ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระเจ้าล้านทอง
คำสำคัญ : พระธาตุลำปางหลวง, พระพุทธรูป, พระเจ้าล้านทอง, กู่พระเจ้าล้านทอง, ศิลปะล้านนา, กู่ปราสาท, วัดพระธาตุลำปางหลวง
ชื่อหลัก | วัดพระธาตุลำปางหลวง |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | ลำปางหลวง |
อำเภอ | เกาะคา |
จังหวัด | ลำปาง |
ภาค | ภาคเหนือ |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 16.824348 Long : 100.26873 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 Q Hemisphere : N E : 635182.19 N : 1860556.93 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | พระพุทธรูปประธานในวิหารหลวง |
ประวัติการสร้าง | ข้อความใน ลป. 2 จารึกวัดพระธาตุลำปางหลวง พ.ศ. 2046 กล่าวว่า “ศักราชได้ 858 ตัวในปีรวายสี... ถัดปีนี้กาไค้ เดือน 3 แรม 11 ค่ำวัน 6 ไทยเปลิกสง้า รืก 17 หล่อพระเจ้าล้านทองยามคันรุ่งแล คำพอกพระ 32 จ้างช่องหล่อพระกับตีคำ 362 เงิน ไถ่คนไว้กับ 6 ครัว” ปีรวายสีคือปีมะโรง ปีกาไค้คือปีกุน ดังนั้นปีที่หล่อพระเจ้าล้านทองคือปี พ.ศ. 2046 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แสดงปางมารวิชัย พระพักตร์รูปไข่ กรอบพระพักตร์เล็ก ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระนลาฏแคบ พระโอษฐ์เล็กมีร่องด้านข้าง พระวรกายบอบบาง สังฆาฏิแผ่นใหญ่ปลายแตกเป็นเขี้ยวตะขาบประทับนั่งบนฐานบัหงายมีกลีบขนาดใหญ่และเกสรบัว ประดิษฐานภายในกู่ปราสาท |
สกุลช่าง | ลำปาง |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะล้านนาสกุลช่างลำปางที่มีลักษณะเป็นท้องถิ่นอย่างมาก |
ข้อสังเกตอื่นๆ | แม้ลักษณะโดยรวมของพระพุทธรูปองค์นี้จะคล้ายกับพระพุทธรูปศิลปะล้านนากลุ่มที่ได้รับอิทธิพลสุโขทัย แต่ก็มีลักษณะที่เป็นพื้นบ้านอย่างมาก เช่น พระนลาฏแคบ พระโอษฐ์เล็กมีร่องด้านข้าง |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านนา |
อายุ | กลางพุทธศตวรรษที่ 21 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. พระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่างพระพุทธรูปที่สร้างในรัชกาลพระเมืองแก้วเช่นเดียวกับพระเจ้าล้านทองและมีพุทธศิลป์คล้ายคลึงกันแต่พระเจ้าล้านทองมีความเป็นท้องถิ่นมากกว่า 2. พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดหมื่นกาศ จังหวัดลำปาง ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะล้านนาแบบสิงห์สองซึ่งพบมากในจงหวัดลำปาง แต่มีลักษณะใกล้เคียงกับศิลปะสุโขทัยมากกว่า ต่างจากพระเจ้าล้านทองที่มีลักษณะเป็นท้องถิ่นมากกว่า |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2016-05-15 |
ผู้จัดทำข้อมูล | รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. ตำนานพระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง และตำนานพระแก้วมรกต. ลำปาง: โรงพิมพ์ศิลป์ประดิษฐ์, 2513. จารึกล้านนา ภาค 2 เล่ม 1 : จารึกจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูนและแม่ฮ่องสอน กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2551. |