ค้นหางานศิลปกรรม
ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พระเสริม
คำสำคัญ : พระพุทธรูป, วัดปทุมวนาราม, พระพุทธรูปปางมารวิชัย, ศิลปะล้านช้าง, ศิลปะลาว, พระเจ้าองค์ตื้อ, พระใส, พระเสริม
ชื่อหลัก | วัดปทุมวนาราม |
---|---|
ประเภทงานศิลปะ | ประติมากรรม |
ตำบล | ปทุมวัน |
อำเภอ | เขตปทุมวัน |
จังหวัด | กรุงเทพมหานคร |
ภาค | ภาคกลาง |
ประเทศ | ไทย |
พิกัดภูมิศาสตร์ ค่าองศาทศนิยม | Lat : 13.745928 Long : 100.536587 |
พิกัดภูมิศาสตร์ พิกัดกริด | Zone : 47 P Hemisphere : N E : 666135.7 N : 1520156.94 |
ตำแหน่งงานศิลปะ | พระพุทธรูปประธานในพระวิหาร |
ประวัติการสร้าง | ไม่ปรากฏประวัติการสร้างแต่จากรูปแบบน่าจะสร้างขึ้นกลาง – ปลายพุทธศตวรรษที่ 21 |
---|---|
กระบวนการสร้าง/ผลิต | หล่อสำริด |
ประวัติการอนุรักษ์ | ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2492 |
ขนาด | หน้าตักกว้าง 2 คืบ 8 นิ้ว สูง 4 คืบ 1 นิ้ว |
ลักษณะทางศิลปกรรม | พระพุทธรูปองค์นี้ประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ขมวดพระเกศาเล็ก รัศมีเป็นเปลวไฟ พระพักตร์รูปไข่และเล็ก พระนลาฏแคบ พระขนงโก่ง พระนาสิกเล็กและโด่ง พระวรกายบอบบาง สังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ยาวถึงพระนาภีปลายคล้ายเขี้ยวตะขาบ นิ้วพระหัตถ์เล็กเรียวยาวเสมอกัน |
ข้อมูลที่สำคัญทางวิชาการ | ตัวอย่างพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างในกรุงเทพมหานครที่มีตำนานสัมพันธ์กับพระใส |
ข้อสังเกตอื่นๆ | พระเสริมมีพุทธลักษณะคล้ายกับพระเจ้าองค์ตื้อ วัดศรีชมภูองค์ตื้อ ซึ่งเป็นตัวอย่างของพระพุทธรูปในศิลปะล้านช้างที่ยังมีอิทธิพลของศิลปะล้านนาหลายประการ ต่างจากพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างรุ่นหลังที่เน้นเส้นต่างๆ บนพระพักตร์เป็นร่องลึก พระโอษฐ์เล็กและขอบพระโอษฐ์หนา พระวรกายเพรียวบาง นิ้วพระหัตถ์ใหญ่และยาวเท่ากัน |
ยุค | ประวัติศาสตร์ |
สมัย/รูปแบบศิลปะ | ล้านช้าง |
อายุ | กลาง – ปลายพุทธศตวรรษที่ 21 |
ศาสนา | พุทธ |
ลัทธิ/นิกาย | เถรวาท |
ศาสนา/ความเชื่อที่เกี่ยวข้อง | พุทธศาสนาเถรวาท |
ตำนานที่เกี่ยวข้อง | ตำนานกล่าวว่าพระใสถูกสร้างขึ้นโดยพระธิดาสามพี่น้องของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในปี พ.ศ. 2109 พร้อมกับพระสุกและพระใส โดยตั้งชื่อตามพระนามของพระธิดาทั้ง 3 โดยในระหว่างการหล่อได้มีตาผ้าขาวมาช่วยสูบเตาหลอมทองและมีห่วงกลมขนาดเท่านิ้วมือที่ฐานของพระใสจำนวน 3 ห่วง เมื่อหล่อเสร็จ พระพุทธรูปทั้ง 3 ก็ประดิษฐานอยู่ที่วัดโพนชัยในอาณาจักรล้านช้างเรื่อยมา เมื่อใดที่เกิดศึกสงคราจะมีการนำพระพุทธรูปทั้ง 3 ไปซ่อนไว้ยังถ้ำบนภูเขาควาย เมื่อสงครามสงบจึงอัญเชิญกลับมาที่เดิม หลังจากนั้นเจ้าสุริยุมารได้ทรงอธิษฐานกับพระใสว่าหากบ้านเมืองจะสงบสุขขอให้พระใสแสดงปาฏิหาริย์ เมื่อทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ก็ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นจริงๆ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้มีการอัญเชิญพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ข้ามแม่น้ำโขง แต่พระสุกจมน้ำไปเหลือเพียง 2 องค์ และได้นำไปประดิษฐานยังวัดโพธิ์ชัย ก่อนที่จะอัญเชิญลงมายังกรุงเทพมหานครในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยในคราวแรกประดิษฐานอยู่ภายในพระบวรราชวังก่อนจะอัญเชิญมาไว้ยังวัดปทุมวนาราม ซึ่งจากพุทธศิลป์ พระเสริมเป็นพระพุทธรูปที่อาจจะสร้างขึ้นในรัชกาลของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชก็ได้ต่างจากพระใส วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคายที่มีอายุสมัยหลังลงมา |
งานศิลปะที่เกี่ยวข้อง | 1. พระใส วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย พระพุทธรูปที่ตามตำนานระบุว่าสร้างขึ้นพร้อมกัน แต่จากพุทธศิลป์แล้วน่าจะมีอายุสมัยหลังลงมา คือ ปลายพุทธศตวรรษที่ 22 – ต้นพุทธศตวรรษที่ 23 2. พระเจ้าองค์ตื้อ วัดศรีชมภูองค์ตื้อ จังหวัดหนองคาย พระพุทธรูปสำคัญที่สร้างในรัชกาลของพระเจ้าไชยเชษฐิราชและมีพุทธศิลป์ใกล้เคียงกับพระเสริม |
รูปแบบลิขสิทธิ์ | Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND) |
---|---|
เจ้าของสิทธิ์ | ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) |
วันที่จัดทำข้อมูล | 2008-08-18 |
ผู้จัดทำข้อมูล | ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล |
บรรณานุกรม | ศักดิ์ชัย สายสิงห์. เจดีย์ พระพุทธรูป ฮูปแต้ม สิม ศิลปะลาวและอีสาน. กรุงเทพฯ: มิวเซียมเพรส, 2555. ประภัสรร์ ชูวิเชียร. ศิลปะลาว. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. พระพุทธรูปในประเทศไทย : รูปแบบ พัฒนาการ และความเชื่อของคนไทย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556. เจริญ ตันมหาพราน. พระพุทธรูปล้านช้าง. กรุงเทพฯ: ปราชญ์, 2554. |