต่ำ พระโอษฐ์แย้ม พระวรกายเพรียวบาง ชายสังฆาฏิยาวจรดพระนาภีปลายตัดตรง พระกรทั้งสองข้างปล่อยลงไปตรงๆ พระบาทขวากดประทับลงบนฐานที่มีรอยพระพุทธบาทปรากฏอยู่ 3 รอย

สกุลช่างเชียงแสน – เชียงราย
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ

1. พระพุทธรูปรูปแบบพิเศษที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

2. การนำพระพุทธรูปลีลาซึ่งเดิมมีที่มาจากพุทธประวัติตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาใช้เป็นปางกดรอยพระบาท

ข้อสังเกตอื่นๆ

แม้คติการสร้างพระพุทธบาท 4 รอยนั้นจะปรากฏอยู่แล้ว แต่รูปแบบโดยทั่วไปมักแสดงด้วยรอยพระพุทธบาทเพียง 4 รอบเท่านั้น พระพุทธรูปลักษณะนี้จึงเป็นรูปแบบพิเศษซึ่งไม่เคยปรากฏที่ใดมาก่อน

ยุคประวัติศาสตร์
สมัย/รูปแบบศิลปะล้านนา
อายุต้นพุทธศตวรรษที่ 21
ศาสนาพุทธ
ลัทธิ/นิกายเถรวาท
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้องพุทธศาสนาเถรวาท
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง

1. พระพุทธรูปลีลา วัดพระเจ้าเม็งราย จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างพระพุทธรูปลีลาในศิลปะล้านนาในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ที่ได้รับอิทธิพลศิลปสุโขทัยเช่นเดียวกัน

2. รอยพระพุทธบาทประดับมุก พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ตัวอย่างสำคัญของการสร้างพระพุทธบาทสี่รอยในศิลปะล้านนาที่แสดงรูปแบบและคติการสร้างได้สมบูรณ์ที่สุด

รูปแบบลิขสิทธิ์Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)
เจ้าของสิทธิ์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
วันที่จัดทำข้อมูล2016-05-15
ผู้จัดทำข้อมูลรุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
บรรณานุกรม

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556.

ประเสริฐ ณ นคร (ผู้อำนวยการโครงการ). จารึกล้านนาภาค 1 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา แพร่. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊พ จำกัด, 2534. (มูลนิธิ เจมส์ เอช ดับเบิ้ลยู ทอมป์สัน จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พระชนมายุครบ 3 รอบ พ.ศ. 2534)

นันทนา ชุติวงศ์. รอยพระพุทธบาทในสิลปะเอเชียใต้และเอเชียอาคเนย์. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ, 2533

A.B. Griswold. Dated Buddha Images of Northern Siam. Artibus Asiae, Supplementum 16, Ascona Switzerland, 1957.